
สิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัด
เมื่อผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยแล้วจึงถือว่าจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะบังคับคดีให้จำเลยชำระราคารถยนต์แทนอีกไม่ได้ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่คิดจากราคารถยนต์ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ ศาลก็ได้กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากราคารถยนต์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งของหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนนี้ ในคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งศาลพิพากษาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยแม้จะได้ชำระดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 80,185 บาท ไปก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกัน เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้ให้เช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2554
คำพิพากษาของศาลได้กำหนดขั้นตอนการบังคับคดีเกี่ยวกับการส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแทนไว้แล้ว จึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา กล่าวคือ หากการบังคับให้คืนรถยนต์ไม่อาจกระทำได้ จึงให้บังคับเอาจากราคารถยนต์แทน เมื่อบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยแล้วโดยไม่ปรากฏว่ารถยนต์ดังกล่าวมีสภาพไม่เรียบร้อยใช้การไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัท ธ. แล้ว บริษัท ธ. จะบังคับคดีให้จำเลยชำระราคารถยนต์แทนอีกไม่ได้ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่คิดจากราคารถยนต์ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ธ. ในระหว่างที่จำเลยยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ คำพิพากษาของศาลก็ได้กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์แก่บริษัท ธ. ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าบริษัท ธ. ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากราคารถยนต์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งของหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนนี้ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งศาลพิพากษาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยจะได้ชำระดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 80,185 บาท ไปก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัท ธ. เอง โจทก์ไม่อาจได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยได้
________________________________
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 166,250 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 140,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 166,250 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 140,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำ
หนดค่าทนายความ 1,500 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำนวน 80,185 บาท ซึ่งโจทก์ได้ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อไปหรือไม่ คดีนี้ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ก่อนคดีนี้บริษัทธรรมธร จำกัด ผู้ให้เช่าซื้อได้ฟ้องจำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อรถยนต์และโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่บริษัทธรรมธร จำกัด ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 290,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้ร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์ ค่าฤชาธรรมเนียมแทนบริษัทธรรมธร จำกัด โดยกำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่บริษัทธรรมธร จำกัด ชนะคดี ต่อมาบริษัทธรรมธร จำกัด นำยึดที่ดินของโจทก์เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา และต่อมา จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่บริษัทธรรมธร จำกัด เมื่อได้รับรถยนต์คืนแล้ว บริษัทธรรมธร จำกัด แจ้งให้โจทก์ชำระหนี้ค่าเสียหายส่วนที่เหลือ เป็นเงิน 80,185 บาท ค่าขาดประโยชน์ ค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียม ค่ายึดและค่าถอนการบังคับคดี รวมเป็นเงิน 150,391 บาทโจทก์กับบริษัทธรรมธร จำกัด ตกลงกันได้ โจทก์คงชำระเงินให้แก่บริษัทธรรมธร จำกัดเพียง 140,000 บาท แต่จำเลยไม่ชำระหนี้คืนโจทก์ เห็นว่า คำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้กำหนดขั้นตอนการบังคับคดีเกี่ยวกับการส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแทนไว้แล้ว จึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา กล่าวคือ หากการบังคับให้คืนรถยนต์ไม่อาจกระทำได้ จึงให้บังคับเอาจากราคารถยนต์แทน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทธรรมธร จำกัด ผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ารถยนต์ดังกล่าวมีสภาพไม่เรียบร้อยใช้การไม่ได้แต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัทธรรมธร จำกัดแล้ว บริษัทธรรมธร จำกัด จะบังคับคดีให้จำเลยชำระราคารถยนต์แทนอีกไม่ได้ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่คิดจากราคารถยนต์ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทธรรมธร จำกัด ในระหว่างที่จำเลยยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ คำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ได้กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์แก่บริษัทธรรมธร จำกัด ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าบริษัทธรรมธร จำกัด ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากราคารถยนต์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งของหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนนี้ ดังนั้น แม้โจทก์ได้ชำระเงินจำนวน 80,185 บาท ไปก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัทธรรมธร จำกัด เอง โจทก์ไม่อาจได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในเงินค่าดอกเบี้ยจำนวน 80,185 บาท มาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 59,815 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
( นวลน้อย ผลทวี - พันวะสา บัวทอง - พิศล พิรุณ )
ศาลแขวงพระนครใต้ - นายทรงชัย รัตนปริญญานนท์
ศาลอุทธรณ์ - นางนภาพร จันทกุล
มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้วย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น
--วรรคสอง-อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย
__________________________________________________________________________________
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ.html
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยเคยถูกผู้เสียหายฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 548/2537 ระหว่างเด็กหญิงเสาวณีย์ โจทก์ นางสาวจอมขวัญ จำเลย ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับคดีนี้ และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม.html
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หมายถึงโทษที่วางก่อนลด??? หรือโทษสุทธิที่ศาลพิพากษาเมื่อลดโทษให้แล้ว โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5)นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538793756&Ntype=58
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องหรือไม่??? แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้อง
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/บรรยายฟ้อง-ข้อเท็จจริงแตกต่าง.html
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550 การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวน
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/พนักงานสอบสวน-ฝากขัง.html
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้อง เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้..
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน.html
คำให้การจำเลยขัดแย้งกันเองไม่มีประเด็น
จำเลยให้การในตอนแรกว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลย คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงขัดแย้งกันทำให้รูปคดีไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
http://www.peesirilaw.com/การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์/คำให้การขัดแย้งกันเอง.html
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง โดยไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว สำหรับคดีล้มละลายก็
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/อำนาจฟ้อง.html
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
จำเลยให้การว่า โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบมาฟ้องจำเลย โจทก์จัดทำหนังสือมอบอำนาจมาฟ้องจำเลยก่อนที่มูลหนี้จะเกิดขึ้น และก่อนที่จำเลยจะยินยอมตกลงเป็นลูกค้าของโจทก์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง(ฎีกา 426/2538)
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/หนังสือมอบอำนาจ.html