ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย

เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย

เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย-หญิงผู้มาทีหลังแต่จดทะเบียนสมรสกับสามีมีสิทธิฟ้องภริยาหลวงซึ่งเป็นภริยานอกกฎหมายได้

อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสต่อมาสามีไปมีหญิงอื่นและจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายในกรณีนี้ใครมีสิทธิดีกว่ากันแล้วภริยาชอบด้วยกฎหมายจะเรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมายได้หรือไม่ คำตอบก็คือเมื่อชายหญิงอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันทางกฎหมาย สำหรับหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสในภายหลังย่อมเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี ภริยานอกสมรสรู้แล้วยังอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไปถือว่าเป็นการละเมิดต่อภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมายได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6164/2552

          เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะไปอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา ไม่ว่าจะได้อุปการะหรือยกย่องอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ยังรับการอุปการะเลี้ยงดูและการยกย่องฉันภริยาอยู่อีกจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสองได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายเทพบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และเด็กชายเทพในอัตราเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

          จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 1,500 บาท นับแต่เดือนมีนาคม 2544 เป็นต้นไปจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์จำนวนเงิน 20,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความจำนวน 2,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีคงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการแรกตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากัน เป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะไปอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่น คือ จำเลยที่ 2 ฉันภริยา ไม่ว่าจะได้อุปการะหรือยกย่องอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ และจำเลยที่ 2 เมื่อรู้แล้วว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แล้ว หากรับการอุปการะเลี้ยงดูหรือรับการยกย่องฉันภริยาก็ย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 ได้ โดยถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

          ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนเป็นเงิน 100,000 บาท นั้น เห็นว่า เมื่อคดีนี้ขณะจำเลยที่ 2 เริ่มมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ในเดือนตุลาคม 2543 จึงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 และเมื่อได้ความด้วยว่า ประมาณปลายปี 2544 จำเลยที่ 2 ได้ย้ายกลับไปรับราชการที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงน่าจะห่างกันไปแล้ว ประกอบกับพฤติการณ์ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่า หลังเกิดเหตุโจทก์ยังคงได้รับการให้เกียรติจากญาติตลอดจนเพื่อนร่วมงานของจำเลยที่ 1 ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 20,000 บาท นั้น จึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเห็นสมควรให้ตกเป็นพับ.

 




บรรพ 5 ครอบครัว

แต่งงานแล้วหญิงไม่ยอมร่วมหลับนอน
มีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดายังไม่เพียงพอ
คดีครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามสี่จังหวัด
สมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล สินสมรสหรือสินส่วนตัว
มอบสัญญาเงินกู้เป็นของหมั้น สัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้น
ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เงินที่มอบให้ไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด
สินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิม