ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




สัญญาจำนองเป็นโมฆะ

สัญญาจำนองเป็นโมฆะ

จำเลยมีเจตนาที่จะจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันการชำระหนี้ขายลดเช็คโดยมีเงื่อนไขว่าหากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ แม้จำเลยจะได้มอบโฉนดที่ดินและใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้โจทก์แล้วก็ตาม เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2286/2538

    สัญญาจะจำนองไม่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เหมือนสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินสัญญาจะแลกเปลี่ยนและคำมั่นจะให้ตามมาตรา 456 วรรคสอง,519,526  การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ขายลดเช็คโดยมีข้อกำหนดให้จดทะเบียนจำนองได้หลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยเจตนาจะเอาทรัพย์จำนองเป็นประกัน เมื่อไม่ได้จดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะ

  โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนจำนองที่ดิน โฉนดเลขที่ 72069 ไว้ กับโจทก์ ในวงเงิน 500,000 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

       จำเลย ให้การว่า ฟ้องโจทก์ เป็นฟ้องซ้ำ จำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ ใด ๆ กับโจทก์ไม่เคยมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนหรือเชิดบุคคลใดเป็นตัวแทนขายลดเช็คแก่โจทก์นายราชพัชร  และ นาย รักษ์พงศ์  ได้ ชำระหนี้ตามเช็ค ให้ แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้น พิจารณา คำฟ้อง โจทก์ และ คำให้การ จำเลย แล้ว วินิจฉัย ว่าตาม คำฟ้อง แสดง ว่า จำเลยมีเจตนาจะจำนอง ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ กับโจทก์ เพื่อประกัน การชำระหนี้ ขายลดเช็ค เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 714 ประกอบ ด้วยมาตรา 115 จำเลย ไม่ต้องรับผิดต่อ โจทก์ และ โจทก์ จะฟ้องบังคับให้จำเลย จดทะเบียนจำนอง หาได้ไม่ พิพากษายกฟ้อง

          โจทก์ อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ตามคำฟ้องไม่ได้ ทำตามแบบที่กำหนดไว้ ในมาตรา 714 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว มาตรา 152 กรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำอย่างไร ต่างกับเรื่องจะซื้อขายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 บัญญัติ ให้ทำได้ พิพากษายืน

    โจทก์ ฎีกา

  ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "คดี มี ปัญหาต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกาของ โจทก์ว่าโจทก์ จะฟ้องบังคับ ให้จำเลย ดทะเบียนจำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 72069 แขวง ลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ไว้ กับ โจทก์ เพื่อ เป็น ประกันหนี้ ขายลดเช็ค ได้ หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ปรากฏว่า จำเลย เป็น ผู้ก่อหนี้ ขึ้น โดย เชิด หรือ รู้ แล้ว ยอม ให้นาย ราชพัชร  และ นาย รักษ์พงศ์  เชิด ตนเอง เป็น ตัวแทนนำเช็ค ไปขายลด แก่ โจทก์ การ ที่จำเลย มอบ โฉนด ที่ดินพร้อม ด้วย ใบมอบอำนาจ และ เอกสาร อื่น ให้ แก่โจทก์ เพื่อจดทะเบียนจำนอง ประกันหนี้ ดังกล่าว ถึง แม้ จะ มี ข้อกำหนด ให้ นำ ไป จดทะเบียน จำนองได้ หลังจาก เรียกเก็บเงิน ตามเช็ค ไม่ได้ ก็ ตามแต่ ก็เป็นเรื่อง ที่จำเลยมี เจตนา ที่ จะ เอาทรัพย์จำนอง เป็น ประกันนั้นเอง เมื่อไม่ได้ มีการจดทะเบียน จำนองให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย สัญญาจำนอง จึงเป็น โมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115 เดิม และ มาตรา 714 ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ได้ มี เจตนา จะจดทะเบียนจำนอง ทันที แต่ มีเงื่อนไข ว่า จะ จดทะเบียนจำนองกัน ในภายหน้า หลังจาก เรียกเก็บเงินตามเช็ค ไม่ได้ แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ ไม่ตกเป็น โมฆะนั้น ศาลฎีกา เห็นว่า นอกจาก เจตนาที่ แท้จริงของจำเลย ต้องการเอาทรัพย์ จำนองเป็นประกัน ดังวินิจฉัย ไว้ แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 อันเป็น เอกเทศ สัญญา ก็ ไม่ได้บัญญัติ ไว้ ใน ที่ ใด ให้ มีสัญญาในลักษณะดังกล่าว ซึ่ง เป็น สัญญา จะจำนองได้ ไม่เหมือน สัญญาจะซื้อขาย ทรัพย์สิน สัญญา จะ แลกเปลี่ยน และคำมั่นจะให้ ซึ่งบัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 456 วรรคสอง มาตรา 519 และมาตรา 526 เมื่อ สัญญาจำนองตกเป็น โมฆะ และ สัญญาจะจำนอง มีขึ้นไม่ได้ ตามกฎหมาย โจทก์ จึงไม่อาจ อ้างอิง สัญญาดังกล่าว และไม่มี อำนาจฟ้องบังคับ ให้จำเลยจดทะเบียนจำนอง ที่ดินโฉนด เลขที่ 72069 แขวง ลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ไว้ กับ โจทก์ เพื่อ เป็น ประกันหนี้ ขายลดเช็ค ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ต้อง กัน มา ให้ยก ฟ้องโจทก์ นั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น "

          พิพากษายืน

หมายเหตุ 

  (1)คดีตามฎีกาเรื่องนี้มีเหตุผลทำนองเดียวกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่1931/2537กรณีฟ้องร้องบังคับให้ผู้ให้ชำระหนี้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ผู้รับตามที่บันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาโต้แย้งไปแล้วและคำพิพากษาศาลฎีกาที่1583/2538กรณีฟ้องร้องบังคับให้ผู้ให้เช่าไปจดทะเบียนการเช่าตามที่บันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาโต้แย้งไปแล้ว(ลงพิมพ์ในบริการส่งเสริมงานตุลาการเล่ม6,2537และเล่ม7,2538ตามลำดับ)

    (2)ต้องเข้าใจด้วยว่าการที่จะฟ้องร้องบังคับตามสัญญาต่างๆดังกล่าวนั้นแสดงว่าสัญญาต่างๆดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นแล้วเพราะได้มีการตกปากลงคำมีสาระสำคัญของข้อตกลงแล้วไม่ใช่ว่าเกิดตอนทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาจำนองที่จะกล่าวถึงตามบันทึกนี้ก็เช่นเดียวกันการฟ้องบังคับให้ไปจดทะเบียนการจำนองนั้นก็ต้องถือว่าเมื่อตกลงกันเป็นกรณีต้องด้วยมาตรา702แล้วก็เกิดสัญญาจำนองแล้วไม่ใช่ไปเกิดสัญญาผูกพันกันเมื่อตอนทำเป็นหนังสือจดทะเบียนตามมาตรา714กันตอนหลัง

   (3)เรามักจะได้ยินที่พูดที่เขียนกันอยู่เสมอเกี่ยวกับ"สัญญาจะ"เช่นสัญญาจะเช่าสัญญาจะจ้างสัญญาจะให้กู้ยืมเงินสัญญาจะฝากทรัพย์สัญญาจะจำนำฯลฯดังนี้เป็นต้นยังมีสัญญาจะอื่นๆอีกมากหลายจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ทั้งๆที่ไม่มีตัวบทกฎหมายบัญญัติถึงไว้โดยชัดแจ้งเลย

    (4)สัญญาจะจำนองไม่มีบัญญัติไว้เป็นรูปร่างโดยชัดแจ้งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เหมือนสัญญาจะซื้อขาย(มาตรา456วรรค2)สัญญาจะแลกเปลี่ยน(มาตรา519,456วรรค2)และคำมั่นว่าจะให้ตามมาตรา 526 อย่างศาลฎีกาว่าก็จริงแต่ในการตีความแสดงเจตนาซึ่งจะได้นำตัวบทกฎหมายมาปรับในภายหลังนั้นใช่ว่าจะดูจากถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรเท่านั้นไม่ ยังต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรอีกด้วย(มาตรา171)กล่าวคือแม้ไม่มีคำว่า"จะ"ในสัญญาใดก็ตามแต่เมื่ออ่านความโดยตลอดแล้วทำให้เห็นไปได้ว่าอาจปรับและบังคับกันได้ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะอื่นใดก็ได้ถึงหากจะไม่มีคำว่า"จะ"บัญญัติไว้เป็นตัวเป็นตนให้เห็นโดยชัดแจ้งก็ตามเราจะพิเคราะห์ดูกันแต่เพียงถ้อยคำเอาง่ายๆดังนี้หรือ

   (5)เราได้ศึกษากันมามากเกี่ยวกับเงื่อนไขเงื่อนเวลาในนิติกรรม(มาตรา182-193)ก็ควรที่จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณาประกอบด้วยอย่างไรจะเป็นเงื่อนไขเงื่อนเวลาหรือเป็นเพียงข้อความหรือข้อตกลงอย่างธรรมดาในสัญญาจะดูแต่เพียงถ้อยคำสำนวนหรืออักษรเท่านั้นไม่ได้เช่นเดียวกันต้องดูเจตนาอันแท้จริงด้วยบางทีไม่ใช้คำว่าเงื่อนไขเงื่อนเวลาก็เป็นเงื่อนไขเงื่อนเวลาได้เหมือนกันหรือตรงกันข้ามแม้ใช้คำว่าเงื่อนไขเงื่อนเวลาแต่อาจไม่เป็นเงื่อนไขเงื่อนเวลาตามกฎหมายก็ได้ ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่าที่ว่าเงื่อนไขเงื่อนเวลาในนิติกรรมนั้นจะต้องเข้าใจว่าได้มีนิติกรรมสัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่มีข้อความหรือข้อตกลงอันเป็นเงื่อนไขเงื่อนเวลาในนิติกรรมสัญญานั้นถ้าไม่มีอยู่ในนิติกรรมสัญญาจะบังคับกันตามที่ตกลงกันไว้ได้อย่างไรไม่ใช่เรื่องเงื่อนไขเงื่อนเวลาก่อนหรือหลังนิติกรรมสัญญาอย่างที่บางคนเข้าใจอย่างผิดๆ

 ตัวอย่างเช่นก.ข.ตกลงกันว่าก.จะกู้เงินจากข.400,000บาท เมื่อข.ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่1ภายในปี2538หรือตกลงกันว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ก.จะกู้เงินจากข.เป็นเงิน400,000บาทสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้

   หรือตัวอย่างเช่น ก.ตกลงกับ ข.ว่าถ้าหากก.ถูกทางราชการสั่งย้ายไปจังหวัดเชียงใหม่ ก.จะฝากรถยนต์ไว้กับข.หรือตกลงกันว่าตั้งแต่1ธันวาคม2538ก.จะฝากรถยนต์ไว้กับข.มีกำหนด1เดือนสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้

    (6) ตามตัวอย่างดังกล่าวในข้อ(5)เห็นได้ชัดว่าเป็นสัญญากู้ยืมเงินโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนกล่าวคือได้มีสัญญากู้ยืมเงินเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่มีการตกปากลงคำกันแต่ยังไม่เป็นผลการที่จะถือว่านิติกรรมสัญญาเป็นผลเป็นคนละเรื่องกับสัญญาเกิดขึ้นนิติกรรมสัญญาจะเป็นผล(หรือสิ้นผลกรณีเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง)เป็นเรื่องภายหลังจากมีนิติกรรมสัญญาเกิดขึ้นจะเป็นผลก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่ตกลงกันเกิดขึ้นในอนาคตตามตัวอย่างมีข้อความอันเป็นเงื่อนไขที่ว่าถ้าข.ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่1จึงจะให้ก.กู้ยืมเงินและต้องถูกภายในปี2538ด้วยจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่1หรือไม่ภายในปี2538หรือไม่ไม่เป็นการแน่นอนเป็นข้อความอันบังคับไว้ในนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินให้เป็นผลก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคตจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน

  หรือที่ตกลงกันว่าในวันที่1ธันวาคม2538ข.จะให้ก.กู้ยืมเงิน400,000บาทหมายความว่าสัญญากู้ยืมเงินเกิดขึ้นแล้วแต่เป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ตามมาตรา191ก.จะทวงถามให้ข.ส่งมอบเงินกู้ก่อนถึงเวลาที่กำหนดยังไม่ได้

      หรือกรณีที่ก.ตกลงจะฝากรถไว้กับข.เมื่อก.ถูกทางราชการสั่งย้ายไปจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นนิติกรรมสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนก.จะถูกย้ายไปหรือไม่และจะไปจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ไม่เป็นการแน่นอนหรือตามที่ตกลงกันว่าตั้งแต่1ธันวาคม2538ก.จะฝากรถไว้กับข.มีกำหนด1เดือนก.จะเรียกร้องให้ข.รับฝากก่อนถึงวันที่1ธันวาคม2538ยังไม่ได้(ส่วนที่จะฝากกัน1เดือนนั้นเป็นเรื่องเวลาสิ้นสุด)

    กรณีดังกล่าวมานี้บุคคลทั่วไปแม้แต่นักกฎหมายเองในทางปฏิบัติก็มักเรียกกันว่าสัญญาจะกู้ยืมเงินสัญญาจะฝากทรัพย์ดังนี้เป็นต้นซึ่งตามที่ถูกต้องนั้นเมื่อปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมายแล้วย่อมถือได้ว่าเป็นสัญญากู้ยืมเงินมีเงื่อนไขบังคับก่อนหรือสัญญากู้ยืมเงินมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือสัญญาฝากทรัพย์ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนหรือสัญญาฝากทรัพย์มีเงื่อนเวลาเริ่มต้น

  (7)ข้อเท็จจริงตามฎีกาฉบับนี้ได้ความว่าจำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ขายลดเช็คโดยมีข้อกำหนดให้จดทะเบียนจำนองได้หลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้จึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนว่าจะจดทะเบียนได้ก็ต่อเมื่อหลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้แล้วการเก็บเงินตามเช็คจะได้หรือไม่เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ไม่แน่นอนอาจจะเก็บได้ก็ได้เก็บไม่ได้ก็ได้จึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเป็นสัญญาจำนองที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนเพราะเป็นข้อความที่กำหนดไว้ในนิติกรรมสัญญาจำนองเพื่อให้นิติกรรมเป็นผลตามมาตรา182แต่สัญญาจำนองได้มีขึ้นแล้วไม่ใช่ว่าไม่มีสัญญาจำนองเพราะคู่กรณีได้ตกปากลงคำตกลงในสาระสำคัญของสัญญาแล้วตกลงกันว่าเอาที่ดินตามโฉนดมาทำประกันหนี้แล้วเพียงแต่ยังไม่เป็นผลเท่านั้นจนกว่าเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้เป็นข้อความในสัญญาจะเกิดขึ้นเพราะเป็นสัญญาจำนองที่มีเงื่อนไขเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว(คือเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้แล้ว)นิติกรรมเป็นผลแล้วจึงจะนำสัญญาจำนองนั้นไปจดทะเบียนจำนองอย่าลือว่าสัญญาจำนองเกิดขึ้นกับการจดทะเบียนสัญญาจำนองเป็นคนละเรื่องคนละตอนกันเพราะการทำเป็นหนังสือจดทะเบียนตามมาตรา714นั้นเป็นแบบของสัญญาจำนองความจริงสัญญาจำนองได้เกิดขึ้นมาก่อนนั้นแล้วแต่เป็นสัญญาจำนองที่มีเงื่อนไขเท่านั้น

    (8)อย่างไรก็ดีตามฎีกาฉบับนี้ศาลฎีกาก็ยังเรียกว่าสัญญาจะจำนองทั้งๆที่โจทก์ได้ฎีกามาอย่างชัดแจ้งว่า"จำเลยไม่ได้มีเจตนาจะจดทะเบียนจำนองทันทีแต่มีเงื่อนไขว่าจะจดทะเบียนจำนองกันในภายหน้าหลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้แล้วจึงไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และไม่ตกเป็นโมฆะ"ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้โจทก์เองก็ถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่มีเงื่อนไขนั่นเองไม่ใช่สัญญาจะจำนองอย่างศาลฎีกาว่าผู้บันทึกเห็นว่าเมื่อเป็นสัญญาจำนองมีเงื่อนไขบังคับก่อนจึงย่อมใช่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

 (9)พึงสังเกตว่าสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินสัญญาจะแลกเปลี่ยนและคำมั่นจะให้ตามมาตรา456วรรค2,519,526อย่างศาลฎีกายกตัวอย่างนั้นเมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย,สัญญาแลกเปลี่ยนสัญญาให้เป็นสัญญาที่จะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้นกฎหมายจึงให้ชื่อเฉพาะก่อนทำเป็นหนังสือจดทะเบียนว่าสัญญาจะซื้อขายหรือจะแลกเปลี่ยนแล้วแต่กรณีและคำมั่นว่าจะให้แต่สัญญาดังกล่าวก็ยังอาจมีเงื่อนไขเงื่อนเวลากำหนดไว้อีกด้วยก็ได้เพราะเป็นนิติกรรมแม้คำมั่นว่าจะให้จะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวก็ตาม

    (10)คดีนี้ทั้งศาลชั้นต้นและศาลฎีกาเห็นต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาจะเอาทรัพย์จำนองเป็นประกันการชำระหนี้ขายลดเช็คไม่ใช่ว่าไม่มีเจตนาและมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยถึงขนาดจำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมด้วยใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้แก่โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ดังกล่าวด้วย(ซึ่งถ้าไม่มีเจตนาดังกล่าวสัญญาจำนองย่อมเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่แรกตามมาตรา152,171)และเมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วโจทก์ก็ฟ้องบังคับขอให้จำเลยไปจดทะเบียนการจำนองผู้บันทึกเห็นว่าแม้การจำนองจะยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่จำเลยก็มีเจตนาจะเอาที่ดินจำนองเป็นประกันหนี้ขายลดเช็คแล้วมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการจำนองแล้วแม้จะยังบังคับตามสัญญาจำนองไม่ได้เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่โจทก์ก็สามารถฟ้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนการจำนองได้ทั้งนี้โดยอาศัยบทบัญญัติทั่วไปตามมาตรา213ดังที่ผู้บันทึกมีความเห็นไว้ในเรื่องอื่นๆดังกล่าวมาในข้อ(1)ข้างต้นการที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเมื่อไม่ได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมายสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะจึงเป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องร้องขอให้บังคับเพราะโจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนก็เพื่อจะให้สัญญาจำนองบังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะศาลฎีกากลับวินิจฉัยสวนทางไปว่าเมื่อไม่ได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมายสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะกล่าวคือไปกล่าวถึงผลของการที่ไม่จดทะเบียนเลยไม่มีประโยชน์อันใดทั้งๆที่การฟ้องบังคับของโจทก์ก็เพื่อจะให้สัญญาจำนองใช้บังคับระหว่างกันให้จงได้ไม่เป็นโมฆะต่างหาก

 ไพจิตรปุญญพันธุ์ 




นิติกรรมสัญญา

ศาลลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้
การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
การตีความการแสดงเจตนา
สัญญายอมความกับคำมั่นว่าจะให้ที่ดินหลุดขายฝาก
สัญญาจะซื้อขายที่ดินผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาลด้วย
สัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เพียงใด
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
ข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างไม่เรียกร้องค่าเสียหาย
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
มีที่ดินแต่ไม่มีเครดิตจะกู้เงินธนาคารจึงใช้ชื่อบุคคลอื่น
สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส-ยกที่ดินให้ภริยา
ที่ดินสาธารณะเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ห้ามซื้อขาย
สัญญาแบ่งเงินรางวัลผู้แจ้งเบาะแส
สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ
คำมั่นว่าจะไถ่ถอนจำนองหรือมอบเงินแทน
บุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญาใช้บังคับได้
ข้อตกลงยกที่ดินให้ต่อหน้านายอำเภอ
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
เข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินส.ป.ก.4-01
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สัญญาให้ทรัพย์สินหรือคำมั่นว่าจะให้
สัญญาจะซื้อจะขาย
โอนที่ดินตามใบมอบอำนาจ article