
(ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย ติดต่อทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th )
มอบสัญญาเงินกู้เป็นของหมั้น สัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้น
สัญญากู้ยืมที่ฝ่ายชายทำให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเป็นเงิน 5,000 บาท แทนของหมั้นเพราะฝ่ายชายไม่มีเงินโดยมีเจตนาให้เงินตามสัญญากู้เป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กัน เจตนาไม่ได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของ ของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว หากฟังว่าให้เป็นเบี้ยปรับ เมื่อผิดสัญญาหมั้น จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย หญิงจะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้ไม่มีมูลหนี้เดิมที่มีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2506
จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้และโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอ โจทก์จะลดเงินกู้ให้บ้างตามราคาของเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ปลูกเรือนหอและบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้ สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของหมั้นและไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้วในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้หาได้ไม่ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องว่า นายสวัสดิ์บุตรจำเลยได้ละเมิดทำอนาจารนางสาวเจียมน้องสาวของโจทก์ ต่อมาโจทก์จำเลยและนางสาวเจียมตกลงกันว่าจะไม่ว่ากล่าวเป็นคดีต่อกัน โดยจำเลยขอหมั้นนางสาวเจียมเป็นเงิน 5,000 บาท เพื่อให้แต่งงานกับนายสวัสดิ์บุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ และโจทก์จำเลยตกลงกันอีกว่า หากจำเลยทำเรือนหอ โจทก์จะลดเงินตามสัญญากู้ให้บ้างตามราคาเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ทำเรือนหอและบุตรชายจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ใช้เงินตามสัญญา
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงให้นายสวัสดิ์สมรสกับนางสาวเจียมน้องสาวจำเลยจริง โดยโจทก์เรียกสินสอดให้จำเลยปลูกเรือนหอให้โจทก์ก่อนทำการสมรส โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน จำเลยไม่เคยขอหมั้นนางสาวเจียม สัญญากู้ตามฟ้องไม่ใช่ของหมั้นและเกิดขึ้นโดยการฉ้อฉลของโจทก์ จำเลยจะปลูกเรือนหอ โจทก์ไม่ยอมให้ปลูกและไม่ยอมให้นางสาวเจียมสมรสกับนายสวัสดิ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้รายนี้ ขอให้ยกฟ้อง
วันชี้สองสถาน ศาลจังหวัดพัทลุงเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยาน และพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคแรกบัญญัติว่า ของหมั้นคือทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าชายจะสมรสกับหญิงนั้น แต่สัญญากู้ท้ายฟ้องคดีนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังมิได้มีการมอบหมายทรัพย์สินให้กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว แม้หากจะฟังว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้เป็นเบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ก็ได้บัญญัติว่า ถ้าได้มีคำมั่นไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นคำมั่นนั้นก็เป็นโมฆะ ในกรณีเช่นนี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามสัญญา ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่นายสวัสดิ์บุตรจำเลยได้ละเมิดทำอนาจารนางสาวเจียมน้องสาวโจทก์ และรูปคดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญากู้รายนี้เป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่ ดังที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัย เพราะหากสัญญากู้ดังกล่าวจะเป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลย สัญญากู้ดังกล่าวก็เป็นเพียงประกันว่าจะมีการให้เงินสินสอดซึ่งเข้าลักษณะจะให้กันโดยเสน่หาเท่านั้น เมื่อยังไม่มีการส่งทรัพย์ให้แก่กัน ก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องเรียกทรัพย์ต่อกันมิได้เช่นกันที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว
จึงพร้อมกันพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฎีกา และค่าทนายความสองศาล 200 บาทแก่จำเลยด้วย
( ยง เหลืองรังษี - ประมูล สุวรรณศร - อรรถขจรนิติปคุณ )
ยกนาให้โจทก์เป็นของหมั้น สัญญาให้ที่มีการตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493
นางอำนวย พรมพันธ์ โจทก์
นายมี ไกรพุก ที่ 1 นางภารี ไกรพุก ที่ 2 จำเลย
นายจำปี ไกรพุก ที่ 3 จำเลย
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่ โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่มีโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้มอบหมายแบ่งแยกออกเป็นส่วนสัดให้เป็นของหมั้นแก่หญิง ต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้ก็เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สร้อยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1, 2 ได้สู่ขอโจทก์เพื่อเป็นคู่สมรสกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยยกนาให้กับโจทก์เป็นของหมั้น เป็นเนื้อที่นา 10 ไร่ ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 3 ได้แต่งงานกันตามประเพณี แล้วโจทก์ไปทำมาหากินที่บ้านจำเลย ได้ปกครองทำกินในที่นา 10 ไร่ ของหมั้นนี้ตลอดมา บัดนี้จำเลยทั้งสามขับไล่โจทก์ โจทก์จึงขอให้จำเลยแบ่งแยกที่นา 10 ไร่ ซึ่งเป็นของหมั้นของโจทก์ให้โจทก์
ศาลชั้นต้นฟังว่า สัญญาตามฟ้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่เป็นสัญญาจะให้ตามมาตรา 525 หรือ 526 โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาได้ จึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2 แบ่งแยกนาให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยที่ 1, 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้จะถือว่าสัญญาตามฟ้องเป็นสัญญาที่มีการตอบแทนกัน กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 หรือ 526 ก็ดี แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน คือต้องมีการสมรส ซึ่งหมายความว่า การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 3 มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่ายังมิได้สมรสกันตามกฎหมายโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอานาตามฟ้องได้ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ว่ายกให้ 10 ไร่ ก็ยังหาได้มอบหมายแบ่งแยกให้เป็นส่วนสัดอย่างใดไม่ การครอบครองก็ได้ความเพียงว่า เมื่อโจทก์ไปอยู่บ้านจำเลย โจทก์และจำเลยทั้งสามได้ทำนารายนี้รวมกันไปทั้งสามแปลง จึงยังถือไม่ได้ว่า นา 10 ไร่รายนี้เป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 เพราะยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนั้นโจทก์จะฟ้องเรียกนา10 ไร่รายนี้ในฐานเป็นของหมั้นย่อมไม่ได้ และอีกประการหนึ่งหากแปลสัญญานี้ว่า เป็นสัญญายกให้ที่มีการตอบแทนดังศาลชั้นต้นกล่าวมา จุดประสงค์ของการให้ ก็เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้ส้อยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 3 นอกจากว่าไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว บัดนี้ยังแตกแยกไม่ได้อยู่ด้วยกันอีกนับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องเอาที่นาตามฟ้องได้ดุจกัน
จึงพิพากษายืน
( ดุลยทัณฑ์ชนาณัติ - เลขวณิชธรรมวิทักษ์ - ประวัติ ปัตตพงศ์ )
หนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 18 มกราคม 2539 จึงต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมดตลอดมา สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ เกิดขึ้นนับแต่วันผิดนัดข้างต้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างชำระมีกำหนดอายุความห้าปี เจ้าหนี้ฟ้องคดีนี้เกินห้าปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/33 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)
ผู้เช่าไม่อาจเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า
ในขณะทำสัญญาเช่ามีบุคคลภายนอกรบกวนขัดสิทธิอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าอยู่ก่อนผู้เช่า ทำให้ผู้เช่าไม่อาจเข้าไปใช้ประโชชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อผู้เช่ายังไม่ได้เข้าไปครอบครองหรือรับมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าจึงยังไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ แต่บุคคลภายนอกนั้นโต้แย้งสิทธิของผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้เช่าจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลภายนอกนั้น ทางแก้ของผู้เช่าในเรื่องนี้ก็โดยผู้เช่าต้องขอให้ศาลหมายเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีฟ้องขับไล่
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538796611&Ntype=23
สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและหนี้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจะมีผลต่อมูลหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ออกเช็คอย่างไรบ้าง? เรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ลูกหนี้ออกเช็คโดยไม่ได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้เงินกู้ตามเช็คตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
http://www.peesirilaw.com/พระราชบัญญัติล้มละลาย/คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์-ห้ามมิให้ลูกหนี้.html
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2554)
http://www.peesirilaw.com/นิติกรรม/แสดงเจตนาลวง-นิติกรรมอำพราง.html
http://www.peesirilaw.com/เกี่ยวกับกฎหมาย/สำนักงานทนายความ-รับปรึกษากฎหมาย-0859604258.html
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 * www.peesirilaw.com *