ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง

ผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง

ผู้รับมอบอำนาจจากคู่ความแม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ ที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ห้ามว่าความในศาลหรือแต่งฟ้องก็ตาม แต่การแต่งฟ้องไม่ใช่การว่าความในศาล  แต่เป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่ต้องห้ามแต่งฟ้องและลงชื่อแทนคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10323/2551

            ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย เพราะมิใช่การว่าความอย่างทนายความตามมาตรา 60 วรรคสองและ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33

 คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 7,223 บาท พร้อมด้วยเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 6,214 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทน

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ จึงต้องห้ามทำการแต่งฟ้องหรือเรียงคำฟ้องตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 จึงไม่รับคำฟ้อง จำหน่ายคดี คืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์

          โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่นายฉัตรชัยผู้รับมอบอำนาจโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องของโจทก์นั้น เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์มอบอำนาจให้นายฉัตรชัยป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง นายฉัตรชัยในฐานะตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ ดังนั้นนายฉัตรชัยในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การเรียงหรือแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น นายฉัตรชัยซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งคำฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น    

        พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องของโจทก์ ให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ.

( มนตรี ยอดปัญญา - ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ - วีระพล ตั้งสุวรรณ )
ศาลแขวงลพบุรี - นายธงไชย จิรเดชพิทักษ์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
           มาตรา 1(11) คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้อง ต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึง บุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะ ทนายความ
          มาตรา 60 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้
          ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้

พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33
         มาตรา 33 ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น

----ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์ ----        www.peesirilaw.com

 

 




พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 1-ชื่อพระราชบัญญัติ
มาตรา 2 มีผลใช้บังคับ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 4 คำนิยามตามพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 5 อำนาจออกกฎกระทรวง
มาตรา 6 หมวด 1 สภาทนายความ
มาตรา 7 วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ
มาตรา 8 อำนาจหน้าที่ของสภาทนายความ
มาตรา 9 รายได้ของสภาทนายความ
มาตรา 10 สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ
มาตรา 11 สมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 13 การสิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นทนายความ
มาตรา 14 คณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 15 ให้นายกแต่งตั้งกรรมการอื่น
มาตรา 16 วาระการดำรงตำแหน่งของนายกและกรรมการ
มาตรา 17 สิทธิเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 18 การใช้สิทธิเลือกตั้งของทนายความ
มาตรา 19 การเลือกตั้งนายกและกรรมการ
มาตรา 20 คณะกรรมการสอบสวนความผิด
มาตรา 21 นายกหรือกรรมการสภาทนายความพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 22 คณะกรรมการมรรยาททนายความปฏิบัติหน้าที่แทน
มาตรา 23 วาระนายกซึ่งได้รับเลือกตั้งแทน
มาตรา 24 องค์ประชุมของคณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 25 ผู้รักษาการแทนนายกสภาทนายความ
มาตรา 26 สภานายกพิเศษไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา 27 อำนาจหน้าที่กรรมการสภาทนายความ
มาตรา 28 ข้อบังคับสภาทนายความใช้บังคับได้ต่อเมื่อ
มาตรา 29 การเสนอร่างข้อบังคับสภาทนายความ
มาตรา 30 สภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับ
มาตรา 31 สิทธิของทนายความแก้ไขข้อบังคับ
มาตรา 32 นายกกระทำการแทนสภาทนายความ
มาตรา 33 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 34 ขอบอกเลิกจากการเป็นทนายความ
มาตรา 35 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ
มาตรา 36 คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 37 ให้เป็นสมาชิกสภาทนายความได้
มาตรา 38 ต้องผ่านการฝึกอบรมมรรยาททนายความ
มาตรา 39 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี
มาตรา 40 ทนายความที่ขาดต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา 41 รูปแบบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 42 จดแจ้งสำนักงานในทะเบียนทนายความ
มาตรา 43 จำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียน
มาตรา 44 ทนายความขาดจากการเป็นทนายความ
มาตรา 45 การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ
มาตรา 46 ประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา 47 การประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 48 คัดค้านการไม่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 49 องค์ประชุมการประชุมใหญ่
มาตรา 50 รูปแบบการประชุมใหญ่
มาตรา 51 มรรยาททนายความ
มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 53 ข้อบังคับมรรยาททนายความ
มาตรา 54 คณะกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 55 ความเห็นชอบของสภานายกพิเศษเรื่องแต่งตั้งกรรมการ
มาตรา 56 สภานายกพิเศษแจ้งผลการพิจารณาแต่งตั้ง
มาตรา 57 อำนาจหน้าที่ประธานกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 58 วาระกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 59 คณะกรรมการมรรยาททนายความพ้นตำแหน่ง
มาตรา 60 กรรมการมรรยาททนายความพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
มาตรา 61 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 62 อนุกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 63 องค์ประชุมในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 64 สิทธิกล่าวหาทนายผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 65 การสอบสวนมรรยาททนายความ
มาตรา 66 อำนาจสั่งจำหน่ายคดี-สั่งยกคำกล่าวหา-สั่งลงโทษ
มาตรา 67 ส่งสำนวนคดีมรรยาททนายความให้นายก
มาตรา 68 คำสั่งของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
มาตรา 69 คำสั่งลบชื่อหรือไม่ลบชื่อทนายความออก
มาตรา 70 ให้นายทะเบียนทนายความแจ้งคำสั่งให้ศาลทราบ
มาตรา 71 ทนายความถูกลบชื่อห้ามจดทะเบียนใหม่
มาตรา 72 การวินิจฉัยชี้ขาดคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 74 การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 73 กองทุนสวัสดิการทนายความ
มาตรา 75 ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 76 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการช่วยเหลือ
มาตรา 77 กองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 78 ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
มาตรา 79 ขอบเขตการช่วยเหลือทางกฎหมาย
มาตรา 80 หนังสือแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเงินกองทุนช่วยเหลือ
มาตรา 81 การประชุม การรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน
มาตรา 82 ขาดจากการเป็นทนายความว่าความจำคุก 2 ปี
มาตรา 83 ไม่มาให้ถ้อยคำตามหนังสือเรียกจำคุกหนึ่งเดือน
มาตรา 84 ใบอนุญาตเป็นทนายความก่อน พรบ.นี้
มาตรา 85 ให้เนติบัณฑิตยสภาส่งมอบทะเบียนทนายความ
มาตรา 86 การออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ
มาตรา 87 คดีมรรยาททนายความที่ค้างพิจารณาอยู่
มาตรา 88 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ
มาตรา 89 จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ