ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ธนาคารเบิกถอนเงินลูกค้าไม่เป็นลักทรัพย์

ธนาคารเบิกถอนเงินลูกค้าไม่เป็นลักทรัพย์

ธนาคารเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ธนาคารมีหน้าที่เพียงคืนเงินเท่าจำนวนที่ลูกค้าฝากเท่านั้น โดยไม่จำต้องเป็นตัวเงินที่ลูกค้านำมาฝาก  ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ ที่บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคล... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7819/2552

          การที่พนักงานธนาคารหรือธนาคารเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ธนาคารมีหน้าที่เพียงคืนเงินเท่าจำนวนที่ลูกค้าฝากเท่านั้น โดยไม่จำต้องเป็นตัวเงินที่ลูกค้านำมาฝาก

          ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1), (7), 50, 83, 84, 90, 91 พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9), 44, 46, 46 ทวิ, 46 นว (1), (3) ให้มีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นเวลา 5 ปี

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

            ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองประการแรกว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ เห็นว่า การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต แต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ปรากฏว่า เงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสอง เงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคนมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          สำหรับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ทั้งสองประการต่อมาว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) หรือไม่ เห็นว่า ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า “กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ...” เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          พิพากษายืน




ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ปลอมเอกสารและนำเอกสารปลอมไปลักทรัพย์ของนายจ้าง, บรรยายฟ้องไม่ยืนยันเวลากระทำความผิด
เท้าแชร์(นายวงแชร์)ยักยอกเงินลูกแชร์
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
ลักทรัพย์เป็นความผิดสำเร็จเมื่อทรัพย์เคลื่อนที่
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ฐานฉ้อโกง
ผู้จัดการมรดกกระทำผิดหน้าที่จำคุก 1 ปี
ความผิดฐานลักบัตรเครดิต,ปลอมเอกสาร,ใช้เอกสารปลอม,ฉ้อโกง