
การเงินและทรัพย์สินของสภาทนายความ พ.ศ. 2547 ข้อบังคับสภาทนายความ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารการเงินและทรัพย์สินของสภาทนายความ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 มาตรา 27 มาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ ตามมาตรา 28 คณะกรรมการสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วยการเงินและทรัพย์สินของสภาทนายความไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการเงินและทรัพย์สินของสภาทนายความ พ.ศ. 2547 ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 3 ให้ยกเลิก บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดของสภาทนายความในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน หมวด 1 ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสภาทนายความ อุปนายก หมายความว่า อุปนายกสภาทนายความ เลขาธิการ หมายความว่า เลขาธิการสภาทนายความ เหรัญญิก หมายความว่า เหรัญญิกสภาทนายความ ส่วนงาน หมายความว่า ส่วนงานของสภาทนายความตามข้อบังคับสภา ทนายความ ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานของสภาทนายความและอำนาจหน้าที่ของกรรมการสภาทนายความ เจ้าหน้าที่การเงิน หมายความว่า เหรัญญิก หัวหน้าสำนักงานการเงินและบัญชีหรือพนักงานการเงินและบัญชีที่นายกสภาทนายความมีคำสั่งแต่งตั้งตามข้อบังคับว่าด้วยการพนักงานสภาทนายความ พนักงาน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุแต่งตั้งในสภาทนายความ โดยได้รับเงินเดือน ตามอัตราในข้อบังคับว่าด้วยการพนักงานของสภาทนายความ ข้อ 5 ให้ส่วนงานของสภาทนายความจัดทำ งบประมาณ โดยแยกเป็นงบประมาณที่จะเบิก จากเงินอุดหนุนของรัฐบาล งบประมาณที่จะเบิกจากรายได้ของสภา ข้อ 6 งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งจากรายได้ของสภาทนายความ จะกำหนดให้มีเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นก็ได้ การเบิกจ่ายต้องได้รับอนุมัติจากนายกเป็นคราวไป ขอ้ 7 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ได้และเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนให้นายกพิจารณาอนุมัติ ให้ดำเนินการไปพลางก่อน แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติ ข้อ 8 ในกรณีที่ส่วนงานหรือกิจการส่วนใดของสภาทนายความ มีการบริหารงานการเงิน การจัดหารายได้ การใช้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันจากรายได้ของส่วนงานหรือของสภาทนายความ ที่มีลักษณะพิเศษซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ได้ ให้นายกโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการมีอำนาจวางระเบียบเพื่อการนั้นได้ ตามลักษณะและความเหมาะสมของแต่ละส่วนงาน ข้อ 9 ให้นายกรักษาการตามข้อบังคับนี้และให้มีอำนาจออกคำสั่งหรือประกาศของสภาทนายความ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ได้ หมวด 2
ข้อ 11 สภาทนายความมีรายจ่ายประเภทต่าง ๆ ดังนี้ ข้อ 12 กาจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันจางบประมาณรายจ่าย ให้กระทำได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดกับข้อบังคับสภาทนายความเกี่ยวกับเรื่องการเงินซึ่งได้ตราไว้แล้ว หมวด 4 ข้อ 13 เงินงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณใด ให้เบิกจ่ายภายในปีงบประมาณนั้นปีงบประมาณสำหรับเงินส่วนที่เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้ใช้ปีงบประมาณตาม ข้อ 14 การขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีจากงบประมาณที่เบิกจากเงินรายได้ของสภาทนายความให้นายกเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติแล้วรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อทราบทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสภาทนายความกำหนด ข้อ 15 ให้นายกมีอำนาจอนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายในระหว่างปีงบประมาณได้ แล้วให้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อทราบ หมวด 5 ข้อ 16 การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีของสภาทนายความหรือส่วนงานต่าง ๆ ในสภาทนายความให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้หรือข้อบังคับหรือระเบียบอื่นที่สภาทนายความกำหนด เป็นการเฉพาะกรณี ข้อ 17 ให้เจ้าหน้าที่การเงินเป็นเจ้าหน้าที่ในการรับเงิน ข้อ 18 การรับเงินรายได้ทุกประเภทจะหักไว้ใช้จ่ายเพื่อการใดก่อนนำส่งมิได้ เว้นแต่การรับเงินรายได้จากค่าธรรมเนียมอันเกิดจากการดำเนินงานของสภาทนายความ ซึ่งได้ การรับเงินอุดหนุนของรัฐบาล ให้นำข้อบังคับหรือระเบียบของกระทรวงการคลัง กับส่วนราชการ ที่สนับสนุนงบอุดหนุนของรัฐบาลให้แก่สภาทนายความ มาถือปฏิบัติโดยอนุโลม การรับเงินอื่นใดนอเหนือจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล ให้เจ้าหน้าที่กาเงินมีหน้าที่ในการรับเงิน ออกใบเสร็จรับเงินมอบให้ผู้ชำระเงินทุกครั้ง ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบในระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่อย่างน้อยต้องมีหมายเลขกำกับเล่มและหมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงิน เรียงกันไปทุกฉบับและใบเสร็จรับเงินแต่ละฉบับอย่างน้อยต้องมีต้นฉบับและสำเนา โดยมอบต้นฉบับให้ผู้ชำระเงินและเก็บสำเนาไว้ในเล่ม 1 ใบ ข้อ 19 ในการออกใบเสร็จรับเงินให้หัวหน้าสำนักงานการเงินและบัญชี หรือผู้ทำ การแทน และเจ้าหน้าที่การเงินอื่น หรือพนักงานซึ่งเหรัญญิกมอบหมาย ลงนามในใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง ข้อ 20 ให้เก็บเงินไว้ในที่ทำการได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนเงินรายรับให้นำฝากธนาคารทั้งหมด ถ้าฝากไม่ทันในวันนั้น ให้นำฝากในวันทำการถัดไป และให้รายงานความล่าช้าต่อเหรัญญิกทันที ข้อ 21 การเก็บเงิน สมุดเช็ค สมุดบัญชี และหลักฐานการเงินอื่นใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาทนายความกำหนด ข้อ 22 ให้มีคณะกรรมการรักษาเงินคณะหนึ่งประกอบด้วย หัวหน้าสำนักงานการเงินและบัญชีเป็นกรรมการ และพนักงานซึ่งนายกแต่งตั้งอีกสองคนเป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการรักษาเงินมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ในการเก็บรักษาเงินที่เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานสภาทนายความ และให้คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้ถือกุญแจสำหรับเปิด ปิดตู้นิรภัย หรือที่เก็บเงิน ข้อ 23 หน้าที่ของคณะกรรมการตามข้อ 22 ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสภาทนายความ ข้อ 24 ให้สำนักงานการเงินและบัญชี จัดทำและเสนอรายงานรายรับ รายจ่ายและฐานะทางการเงินของสภาทนายความและส่วนงานเป็นประจำทุกเดือนต่อเลขาธิการภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการทราบ ข้อ 25 เมื่อถึงวันสิ้นปีงบประมาณ ให้สำนักงานการเงินและบัญชีจัดทำรายงานงบดุลประจำปี ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน โดยผู้ตรวจสอบบัญชีจักต้องรับรองงบดุลเพื่อนำเสนอที่ประชุมใหญ่แต่ละปี เมื่อมีเหตุอันสมควร นายกจะให้มีการตรวจสอบบัญชีการเงินและตัวเงินที่เก็บรักษาไว้ ณ ที่ทำการสภาทนายความในขณะหนึ่งขณะใดก็ให้กระทำได้ หมวด 6 ข้อ 26 การจ่ายเงินให้จ่ายได้เฉพาะเพื่อกิจการ และภายในขอบเขตของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ข้อ 27 ผู้มีอำนาจอนุมัติในการก่อหนี้ผูกพัน ซึ่งหมายความถึง การอนุมัติดำเนินการ การอนุมัติก่อหนี้ และการลงนามในสัญญาให้เป็นไปตามเกณฑ์ ดังนี้ ข้อ 28 อุปนายกฝ่ายบริหาร เลขาธิการ หรือเหรัญญิกอาจมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ให้พนักงานสั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสภาทนายความ ทั้งนี้ ในการมอบหมายให้คำนึงถึงระดับตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ ข้อ 29 การออกเช็คสั่งจ่ายในกิจการของสภาทนายความนั้น ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติตาม ข้อ 27 (1) ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองคน ข้อ 30 หลักฐานการจ่ายเงิน ใบสำ คัญจ่าย ตลอดจนวิธีการจ่ายเงิน นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับหรือระเบียบอื่นที่สภาทนายความเป็นผู้กำหนด หมวด 7 ข้อ 31 ในหมวดนี้ ข้อ 32 รายรับซึ่งเป็นรายได้ของกองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายมีที่มาจาก ข้อ 33 การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีของเงินกองทุนให้นำข้อบังคับว่าด้วยการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีในหมวด 5 แห่งข้อบังคับนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ 34 การก่อหนี้ผูกพันและการจ่ายเงินกองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด 6 แห่งข้อบังคับนี้มาใช้โดยอนุโลม ข้อ 35 ให้สำนักงานการเงินและบัญชี สภาทนายความ จัดทำและเสนอรายรับและรายจ่าย และฐานะทางการเงินของกองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในส่วนของเงิน ข้อ 36 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิกตามความในหมวดนี้ ให้ถือปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของนายก อุปนายก เลขาธิการ หรือเหรัญญิก ตามความในข้อ 4 และข้อบังคับในหมวดอื่นทุกหมวดโดยอนุโลม หมวด 8 ข้อ 37 ให้ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของสภาทนายความเกี่ยวกับการเงินและการเบิกจ่ายเงิน ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะได้มีการออกระเบียบ คำสั่ง หรือประกาศของสภาทนายความตามข้อบังคับนี้ขึ้นใช้บังคับ ทั้งนี้เฉพาะที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547
|