ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




สัญญาระหว่างสมรส | ข้อตกลงห้ามบอกล้าง

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

บอกล้างสัญญาเรื่องทรัพย์สินในระหว่างสมรส

สัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน แม้ในสัญญาจะมีข้อตกลงที่จะไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลาก็ตาม แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนฎหมาย ซึ่งมุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไป จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายทำสัญญายอมให้ทรัพย์สินส่วนตัวของสามีตกเป็นของภริยาได้หรือไม่ และก่อนที่การสมรสจะสิ้นสุดสามีบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้หรือไม่? มีข้อตกลงกันว่าถ้าสามีประพฤติผิดศีลธรรมอันดีเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยา โดยนำสัญญาระหว่างสมรสไปฟ้องศาลและบังคับคดีต่อไปได้ และคู่สัญญาจะไม่บอกล้างหรือยกเลิกภายใน 20 ปี  ในเรื่องนี้กฎหมายกำหนดไว้ว่า  สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดก็ได้แต่ต้องก่อนหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต ดังนั้นข้อตกลงว่าไม่ให้คู่สัญญาบอกล้างภายใน 20 ปีนับแต่วันทำสัญญานั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ในคดีนี้ได้ความว่าสามีบอกล้างสัญญาดังกล่าวระหว่างที่การสมรสยังไม่สิ้นสุดข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันสามี ในเรื่องการแบ่งสินสมรสนั้นโจทก์ต้องสืบพยานตามคำฟ้องของตนการนำสืบนอกเหนือคำฟ้องจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น  ในเรื่องค่าทดแทนที่ภริยาจะเรียกจากสามีและหญิงอื่นหรือเมียน้อยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ในคดีนี้ภริยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากทั้งสองคนเป็นเงิน 5,000,000 บาท ศาลเห็นว่าเมียน้อยทราบดีว่าฝ่ายชายมีภริยาอยู่แล้วยังไม่เลิกจึงกำหนดให้สามีจ่ายค่าทดแทนเป็นเงิน 300,000 บาท ให้เมียน้อยจ่ายค่าทดแทนเป็นเงิน 200,000 บาท สำหรับการเรียกค่าเลี้ยงชีพนั้นต้องปรากฏว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดทำให้ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพยากจนลงศาลจะกำหนดให้โดยพิจารณาถึงฐานะผู้ให้และผู้รับ คดีนี้ภริยาลาออกจากงานมาช่วยสามีจึงถือว่าภริยามีสิทธิเรียกได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เรียกได้นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาไม่ใช่เรียกได้นับแต่วันฟ้อง และการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมายบอกว่าสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8739/2551

แม้สัญญาระหว่างสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันจะมีข้อตกลงห้ามไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลา 20 ปี ก็ตามแต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรมและเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกัน ข้อตกลงจะไม่บอกล้างหรือบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรส จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้

          ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ การกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ต้องพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเพราะหลังสมรสโจทก์ลาออกจากงานมาช่วยดูแลคลินิกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าวประกอบกับรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลอดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกัน

          การกำหนดค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินทั้งห้าแปลงให้แก่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 35,000 บาท นับแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะสมรสใหม่ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ จำนวน 5,000,000 บาท และให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรส คือ รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ค - 6952 กรุงเทพมหานคร บ้านพร้อมที่ดินที่หมู่บ้านลลิลกรีนวิลล์ ตั้งอยู่ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และคลินิกกรุงเทพราม 2 แก่โจทก์

          จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาระหว่างสมรสกับโจทก์ ฉบับลงวันที่ 21 มีนาคม 2546 ตามฟ้องจริง แต่จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่โจทก์แล้ว สัญญาระหว่างสมรสจึงสิ้นผลผูกพันและโจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินตามสัญญาระหว่างสมรสได้ รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ค - 6952 กรุงเทพมหานคร และบ้านพร้อมที่ดินที่หมู่บ้านลลิลกรีนวิลล์นั้น ไม่ใช่สินสมรส แต่เป็นของบุคคลอื่น ส่วนคลินิกกรุงเทพราม 2 เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นระหว่างสมรสจริงโดยเช่าอาคารจากบุคคลอื่นเป็นสถานที่ประกอบกิจการ แต่โจทก์ตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 1 และตกลงให้กิจการคลินิกกรุงเทพราม 2 ทั้งหมดเป็นของจำเลยที่ 1 ก่อนฟ้องคดีแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก ค่าเลี้ยงชีพสูงเกินความจริงสมควรกำหนดให้เพียงไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี ค่าทดแทนจำนวน 3,000,000 บาท เป็นจำนวนสูงเกินไป หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ก็ไม่ควรเกิน 10,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 374,439 บาท เพื่อนำมาใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรสดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมกันชำระหนี้ด้วย

          จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีคู่สมรสแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ หากต้องชดใช้ค่าทดแทนแล้วก็ไม่ควรเกิน 20,000 บาท

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันฟ้องตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม 2546) เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์สมรสใหม่ ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนให้แก่โจทก์ จำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ จำนวน 200,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน จำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

    โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน คู่ความไม่อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า ระหว่างสมรสโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตกได้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาระหว่างสมรส แต่จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวแล้ว และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้แต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยาในขณะที่โจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 มีปัญหาเห็นสมควรวินิจฉัยเป็นข้อแรกกตามฎีกาของโจทก์ว่า หนังสือสัญญาระหว่างสมรสมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และเงื่อนไขในสัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ตามหนังสือสัญญาระหว่างสมรส มีใจความว่า ข้อ 1. ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวม 5 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินส่วนตัว โดยผู้ให้สัญญาจะไม่ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้ เช่าซื้อ จำนอง หรือโอนสิทธิในที่ดินหรือให้เช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี หรือนำที่ดินดังกล่าวไปเป็นประกันใด ๆ กับบุคคลภายนอกเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับสัญญา (โจทก์) ก่อน... ข้อ 3 ผู้ให้สัญญาจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดีระหว่างสามีภริยาอันเป็นเหตุให้สิ้นสุดแห่งการสมรสได้ กรณีที่ผู้ให้สัญญาผิดสัญญาข้างต้นยอมให้ทรัพย์สินตาม ข้อ 1. ตกเป็นสิทธิแก่ผู้รับสัญญาทันที ให้ผู้รับสัญญาดำเนินการทางศาลฟ้องบังคับโอนสิทธิได้ตามสัญญานี้ เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน แม้ในสัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงที่จะไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลา 20 ปีก็ตาม แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม และเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกันได้ ข้อตกลงจะไม่บอกล้างหรือยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรสของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้ หนังสือสัญญาระหว่างสมรส จึงไม่มีผลผูกพันอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปมีว่า สินสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ได้มีการแบ่งปันกันแล้วหรือไม่ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ก่อนฟ้องโจทก์ขอส่วนแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จ่ายแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 340,000 บาท ให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2546 เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีปัญหาครอบครัวจนต้องมีการทำหนังสือสัญญาระหว่างสมรสเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2546 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 จ่ายแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 340,000 บาท จึงน่าเชื่อว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ต่อกันตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบจริง ที่โจทก์อ้างว่าเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้เงินยืม จึงเลื่อนลอยไม่สมเหตุผล พยานจำเลยที่ 1 มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินส่วนตัวจำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ขอแบ่งสินสมรสเกี่ยวกับรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส แต่ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ตนได้ขายรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิอันเป็นสินส่วนตัวเป็นเงิน 200,000 บาท และได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อรถคันใหม่ แล้วมีการเปลี่ยนรถเรื่อยมาซึ่งปัจจุบันรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส จะมีราคาเท่าใดไม่ทราบ และจำเลยที่ 1 ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปแล้ว เห็นว่า การนำสืบถึงสินส่วนตัวของโจทก์เป็นการนำสืบนอกเหนือจากคำฟ้อง จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินสินส่วนตัวของโจทก์ จำนวน 200,000 บาท ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น

          มีปัญหาต่อไปว่า ค่าทดแทนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระให้แก่โจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 เป็นภริยาในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 สามี และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ โดยมาตรา 1525 บัญญัติว่า ค่าทดแทนดังกล่าวแล้วให้ศาลวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์ และให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย เห็นว่า ก่อนที่จำเลยทั้งสองจะมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันนั้น จำเลยที่ 1 มีโจทก์เป็นภริยา และจำเลยที่ 2 มี นายธีรวัฒน์เป็นคู่หมั้นซึ่งบุคคลทั้งสี่ได้พบกันเพื่อตกลงปัญหาที่เกิดขึ้นแสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพครอบครัวและความเสียหายต่อกาย ประกอบกับชื่อเสียงเกียรติยศของโจทก์แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 300,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท นับว่าเหมาะสมชอบธรรมดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาต่อไปตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องสูงเกินส่วนและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 บัญญัติว่าในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ...เห็นว่า กรณีภายหลังสมรสโจทก์ได้ลาออกจากงานและมาช่วยดูแลคลินิกกรุงเทพราม 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงาน จำนวนรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลอดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกันแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 20,000 บาท นับว่าสมควรไม่สูงเกินส่วนแต่อย่างใด แต่การกำหนดให้ค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องนับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องจึงไม่ถูกต้องเห็นสมควรแก้ไข ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน

          ปัญหาข้อสุดท้ายตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระเงินกู้ที่มีต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กับจำเลยที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินดังกล่าวโดยโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2544 และนำเงินมาใช้จ่ายเกี่ยวกับคลินิกกรุงเทพราม 2 แต่ปัจจุบันยังชำระหนี้คืนไม่ครบถ้วน เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2546 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโจทก์ไม่ต้องร่วมรับผิดชำระเงินกู้รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นดุจกัน”

          พิพากษาแก้เป็นว่า ยกคำขอให้คืนเงินสินส่วนตัว 200,000 บาทแก่โจทก์แต่ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

     มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 (วรรค 2) สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยา ความสมบูรณ์ของการสมรส
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีคนใหม่ยังไม่จดทะเบียนหย่า
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี
สิทธิเลือกคู่ครองเมื่อเห็นว่าภริยาไม่เหมาะสมกับตน
ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
สามีไม่ค่อยอยู่บ้านก็มิใช่เป็นการประพฤติเสื่อมเสีย
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเหตุจงใจละทิ้งร้าง
คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากัน
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า
จดทะเบียนสมรสซ้อน
ฟ้องหย่าเหตุอ้างร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การสมรสที่เป็นโมฆียะ
หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง | เหตุฟ้องหย่า
ให้อภัยสิทธิฟ้องหย่าหมดไป | จงใจละทิ้งร้าง
ร้องเรียนกล่าวโทษสามีต่อผู้บังคับบัญชา | เป็นปฏิปักษ์
การทิ้งร้างกับการสมัครใจแยกกันอยู่
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่า | การแสดงเจตนาลวง