ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ผู้จัดการมรดกกระทำผิดหน้าที่จำคุก 1 ปี

   -ปรึกษากฎหมาย

     ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

      ทนายเอกชัย อาชาโชติธรรม โทร.083-1378440

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 

ผู้จัดการมรดกกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต จำคุก 1 ปี   

ทายาทของผู้ตายฟ้องผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยทุจริต โดยผู้จัดการมรดกได้โอนหุ้นของผู้ตายให้บุคคลซึ่งมิได้เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก จึงเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้ทายาทไม่ได้รับแบ่งปันหุ้น ถือว่าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของทายาท เป็นความผิดตามป.อาญา มาตรา 353 ประกอบมาตรา 354

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  532/2553

     จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีหน้าที่จัดการมรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายตามสิทธิที่จะพึงมีพึงได้ การที่จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 โอนหุ้นดังกล่าวกลับมาให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก จึงเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับแบ่งปันหุ้นดังกล่าว ถือว่าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสาม แม้จะได้ความว่าบริษัทนี้มีหนี้สินค้างชำระเป็นจำนวนมากก็เป็นคนละกรณีกัน เพราะโจทก์ทั้งสามต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับมอบหมายให้จัดการหุ้นดังกล่าวของผู้ตายหรือไม่ อย่างไร คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนหุ้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และจำเลยที่ 2 รับโอนหุ้นกลับมาจากจำเลยที่ 3 เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 86

โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 352, 353 และ 354

          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์

            ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ให้จำคุก 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ให้จำคุกคนละ 1 ปี
          จำเลยทั้งสามฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีหน้าที่จัดการมรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิที่จะพึงมีพึงได้ของทายาทเหล่านั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 โอนหุ้นดังกล่าวกลับมาให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก จึงเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับแบ่งปันหุ้นดังกล่าว ถือว่าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสาม กระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา และการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนหุ้นของผู้ตายจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดนั้น แต่การรับโอนหุ้นของผู้ตายมาเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือประโยชน์ส่วนตนแก่จำเลยทั้งสามอีกทั้งจำเลยทั้งสามเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน เหตุแห่งการกระทำความผิดจึงไม่ร้ายแรง ประกอบกับได้ความว่า จำเลยที่ 2 ดำเนินการแบ่งปันโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทได้รับไปตามสิทธิเรียบร้อยแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้บรรเทาผลร้ายลงไปแล้ว จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลยทั้งสาม

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 86 จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 8 เดือน โทษจำคุกของจำเลยทั้งสามให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

  มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 




ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ปลอมเอกสารและนำเอกสารปลอมไปลักทรัพย์ของนายจ้าง, บรรยายฟ้องไม่ยืนยันเวลากระทำความผิด
เท้าแชร์(นายวงแชร์)ยักยอกเงินลูกแชร์
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
ลักทรัพย์เป็นความผิดสำเร็จเมื่อทรัพย์เคลื่อนที่
ธนาคารเบิกถอนเงินลูกค้าไม่เป็นลักทรัพย์
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ฐานฉ้อโกง
ความผิดฐานลักบัตรเครดิต,ปลอมเอกสาร,ใช้เอกสารปลอม,ฉ้อโกง