ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




การสมัครใจทะเลาะวิวาทอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้

การสมัครใจทะเลาะวิวาทอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้

แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนแล้วจำเลยยิงผู้ตายเสียชีวิตอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันตัวไม่ได้
หลังจากจำเลยที่ 1 กับผู้ตายเกิดเหตุชกต่อยกันในตอนเช้าจำเลยที่ 1 ตามหาผู้ตาย พบผู้ตายในตอนเย็น จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปหาผู้ตาย ย่อมเล็งเห็นผลแล้วว่าจะต้องเกิดเหตุวิวาทขึ้นอย่างแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ควรเดินเข้าไปหาผู้ตายก่อน เพราะผู้ตายก็ยังมิได้ทำอะไรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปหาผู้ตายโดยมีอาวุธปืนติดตัวเตรียมพร้อมมาด้วยจึงไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นนอกจากต้องการมีเรื่องกับผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย และเมื่อเป็นการสมัครใจวิวาทซึ่งกันและกันแล้ว การที่ผู้ตายยิงจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ยิงผู้ตายเช่นเดียวกัน จึงหาอาจอ้างว่าเป็นการป้องกันตัวได้ไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  864/2554

  โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่า ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 หยิบอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้ววิ่งออกจากที่เกิดเหตุไป จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา และความผิดดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 83, 91, 288, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบปลอกกระสุนปืนและลูกกระสุนปืนของกลาง

          จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณานายสมศักดิ์ ยิบพิกุล บิดาผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น

          ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 8 เดือน และปรับคนละ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบปลอกกระสุนปืนและลูกกระสุนปืนของกลาง ข้อหาอื่นให้ยก

          โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 7 ปี 1 เดือน 10 วัน ไม่รอการลงโทษ  จำเลยที่ 2 มีกำหนด 5 เดือน 10 วัน และปรับ 2,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยที่ 1 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมตรงกับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 พยานโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเพื่อนสนิทสนมกับจำเลยที่ 1 และเบิกความไปโดยมิได้มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โดยพยานเบิกความสอดคล้องกันว่า หลังจากจำเลยที่ 1 กับผู้ตายเกิดเหตุชกต่อยกันในตอนเช้าแล้วจำเลยที่ 1 กับพวกก็ยังคงออกติดตามหาผู้ตาย จนกระทั่งมาพบผู้ตายในตอนเย็น จำเลยที่ 1 ก็เดินเข้าไปหาผู้ตาย ทั้งๆ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ตายมีเหตุทะเลาะวิวาทกันในตอนเช้า การเดินเข้าไปหาผู้ตายในลักษณะดังกล่าวนั้นย่อมเล็งเห็นผลแล้วว่าจะต้องเกิดเหตุวิวาทอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นอย่างแน่นอนดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ควรเดินเข้าไปหาผู้ตายก่อน เพราะผู้ตายก็ยังมิได้ทำอะไรจำเลยที่ 1 ส่วนเหตุการณ์ในตอนเช้าก็ยุติไปแล้วไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ที่จำเลยที่ 1 จะต้องเดินเข้าไปหาผู้ตายอีก การที่จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปหาผู้ตายโดยมีอาวุธปืนติดตัวเตรียมพร้อมมาด้วยจึงไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นนอกจากต้องการมีเรื่องกับผู้ตายอีก การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย และเมื่อเป็นการสมัครใจวิวาทซึ่งกันและกันแล้ว การที่ผู้ตายยิงจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ยิงผู้ตายเช่นเดียวกัน จึงหาอาจอ้างว่าเป็นการป้องกันตัวได้ไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นพยานหลักฐานจำเลยที่ 1 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังหักล้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนนี้ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 หยิบอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้ววิ่งออกจากที่เกิดเหตุไป จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนมานั้น ย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกาและความผิดดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

 




ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

สมัคใจวิวาทกันสมัครใจเข้าเสี่ยงภัย
ขับรถโดยประมาทผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำให้การในชั้นสอบสวน
พูดสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตาย
พยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ขับรถปิดเส้นทางโดยมีเจตนาฆ่า
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว