ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ

                                                                 ข้อบังคับสภาทนายความ
                                                 ว่าด้วยการประชุมใหญ่ของสภาทนายความพ.ศ. 2530

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (3) มาตรา 50 และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ  ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528  คณะกรรมการสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมใหญ่ของสภาทนายความไว้  ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1  ข้อบังคับนี้เรียกว่า `ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการประชุมใหญ่ของสภาทนายความพ.ศ. 2530'

     ข้อ 2  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

     ข้อ 3  ในข้อบังคับนี้

           `การประชุมใหญ่'  หมายความว่า  การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ  ซึ่งได้แก่การประชุมใหญ่สามัญประจำปี  และการประชุมใหญ่วิสามัญ

           `คณะกรรมการ'  หมายความว่า  คณะกรรมการสภาทนายความ

           `สมาชิก'  หมายความว่า  สมาชิกสภาทนายความ

           `สำนักงาน'  หมายความว่า  สำนักงานตามที่สมาชิกระบุให้นายทะเบียนสภาทนายความจดแจ้งไว้ในทะเบียนทนายความ  ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

                                  หมวด 1
                                วิธีการประชุม

     ข้อ 4  คณะกรรมการต้องมีหนังสือเรียกประชุมส่งทางไปรษณีย์ไปยังสมาชิกทุกคน ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 15 วัน

     หนังสือเรียกประชุมนั้น  ให้ระบุสถานที่  วัน  เวลา  และระเบียบวาระ  กับให้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปด้วย

     ข้อ 5  ให้สมาชิกที่มาประชุมแสดงบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความ  บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่มีรูปถ่ายของบุคคลผู้นั้นติดอยู่ด้วย       ต่อคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายและให้ลงชื่อก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง

           เมื่อมีสัญญาณให้เข้าประชุม  ให้สมาชิกเข้านั่งในที่ที่กำหนดไว้

           เมื่อมีสมาชิกเข้าประชุมครบองค์ประชุมแล้ว  ให้ประธานดำเนินการประชุมได้

     ข้อ 6  เมื่อพ้นกำหนดประชุมครึ่งชั่วโมง  สมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการเลื่อนการประชุมไป  และให้คณะกรรมการเรียกประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในกำหนด 60 วัน

     ข้อ 7  ให้ประธานในที่ประชุมเลือกเลขานุการหนึ่งคนเป็นผู้จดรายงานการประชุม

     ข้อ   8   ให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุม   และต้องดำเนินการตามลำดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้เว้นแต่ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น

     การพิจารณาญัตติที่มีสมาชิกเสนอในที่ประชุมใหญ่  ให้กระทำได้ภายหลังจากที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมเสร็จแล้ว

     ข้อ 9  สมาชิกผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม  ให้ยกมือขึ้นพ้นศรีษะ  เมื่อประธานอนุญาตแล้วจึงยืนขึ้นกล่าวได้  และต้องเป็นคำกล่าวกับประธานเท่านั้น

     ข้อ 10  ถ้าคณะกรรมการขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมให้ประธานพิจารณาอนุญาต

     ข้อ 11  ประธานมีอำนาจปรึกษาที่ประชุมในปัญหาใด ๆ สั่งพักการประชุม  เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุม  ได้ตามที่เห็นสมควร

     ข้อ 12  ให้คณะกรรมการจัดทำบันทึกรายการการประชุมและเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน

                                  หมวด 2
                                การเสนอญัตติ

     ข้อ 13  ญัตติที่มีสมาชิกเสนอให้มีการพิจารณาในเรื่องใด ๆ ในที่ประชุมใหญ่นั้น  จะต้องมีสมาชิกอื่นรับรองอย่างน้อย 10 คน

     ข้อ 14  เมื่อที่ประชุมกำลังปรึกษาหรือพิจารณาญัตติใดอยู่  ห้ามมิให้เสนอญัตติอื่นนอกจากญัตติต่อไปนี้
            (1)  ขอให้ลงมติ
            (2)  ขอให้ปิดการอภิปราย
            (3)  ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา

     ข้อ 15  ในกรณีที่ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณาให้ญัตติเดิมเป็นอันตกไป

     ข้อ 16  ญัตติในเรื่องใดเมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมแล้ว หรือตกไปแล้ว  สมาชิกจะเสนอญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันนั้นซ้ำอีกไม่ได้

                                  หมวด 3
                                 การอภิปราย

     ข้อ 17  การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่   ต้องไม่ฟุ่มเฟือย  วนเวียน  ซ้ำซากหรือซ้ำกับผู้อื่นและห้ามมิให้นำเอกสารใด ๆ มาอ่านให้ที่ประชุมฟังโดยไม่จำเป็น

            ห้ามผู้อภิปรายแสดงกริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ   ใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด   และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์  หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น

     ข้อ 18  ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว  ประธานจะให้ผู้นั้นหยุดอภิปรายก็ได้

     ข้อ 19  การอภิปรายเป็นอันยุติ  เมื่อ
            (1)  ไม่มีผู้ใดอภิปราย
            (2)  ที่ประชุมลงมติให้ปิดอภิปราย
            (3)  ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา

     ข้อ 20  ในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว  จะขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้

     ข้อ 21  เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว  ห้ามมิให้ผู้ใดอภิปรายอีกเว้นแต่ที่ประชุมจะต้องลงมติในเรื่องนั้น  จึงให้สมาชิกผู้เสนอญัตติมีสิทธิอภิปรายสรุปความที่ได้อภิปรายกันมาแล้วได้ก่อนที่ประชุมจะลงมติ

     ข้อ 22  ประธานอาจอนุญาตให้คณะกรรมการมอบหมายให้บุคคลใด ๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมประกอบการอภิปรายของคณะกรรมการก็ได้

                                  หมวด 4
                                  การลงมติ

     ข้อ 23  ในกรณีที่จะต้องมีมติ  ให้ประธานขอให้ที่ประชุมลงมติ

     ข้อ 24  การออกเสียงลงคะแนน  ประธานจะสั่งให้ออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีใดก็ได้

                      ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530
                               คำนวณ ชโลปถัมภ์
                              นายกสภาทนายความ




ข้อบังคับสภาทนายความ

การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พนักงานสภาทนายความ พ.ศ. 2530
การฝึกอบรมวิชาว่าความพ.ศ. 2529
การฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความ พ.ศ.2535
การฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความ
สำนักงานสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ
การแบ่งส่วนงานของสภาทนายความ
การประชุมคณะกรรมการมรรยาททนายความ
การฌาปนกิจสงเคราะห์สภาทนายความ
การเงินและทรัพย์สินของสภาทนายความ พ.ศ. 2547
การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินกองทุน
การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย