ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เงินที่มอบให้ไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด

ทนายความ

(ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย ติดต่อทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th )

 

 

ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย,  ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย

ขณะหมั้นหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน ชายได้หนีออกจากบ้านหญิง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากว่า ทั้งก่อนและในวันแต่งานฝ่ายชายได้เคยพูดกับทางฝ่ายหญิงถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสให้เป็นกิจจะลักษณะ ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกัน ชายมุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เงินทั้งหลายที่ชายมอบให้แก่หญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1117/2535


          ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงมิใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตาม ฝ่ายชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่.

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบิดาโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นบิดามารดาจำเลยที่ 3 โจทก์ที่ 1 ได้สู่ขอและหมั้นจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ที่ 2 ด้วยเงินสด 4,000 บาท วันทำพิธีสมรสโจทก์ทั้งสองได้มอบเงินค่าสินสอดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก 11,000 บาทและต้องเสียค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำพิธีสมรสเป็นเงิน10,150 บาท แต่เมื่อทำพิธีสมรสแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสและไม่ยอมอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ที่ 2 ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบความจริงว่าขณะหมั้นจำเลยที่ 3 อายุไม่ครบ 17 ปีการหมั้นจึงตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสามต้องคืนเงินของหมั้นและสินสอดกับชดใช้ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามไม่คืนและไม่ชดใช้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 25,150 บาทกับดอกเบี้ย

          จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้แต่เรียกสินสอดจากโจทก์อย่างเดียวเป็นเงิน 15,000 บาท หลังทำพิธีสมรสโจทก์ที่ 2 อยู่กินกับจำเลยที่ 3 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ แล้วออกจากบ้านจำเลยไปเอง โจทก์ที่ 2 ไม่เคยเรียกร้องให้มีการจดทะเบียนสมรส จำเลยที่ 3 ยังพร้อมที่จะจดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับโจทก์ที่ 2 จำเลยทั้งสามไม่ผิดสัญญา ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 15,000บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก

          จำเลยทั้งสามอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องคืนเงินของหมั้นและเงินสินสอดแก่โจทก์ทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีคงมีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า จำเลยทั้งสามจะต้องคืนเงินของหมั้นและเงินสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ ...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงตามที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้หมั้นกันเมื่อวันที่ 22 พฤาภาคม 2529 และแต่งงานกันเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2530 โดยโจทก์ที่ 2 มอบเงินจำนวน 4,000 บาทให้จำเลยที่ 3 เป็นของหมั้น และโจทก์ที่ 1 มอบเงินจำนวน 11,000บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสินสอด ขณะหมั้นจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน โจทก์ที่ 2 ได้หนีออกจากบ้านจำเลยทั้งสามไป แต่ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสนั้นศาลฎีกาเห็นว่า ทางพิจารณาข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์เลยว่า ทั้งก่อนและในวันแต่งานฝ่ายโจทก์ได้เคยพูดกับทางฝ่ายจำเลยถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสให้เป็นกิจจะลักษณะ ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกันประมาณ 1 เดือน โจทก์ที่ 2 ก็ไม่เคยขอให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนสมรส กลับได้ความจากโจทก์ที่ 2 เองว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมีความคิดที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 3 มาก่อนโจทก์ที่ 2 ไปขอให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนสมรสตามคำแนะนำของทนายความ นอกจากนั้น โจทก์ที่ 2 ยังเบิกความว่า แม้จำเลยที่ 3 อายุไม่ครบ 17 ปี โจทก์ที่ 2 ก็จะแต่งงานด้วย ซึ่งแสดงว่าโจทก์ที่ 2 มุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับจำเลยที่ 3 ตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เมื่อโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้แก่ฝ่ายจำเลยจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน.


( สมศักดิ์ วิธุรัติ - เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์ - สมมาตร พรหมานุกูล )


หมายเหตุ 

          การที่ชายและหญิงซึ่งมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ทั้งสองคนทำการหมั้นกัน สัญญาหมั้นนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 โดยถือว่าเสียเปล่าเสมือนไม่มีสัญญาหมั้นเกิดขึ้นเลย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนอย่างเช่นมิได้เข้าทำสัญญาหมั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมได้ตามมาตรา 172 เมื่อถือว่าไม่มีสัญญาหมั้นเกิดขึ้นจึงไม่มีการที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเหมือนโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างการที่ฝ่ายชายให้ของหมั้นและสินสอดแก่ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นการกระทำอันปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสอดคืนได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ มาตรา 412 หรือมาตรา 413 แต่ทั้งนี้ฝ่ายชายจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกของหมั้นและสินสอดคืน ศาลจะสั่งให้คืนเองไม่ได้แม้สัญญาหมั้นจะเป็นโมฆะก็ตาม นอกจากนี้แม้ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือหญิงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับชาย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก็จะเรียกค่าทดแทนอย่างใด ๆ จากกันมิได้

           ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกของหมั้นและสินสอดคืนจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์การหมั้นจึงตกเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 15,000 บาท แก่โจทก์ซึ่งก็คือของหมั้นเป็นเงิน 4,000 บาท และสินสอดอีก 11,000 บาทศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามไม่ต้องคืนเงินของหมั้นและเงินสินสอดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยวินิจฉัยว่าเงินที่อ้างว่าให้เป็นของหมั้นและสินสอดนั้นมิใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย เพราะชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนศาลสูงมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาหมั้นเป็นโมฆะหรือไม่ แต่กลับไปเน้นในจุดที่ว่า "ชายและหญิงไม่มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย" เงินหรือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิง จึงมิได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นหรือสินสอด แต่เป็นการให้โดยเสน่หา จึงเรียกคืนจากฝ่ายหญิงไม่ได้แม้หญิงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับชายก็ตาม ซึ่งศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยในทำนองนี้มาแล้ว แต่ไม่มีประเด็นว่าชายหรือหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ อันจะเป็นเหตุทำให้สัญญาหมั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 คือ

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2518 เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิงเพื่อขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมายไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายเรียกคืนไม่ได้

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2524 ชายหญิงประกอบพิธีสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา โดยมิได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสถือไม่ได้ว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินและทรัพย์ที่ฝ่ายชายได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงไว้จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 ไม่ เมื่อชายและหญิงแยกกันอยู่ชายไม่มีสิทธิเรียกคืน

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2531 เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน

           อย่างไรก็ดี ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2530 วินิจฉัยประเด็นที่หญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ทำการแต่งงานตามประเพณีกับชาย และมีการให้สินสอดแก่บิดามารดาหญิง ต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ฝ่ายชายจึงมาฟ้องเรียกสินสอดคืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "การที่โจทก์ให้เงินสดและสร้อยคอทองคำแก่ฝ่ายจำเลย โดยฝ่ายโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 มีอายุยังไม่ครบกำหนดที่จะจดทะเบียนสมรสกันได้แต่ก็ยอมให้โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสนั้นเงินสดและสร้อยคอทองคำดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอดตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน" คดีเรื่องนี้ไม่มีประเด็นในเรื่องการหมั้นมาเกี่ยวข้องโดยฝ่ายชายทราบอยู่แล้วว่าหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ไม่อาจจดทะเบียนสมรสกันได้ แต่ก็ได้ทำพิธีแต่งงานมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยากับชายโดยชายและหญิงไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ศาลฎีกาจึงได้วินิจฉัยว่าเงินสดและสร้อยคอทองคำที่ให้แก่บิดามารดาหญิงไม่ใช่สินสอดตามกฎหมาย ฝ่ายชายเรียกคืนไม่ได้

           สำหรับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เรื่องใหม่นี้ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2530 เพราะคดีเรื่องใหม่นี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ได้มีการหมั้นกันก่อนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2529 และมาแต่งงานกันในเดือนมกราคม 2530 ได้มีการให้ของหมั้นและสินสอดแก่กันด้วย ในขณะที่ทำสัญญาหมั้นหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์  โดยฝ่ายชายไม่ทราบ เพิ่งมาทราบในภายหลัง โจทก์จึงกล่าวอ้างว่าสัญญาหมั้นเป็นโมฆะและเรียกของหมั้นและสินสอดคืนถ้าพิเคราะห์ในประเด็นเรื่องสัญญาหมั้นเป็นโมฆะหรือไม่ น่าจะเห็นได้ชัดเจนว่าสัญญาหมั้นเป็นโมฆะ โจทก์น่าจะมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสอดคืนได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาตรา 412 ส่วนจะคืนเงินจำนวนเท่าใด หรือใช้จ่ายไปหมดแล้วไม่มีเงินที่จะต้องคืนแก่กันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง.

           ประสพสุขบุญเดช. 
 
        

 ข้อสังเกต  มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการหมั้นต่อไปว่า การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง  ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะถือว่าเป็นของหมั้นได้นั้นจึงต้องมีการส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงอย่างแท้จริงด้วย  การสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือเพียงแต่ทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้  จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ของหมั้นแก่กันแล้ว

 

เงื่อนไขของการหมั้น
ในการที่ชายและหญิงจะทำการหมั้นกันนั้นกฎหมายกำหนดเงื่อนไขของการหมั้นไว้ 2 ประการ คือ
1. อายุของคู่หมั้น
2. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

ชายและหญิงคู่หมั้นคู่หมั้นต้องมีอายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์

มาตรา 1435  การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ
 
การที่ชายจะทำการหมั้นหญิงนั้นกฎหมายกำหนดอายุของคู่หมั้นไว้ว่า ชายและหญิงต้องมีอายุอย่างต่า 17 ปี บริบูรณ์ อายุที่กำหนดตาม มาตรา 1435 นี้เป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้จึงเป็นโมฆะ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุขั้นต่าของชายและหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นกันไว้ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นอยู่ในวัยที่รู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายและหญิงที่มี อายุต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจเพียงพอที่จะทำการหมั้นหรือการสมรส จึงทำการหมั้นไม่ได้ แม้บิดามารดาหรือผู้ปกครองจะให้ความยินอยมก็ตาม การหมั้นที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์อันเป็นโมฆะตาม มาตรา 1435 วรรคสองนี้ แม้ต่อมา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มตรา 172 ซึ่งบัญญัติว่าโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ เพราะฉะนั้นหากจะให้การหมั้นสมบูรณ์ก็ต้องมาทำการหมั้นกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ชายและหญิงที่มีอายุต่ากว่า 17 ปี บริบูรณ์จะขออนุญาติศาลทำการหมั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ผิดกับการสมรสซึ่งหากมี่เหตุอันสมควร มาตรา 1448 ให้อำนาจศาลที่จะอนุญาตให้ชายหรือหญิงที่อายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสได้ในกรณีที่ชายหรือหญิงซึ่งอายุต่ากว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล หากต่อมาขาดจากการสมรสเดิมและประสงค์จะทำการหมั้นใหม่ในขณะที่ตนอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ไม่อาจจะกระทำได้ เพราะขัดต่อ มาตรา 1435 ที่บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่า ชายและหญิงต้องอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วทั้งสองคนจึงจะทำการหมั้นได้ หากฝ่าฝืนทำการหมั้นกันการหมั้นนี้เป็นโมฆะ

_______________________________________________________ 

 


ผู้เช่าไม่อาจเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า
ในขณะทำสัญญาเช่ามีบุคคลภายนอกรบกวนขัดสิทธิอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าอยู่ก่อนผู้เช่า ทำให้ผู้เช่าไม่อาจเข้าไปใช้ประโชชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อผู้เช่ายังไม่ได้เข้าไปครอบครองหรือรับมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าจึงยังไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ แต่บุคคลภายนอกนั้นโต้แย้งสิทธิของผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้เช่าจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลภายนอกนั้น ทางแก้ของผู้เช่าในเรื่องนี้ก็โดยผู้เช่าต้องขอให้ศาลหมายเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีฟ้องขับไล่
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538796611&Ntype=23

 


สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและหนี้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจะมีผลต่อมูลหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ออกเช็คอย่างไรบ้าง? เรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ลูกหนี้ออกเช็คโดยไม่ได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้เงินกู้ตามเช็คตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
http://www.peesirilaw.com/พระราชบัญญัติล้มละลาย/คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์-ห้ามมิให้ลูกหนี้.html

 


สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2554)
http://www.peesirilaw.com/นิติกรรม/แสดงเจตนาลวง-นิติกรรมอำพราง.html
http://www.peesirilaw.com/เกี่ยวกับกฎหมาย/สำนักงานทนายความ-รับปรึกษากฎหมาย-0859604258.html


ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร.  0859604258  *  www.peesirilaw.com  *

 

      




บรรพ 5 ครอบครัว

แต่งงานแล้วหญิงไม่ยอมร่วมหลับนอน
มีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดายังไม่เพียงพอ
คดีครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามสี่จังหวัด
สมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล สินสมรสหรือสินส่วนตัว
เรียกค่าทดแทนจากภริยานอกกฎหมาย
มอบสัญญาเงินกู้เป็นของหมั้น สัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้น
สินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิม