ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




สินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย

พฤติการณ์ที่บิดาพาบุตรไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และยินยอมให้บุตรใช้นามสกุลของตนและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว

ผู้ตายกับ ภริยา(ชอบด้วยกฎหมายเดิม) สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับภริยาดังกล่าว จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งตกเป็นของภริยา

การที่บุตรนอกกฎหมายฟ้องขอแบ่งมรดกจากภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ภริยาผู้ตายตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้บุตรนอกกฎหมายได้.

                 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  740/2534

          พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
 


          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนาวาเอกหลวงพินิจ ผู้ตายที่ได้รับการรับรองจากผู้ตายแล้ว ผู้ตายมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก 6 คน ที่ดินมีโฉนดหลายแปลงและสิ่งปลูกสร้าง เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับนางเฉลิม คิดเป็นเงิน 3,638,000 บาท ที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนของนางเฉลิม เสียหนึ่งในสาม คิดเป็นเงิน 1,212,666 บาทส่วนที่เหลือคิดเป็นเงิน 2,425,334 บาท จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับหนึ่งในหกส่วนคิดเป็นเงิน 404,223.33 บาทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นมรดกรายนี้ได้ให้บุคคลอื่นเช่าสามารถเก็บค่าเช่าได้เดือนละ 20,000 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยแบ่งโอนโฉนดที่ดินในกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจ ให้แก่โจทก์ หนึ่งในหกส่วน หากจำเลยไม่แบ่ง ให้โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากแบ่งไม่ได้ก็ให้จำเลยใช้เงินจำนวน 404,223.33 บาท กับแบ่งรายได้จากค่าเช่าทรัพย์มรดกของนาวาเอกหลวงพินิจให้แก่โจทก์ หนึ่งในหกส่วนของค่าเช่าทุก ๆเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

          จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่บุตร ของผู้ตาย ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสของนางเฉลิม และผู้ตาย ทรัพย์ที่ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการโอนนั้นตกเป็นกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจและนางเฉลิม คนละกึ่งหนึ่ง สินสมรสของนายเฉลิม จึงมิใช่มีเพียงหนึ่งในสามส่วนตามฟ้อง ขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีทายาททั้งหมด 6 คน หากโจทก์มีสิทธิได้รับก็เพียงหนึ่งในเจ็ดส่วนคิดเป็นเงินเพียง 259,857 บาทเศษ ส่วนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ให้ผู้อื่นเช่าคงมีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้ไม่ถึงเดือนละ20,000 บาทตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจ แบ่งมรดกในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกในที่ดินตามฟ้องเฉพาะส่วนที่ตกเป็นกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจให้แก่โจทก์หนึ่งในเจ็ดส่วน หากแบ่งไม่ได้ก็ให้ใช้เงินจำนวน 346,476 บาทพร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้แบ่งเงินค่าเช่าทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะแบ่งมรดกเสร็จให้แก่โจทก์

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้นาวาเอกหลวงพินิจ จะไม่ใช่ผู้แจ้งการเกิดของโจทก์ก็ตาม แต่ได้มีการแจ้งนามสกุลของโจทก์ว่า..... และมีนาวาเอกหลวงพินิจ เป็นบิดาในแบบมอบตัวของโรงเรียนจำนงค์ วิทยาปรากฏว่านาวาเอกหลวงพินิจ ได้แจ้งว่าโจทก์เป็นบุตรและอยู่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน และจะเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ให้พอใช้สอยถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน และด้านหลังใบมอบตัวของโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยาระบุว่านาวาเอกหลวงพินิจ เป็นผู้ปกครองและเป็นบิดาของโจทก์ เห็นว่าพฤติการณ์ที่นาวาเอกหลวงพินิจ พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่านาวาเอกหลวงพินิจได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว

          มีปัญหาตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจ จำนวนเท่าไร เห็นว่า พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของนาวาเอกหลวงพินิจกับนางเฉลิม ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่านาวาเอกหลวงพินิจ และนางเฉลิมมีสินเดิม จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อนาวาเอกหลวงพินิจ ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของนาวาเอกหลวงพินิจ สองส่วนอีกหนึ่งส่วนเป็นของนางเฉลิมที่จำเลยอ้างว่าตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 ได้พิพากษาให้นางเฉลิม มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินครึ่งหนึ่งแล้ว ที่ดินแปลงอื่นที่ได้มาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2527 นางเฉลิม จึงมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งด้วย เพราะการได้มาของที่ดินดังกล่าวได้มาในลักษณะเดียวกันกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความในคดีดังกล่าวโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่านางเฉลิม มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นสองในสามส่วนของที่ดิน 19 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจึงเป็นมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจ โจทก์มีสิทธิได้รับหนึ่งในเจ็ดส่วนของทรัพย์มรดกดังกล่าว

          จำเลย ฎีกาประการสุดท้ายว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจ จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

          พิพากษายืน.

( อุไร คังคะเกตุ - ไมตรี กลั่นนุรักษ์ - สุวิทย์ ธีรพงษ์ )

 

 

 

 


ผู้เช่าไม่อาจเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า
ในขณะทำสัญญาเช่ามีบุคคลภายนอกรบกวนขัดสิทธิอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าอยู่ก่อนผู้เช่า ทำให้ผู้เช่าไม่อาจเข้าไปใช้ประโชชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อผู้เช่ายังไม่ได้เข้าไปครอบครองหรือรับมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าจึงยังไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ แต่บุคคลภายนอกนั้นโต้แย้งสิทธิของผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้เช่าจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลภายนอกนั้น ทางแก้ของผู้เช่าในเรื่องนี้ก็โดยผู้เช่าต้องขอให้ศาลหมายเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีฟ้องขับไล่
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538796611&Ntype=23

 


สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและหนี้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจะมีผลต่อมูลหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ออกเช็คอย่างไรบ้าง? เรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ลูกหนี้ออกเช็คโดยไม่ได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้เงินกู้ตามเช็คตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
http://www.peesirilaw.com/พระราชบัญญัติล้มละลาย/คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์-ห้ามมิให้ลูกหนี้.html

 


สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2554)
http://www.peesirilaw.com/นิติกรรม/แสดงเจตนาลวง-นิติกรรมอำพราง.html
http://www.peesirilaw.com/เกี่ยวกับกฎหมาย/สำนักงานทนายความ-รับปรึกษากฎหมาย-0859604258.html


ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258  *  www.peesirilaw.com  *

 

 

 

เงินเดือนสามีได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
สามีซื้อที่ดินโดยกู้ยืมเงินจากธนาคาร197,000 บาท มาชำระราคาที่ดินและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารและได้นำเงินเดือนของสามีผ่อนชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารอาคารจนครบถ้วน และไถ่ถอนจำนอง สามีซื้อรถยนต์และชำระราคารถยนต์คันเป็นเงินสด โดยกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 400,000 บาท สามีผ่อนชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ทุกเดือน ต่อมาฟ้องหย่าภริยา มีปัญหาว่าที่ดินและรถยนต์เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาหรือไม่ ตามข้อเท็จจริงมีการซื้อที่ดิน และซื้อรถยนต์ เป็นระยะเวลาในระหว่างสมรส ที่ดินและรถยนต์จึงเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา แม้เงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่กู้มาจากธนาคารและเงินที่ใช้ซื้อรถยนต์เป็นเงินที่กู้จากสหกรณ์ออมทรัพย สามีจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินเดือนของสามีทั้งสิ้นก็ตาม แต่เงินเดือนของสามีก็เป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรสนั่นเอง จึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทและรถยนต์พิพาทเป็นสินสมรส เมื่อหย่าขาดจากกันจึงต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่ภริยากึ่งหนึ่งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9570/2551 (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)     

 




บรรพ 5 ครอบครัว

แต่งงานแล้วหญิงไม่ยอมร่วมหลับนอน
มีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดายังไม่เพียงพอ
คดีครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามสี่จังหวัด
สมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล สินสมรสหรือสินส่วนตัว
เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย
มอบสัญญาเงินกู้เป็นของหมั้น สัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้น
ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เงินที่มอบให้ไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด
การสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิม