

บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่า | การแสดงเจตนาลวง บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่า | การแสดงเจตนาลวง คู่สมรสได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลังทะเบียนหย่าว่าได้ตกลงกันเรื่องทรัพย์สินที่มีมาก่อนจดทะเบียนหย่าเรียบร้อยแล้วจึงฝ่าฝืนความจริง เนื่องจากหลังจดทะเบียนหย่าทั้งสองยังอยู่ร่วมกัน กรณีถือได้ว่าทั้งสองตกลงทำหนังสือข้อตกลงหย่าและจดทะเบียนหย่ากันเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกัน หรือเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอม จึงไม่ผูกพันบุคคลภายนอก การจดทะเบียนหย่าอันเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันหรือกระทำขึ้นโดยการสมยอมระหว่าสามีและภริยาเพื่ออำพรางสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้มีบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าในเรื่องทรัพย์สินก็ไม่ผูกพันเจ้าหนี้ที่จะนำยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้ หนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันผู้ร้องไม่มีอำนาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2524 โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่ร่วมหลับนอนทำมาหากินร่วมกันฉันสามีภรรยา ทะเบียนหย่าและข้อตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สิน ผู้ร้องและจำเลยได้สมคบกันทำขึ้นโดยสมยอมเพื่อฉ้อโกงโจทก์และเจ้าหนี้อื่น ขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนการยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเรือที่โจทก์นำยึด โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ฎีกา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้ เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่ คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกัน ไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา แต่ในระหว่างสามีภริยา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2552 การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีแต่ยังคงอยู่กินและอุปการะเลี้ยงดูกันเสมือนมิได้หย่ากันเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน การหย่าดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าการหย่าเป็นโมฆะและขอแบ่งทรัพย์ที่ทำมาหาได้ จึงเป็นการขอเข้าจัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอได้ตราบเท่าที่โจทก์และจำเลยยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ และกรณีนี้มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
|