
การประชุมคณะกรรมการมรรยาททนายความ ข้อบังคับสภาทนายความ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 72 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนาย ความตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 คณะกรรมการสภาทนายความ ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมคณะกรรมการมรรยาทนายความไว้ดังต่อไปนี้ คือ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้ เรียกว่า `ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการประชุมคณะกรรมการ มรรยาททนายความ พ.ศ.2535' ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด 1 ข้อ 3 ให้ประธานกรรมการมรรยาททนายความส่งหนังสือนัดประชุมโดยแนบระเบียบวาระ การประชุม ทางไปรษณีย์หรือโดยวิธีอื่นไปยังกรรมการมรรยาททนายความทุกคน ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานก่อนวันนัดประชุม ไม่น้อยกว่า 7 วัน หากเป็นการประชุมเพื่อวินิจฉัยคดีมรรยาททนายความ ต้องแนบรายละเอียดเกี่ยวกับคดีไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม หมวด 2 ข้อ 4 ในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความทุกคดีต้องมีกรรมการมรรยาททนายความมา ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการมรรยาททนายความ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมวด 3 ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการมรรยาททนายความเป็นประธานที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการ มรรยาททนายความไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้รองประธานกรรมการมรรยาททนายความทำหน้าที่ประธานที่ประชุมแทน ถ้าหากรองประธานกรรมการมรรยาททนายความไม่สามารถทำหน้าที่ได้หรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการมรรยาททนายความผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจาก ประธานกรรมการมรรยาททนายความปฏิบัติหน้าที่แทน ข้อ 6 ให้ประธานกรรมการมรรยาททนายความ หรือประธานที่ประชุม จัดให้มีการบันทึก รายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และให้นำเสนอที่ประชุมเพื่อรับรองรายงานการประชุมในการประชุมครั้งถัดไป ข้อ 7 ให้ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุม และต้องดำเนินการ ประชุมตามลำดับในระเบียบวาระการประชุมที่กำหนดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมจะเห็นเป็นอย่างอื่น ข้อ 8 กรรมการมรรยาททนายความผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม ให้ยกมือขึ้นพ้น ศรีษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้วจึงกล่าวได้ และต้องเป็นคำกล่าวกับประธานที่ประชุมเท่านั้น ข้อ 9 ถ้ากรรมการมรรยาททนายความผู้ใดขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใด ๆ ให้ประธานที่ประชุม พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ข้อ 10 ประธานที่ประชุมมีอำนาจสั่งให้พักการประชุมหรือเลื่อนการประชุม หรือเลิกประชุม ได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ 11 การกล่าวถ้อยคำต้องอยู่ในประเด็น ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ซ้ำซาก และใช้วาจาสุภาพ ไม่ใส่ร้ายเสียดสีบุคคลอื่นหรือออกชื่อบุคคลโดยไม่จำเป็น ข้อ 12 ประธานที่ประชุมมีอำนาจกำหนดการกล่าวถ้อยคำหรือลงมติในเรื่องที่กำลังประชุมได้ แต่เพียงผู้เดียว หมวด 4 ข้อ 13 ในการประชุมเรื่องใด ๆ ถ้าจะต้องมีการลงมติ ประธานที่ประชุมมีอำนาจสั่งให้ลงมติ ได้สองวิธีคือ วิธีลงคะแนนลับ กับวิธีการลงคะแนนเปิดเผย ข้อ 14 ในกรณีที่มีการลงมติโดยวิธีลงคะแนนลับก็ดี โดยวิธีเปิดเผยก็ดี ถ้าหากคะแนนเสียง เท่ากันให้ประธานที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเป็นคะแนนชี้ขาดได้อีกเสียงหนึ่ง ข้อ 15 ระเบียบวาระเรื่องใดซึ่งได้ลงมติไปแล้ว จะเสนอซ้ำอีกไม่ได้เว้นแต่ที่เกี่ยวกับปัญหา ข้อกฎหมาย หมวด 5 ข้อ 16 ประธานกรรมการมรรยาททนายความ สั่งพนักงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการมรรยาททนายความ หรือพนักงานของสภาทนายความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อที่ประชุม ตามความจำเป็นก็ได้
|