ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ขอคุ้มครองชัวคราวระหว่างพิจารณาคดี

ขอคุ้มครองชัวคราวระหว่างพิจารณาคดี

โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพาราโดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน และจำเลย 9 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยใช้ปลูกต้นยางพารา และใช้ประโยชน์อื่น ต่อมานายชัยสินและนายเกรียงไกรถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายชัยสินและนายเกรียงไกร โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งหมดคืนแก่โจทก์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงมีเหตุสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1366/2553
 
          โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยกล่าวอ้างว่า การทำสวนยางพาราเป็นกิจการอย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา เมื่อต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพารา การที่โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับเป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพารา ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีด้วย เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงมีเหตุสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา 254 (2)

มาตรา 254 ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่น ต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าว ต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย ทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
(2) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำ ต่อไปซึ่ง การละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจ ได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย หรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราว มิให้จำเลยโอนขายยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไป เปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึง ที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(3) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับ การกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลา ที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้

มาตรา 255 ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตาม มาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่ จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (1) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตน ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอน ขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับคาม คำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยหรือเพื่อจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ หรือ
(ข) มีเหตุจำเป็นอื่นใด ตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการ ยุติธรรมและสมควร
(2) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง
(ข) โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการ กระทำของจำเลย
(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมีพฤติการณ์ ว่าจะมีการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ
(ง) มีเหตุตาม (1) (ก) หรือ (ข)
(3) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (3) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) เป็นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนทางทะเบียนการ จดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย หรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือ
(ข) มีเหตุตาม (1) (ข)
(4) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (4) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเพื่อที่จะประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณา คดีหรือการบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ
(ก) จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล
(ข) จำเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอำนาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสาร ใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาหรือทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของ จำเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเป็นที่เกรงว่าจำเลยจะจำหน่าย หรือทำลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ
(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จำเลยประกอบการงานหรือ การค้าของตนว่าจำเลยจะหลีกหนี หรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้ พ้นอำนาจศาล
 
          คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทหลายแปลงเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพารา และประกอบธุรกิจอย่างอื่นของโจทก์ โดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน นายเกรียงไกร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 11 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์รวม 109 แปลง โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยใช้ปลูกต้นยางพารากับให้บุคคลในตระกูลอยู่อาศัยบ้าง ปลูกบ้านพักคนงานหรือใช้เป็นสถานที่ทำงานบ้าง บางแปลงก็ให้บุคคลภายนอกเช่า รวมทั้งปลูกอาคารในที่ดินเพื่อแบ่งขายและให้เช่าบ้าง ต่อมานายชัยสินและนายเกรียงไกรถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายชัยสินและนายเกรียงไกร โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายชัยสินและนายเกรียงไกรกับจำเลยอื่นที่ถือกรรมสิทธิ์และถือสิทธิครอบครองแทนโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งหมดคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดจดทะเบียนโอนที่ดินคืนแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันพิพากษาโดยให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสิบเอ็ด

          จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายชัยสิน นายเกรียงไกร จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 11 นายชัยสิน นายเกรียงไกร จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 11 มิได้ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การจำเลยที่ 4

          ก่อนสืบพยาน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินว่า จำเลยที่ 2 ขายต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีชื่อนายชัยสินถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ แก่นายปรารถนา ต่อมานายปรารถนาให้คนงานเข้าไปตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ คิดเป็นเงิน 1,800,000 บาท และจะเข้าตัดต้นยางพาราที่เหลือประมาณ 40 ไร่ ต่อไป ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้มีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 หรือผู้จัดการมรดกของนายชัยสินและนายปรารถนากับพวกเข้าไปตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 และห้ามเข้าไปกระทำการใด ๆ ในที่ดินทั้งสองแปลงจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง และให้จำเลยที่ 2 กับนายปรารถนาร่วมกันหรือคนใดคนหนึ่งนำเงินค่าไม้ยางพารา 1,800,000 บาท มาวางศาลเพื่อให้ผู้ชนะคดีในที่สุดรับไปจากศาล
          ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 2 ตัดต้นยางพาราที่ปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหาย 200,000 บาท ก่อนออกหมาย คำขออื่นให้ยก
          จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า การทำสวนยางพาราเป็นกิจการอย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา ดังนี้ ต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับเป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดิน ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีด้วย ข้อเท็จจริงได้ความตามทางไต่สวนว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำร้องของโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย”
          พิพากษากลับ ให้บังคับตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 หมายเหตุ
          ประการแรก คำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ จำเลยให้การยกข้อต่อสู้เกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยมิได้ให้การถึงต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยหรือจำเลยใช้สิทธิปลูกในที่ดินพิพาทอย่างไรผลคดีหากศาลฟังว่าที่ดินซี่งเป็นทรัพย์ประธานเป็นของโจทก์หรือจำเลย ฝ่ายนั้นก็ย่อมได้ไปซึ่งต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย คำขอของโจทก์ที่ขอให้นำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้แก่จำเลยโดยห้ามมิให้จำเลยนำคนงานเข้าไปตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทจึงเป็นคำขอให้นำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวมาใช้บังคับเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา โดยมีคำสั่งห้ามจำเลยชั่วคราวให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่า หรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) เช่นเหตุผลที่คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ยกขึ้นอ้าง แต่การจะปรับว่าเป็นการห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทน่าจะไม่ตรงกับรูปเรื่อง เพราะคำขอของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทอันจะมีผลตามกฎหมายให้ต้นยางพาราซึ่งเป็นส่วนควบต้องถูกโอนตกไปกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน

           ประการต่อมา แม้ตามคำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้โจทก์ยื่นคำขอให้นำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวมาใช้บังคับในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 266 ซึ่งมาตรา 266 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอนั้น ให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 267 มาตรา 268 และมาตรา 269 ซึ่งมาตรา 267 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจจากคำแถลงของโจทก์หรือพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่าคดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉินและคำขอนั้นมีเหตุผลสมควรอันแท้จริง ให้ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด และในทางปฏิบัติเพื่อให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน โจทก์ก็ชอบที่จะแถลงไว้ในตอนท้ายของคำขอในเหตุฉุกเฉินว่า โจทก์เตรียมพยานหลักฐานมาให้ศาลทำการไต่สวนเสร็จไม่ทันก็อาจทำการไต่สวนต่อในวันรุ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม การที่ศาลนัดไต่สวนคำขอของโจทก์ภายหลังวันที่โจทก์ยื่นคำขอแล้ว 4 วันต่อมาก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1509/2514) หรือ 6 วันต่อมาและมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 6091/2534) หรือ 8 วันต่อมาก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 4554/2536) แสดงว่าศาลมิได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนตามมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่อาจนำมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ในกรณีถ้าศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอคำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด มาใช้บังคับแก่ผลของคำสั่งดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4554/2536) ดังนั้น การที่ศาลจะได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเพื่อพิจารณาคำขอนั้นเป็นสำคัญว่าได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนหรือไม่นั่นเอง

           คำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของโจทก์ในเหตุฉุกเฉินเป็นการด่วนตามมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ทั้งในคำสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามจำเลยชั่วคราวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการสั่งในกรณีมีเหตุฉุกเฉินด้วย จึงพึงเข้าใจว่า มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอเป็นการด่วน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่พิพากษากลับ ให้ยกคำร้อง อันมีผลเป็นคำสั่งให้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในเหตุฉุกเฉินจึงไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิฎีกา

           ประการสุดท้าย รูปคดีในทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ หากจำเลยเป็นฝ่ายขอนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับแก่โจทก์ ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิขอใช้วิธีการชั่วคราวได้หรือไม่ เช่น โจทก์ซึ่งเป็นราษฎรฟ้องขอให้ห้ามจำเลยซึ่งเป็นรัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ระหว่างพิจารณาโจทก์ได้นำคนงานเข้ามาตัดโค่นไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทจำเลยยื่นคำขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยห้ามมิให้โจทก์ตัดโค่นไม้ยืนต้นที่ปลูกในที่ดินพิพาท
           ได้มี คำพิพากษาฎีกาที่ 7340/2542 วินิจฉัยว่า "ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขายเป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ปี ถึง 5 ปี จึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกออกเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไป หาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ฉะนั้น ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
           จำเลยทั้งสอง (กรมที่ดินกับพวก) ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว"
           อนึ่ง ตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยตอนต้นว่า การขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาตามมาตรา 264 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอระหว่างพิจารณาได้หากเห็นว่าการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี กฎหมายหาได้บัญญัติว่าหากผู้ขอเป็นฝ่ายจำเลยจะต้องฟ้องแย้งแต่อย่างใดไม่     
         
          สมชัย ฑีฆาอุตมากร

 




ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม
บุคคลภายนอกไม่ส่งเงินที่ถูกอายัด
คดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ให้จำเลยเปิดทางพิพาทชั่วคราว
วิธีการชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา
หน้าที่ของผู้อุทธรณ์ในกรณีศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์
คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา
แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน
บันทึกการปิดหมายของเจ้าหน้าที่ศาล
เจ้าพนักงานศาลไม่ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์
ผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง
ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมวด 1 หลักทั่วไป
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องข้ามเขต