ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 27 อำนาจหน้าที่กรรมการสภาทนายความ

 

มาตรา 27  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) บริหารกิจการของสภาทนายความตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา 7


(2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาทนายความ เว้นแต่กิจการซึ่งมีลักษณะหรือสภาพที่ไม่อาจมอบหมายให้กระทำการแทนกันได้


(3) ออกข้อบังคับสภาทนายความเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และข้อบังคับว่าด้วย
(ก) การเป็นสมาชิกและการขาดจากสมาชิกของสภาทนายความ
(ข) การเรียกเก็บและชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(ค) การแจ้งย้ายสำนักงานของทนายความ
(ง) การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
(จ) เรื่องอื่น ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาทนายความ หรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาทนายความตามกฎหมายอื่นรวมทั้งการแต่งตั้ง การบังคับบัญชาการรักษาวินัย และการออกจากตำแหน่งของพนักงานสภาทนายความ

 

                                                                                                     ข้อบังคับสภาทนายความ
                                                                                   ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง พ.ศ. 2545

อาศัยอำจาจตาความในมาตรา 27 (3) (ข) แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และความเห็นชอบของสภาทนายกพิเศษแห่งสภาทนายความตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คณะกรรมการสภาทนายความ ออกข้อบังคับว่าด้วยการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไว้ ดังต่อไปนี้

          ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า  "ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ พ.ศ. 2545"

          ข้อ 2. ข้อบังคับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          ข้อ 3. ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ต่าง ๆ พ.ศ. 2534

          ข้อ 4. ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้

           (1) คำขอหนังสือรับรอง                                                                              ฉบับละ    100  บาท
           (2) คำขอบัตรประจำตัวที่สูญหาย หรือชำรุดเสียหาย                               ฉบับละ    100  บาท
           (3)  คำขอใบอนุญาตเป็นทนายความแทนใบอนุญาตที่สูญหาย
           หรือชำรุดเสียหาย                                                                                        ฉบับละ    100  บาท

 

 

                                                     ข้อบังคับสภาทนายความ
                                 ว่าด้วย  การรับเงิน  การจ่ายเงิน  และการเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2542

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (3) (จ)  แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
คณะกรรมการสภาทนายความ  โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วย การเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ดังต่อไปนี้

                        ข้อ  1  ข้อบังคับนี้เรียกว่า  "ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2542"

                        ข้อ  2  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                        ข้อ  3  ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการเก็บรักษาเงิน  และการเบิกจ่ายเงินพ.ศ. 2529  ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

                        ข้อ  4  ในข้อบังคับนี้

                        "นายก"  หมายความว่า  นายกสภาทนายความ

                        "คณะกรรมการ"  หมายความว่า  คณะกรรมการสภาทนายความ

                        "อุปนายก"  หมายความว่า  อุปนายกสภาทนายความ

                        "เลขาธิการ"  หมายความว่า  เลขาธิการสภาทนายความ

                        "เหรัญญิก"  หมายความว่า  เหรัญญิกสภาทนายความ

                        "พนักงาน"  หมายความว่า  บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งในสภาทนายความโดยได้รับเงินเดือนตามอัตราในงบทำการ

                        "เจ้าหน้าที่การเงิน"  หมายความว่า  เหรัญญิก  หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงิน หรือพนักงานบัญชีและการเงิน ที่นายกสภาทนายความกำหนด

                                                                ส่วนที่  1

                                                               การรับเงิน                                                     

                        ข้อ  5  การรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล  ให้ปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง

                        ข้อ  6  ให้เจ้าหน้าที่การเงินเป็นเจ้าหน้าที่ในการรับเงิน

                        ข้อ  7  เมื่อได้รับเงินอื่นใดนอกเหนือจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล  ให้เจ้าหน้าที่การเงินมีหน้าที่ในการรับเงิน  ออกใบเสร็จรับเงินมอบให้ผู้ชำระเงินทุกครั้ง  ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบที่เหรัญญิกกำหนด  แต่อย่างน้อยต้องมีหมายเลขกำกับเล่มและหมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงินเรียงกันไปทุกฉบับ  และใบเสร็จรับเงินแต่ละฉบับอย่างน้อยต้องมีต้นฉบับและสำเนา  โดยมอบต้นฉบับให้ผู้ชำระเงินและเก็บสำเนาไว้ในเล่ม 1 ใบ

                        ข้อ  8  ในการออกใบเสร็จรับเงินให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงิน  หรือผู้ทำการแทน และเจ้าหน้าที่การเงินอื่น หรือพนักงานซึ่งเหรัญญิกมอบหมาย  ลงนามในใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง

                        ข้อ  9  ให้ฝ่ายบัญชีและการเงินจัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อให้ทราบและตรวจสอบได้ว่า  ได้จัดพิมพ์ขึ้นจำนวนเท่าใด  ได้จ่ายใบเสร็จรับเงินเล่มใดหมายเลขใดถึง
หมายเลขใด ให้หน่วยงานใด หรือเจ้าหน้าที่ผู้ใดไปดำเนินการจัดเก็บเงินเมื่อวัน เดือน ปีใด และให้มีหลักฐานการรับส่งใบเสร็จรับเงินนั้นไว้ด้วย

                        ข้อ  10  ใบเสร็จรับเงิน  ห้ามขูดลบ  แก้ไข  เพิ่มเติมจำนวนเงินหรือชื่อผู้ชำระเงิน หากใบเสร็จรับเงินฉบับใดลงรายการรับเงินผิดพลาด  ก็ให้ขีดฆ่าจำนวนเงินและเขียนใหม่ทั้งจำนวนแล้วให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับการขีดฆ่านั้นไว้ด้วย  หรือขีดฆ่าเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินนั้นทั้งฉบับโดยออกฉบับใหม่  ใบเสร็จรับเงินที่ขีดฆ่าเลิกใช้นั้นให้ติดไว้กับสำเนาใบเสร็จรับเงินในเล่ม

                        ข้อ  11  ให้ฝ่ายบัญชีและการเงิน รับผิดชอบเก็บรักษาสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประจำเขตยังมิได้ตรวจสอบไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหายและเมื่อได้ตรวจสอบแล้ว  ก็ให้เก็บอย่างเอกสารธรรมดาได้

                        ข้อ  12  การรับเงินให้รับเป็นตัวเงินสด ธนาณัติ เช็คไปรษณีย์ และเช็คที่เชื่อถือได้ สำหรับการรับเช็คให้ถือหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

                        12.1  ต้องเป็นเช็คที่สั่งจ่ายโดยผู้ชำระเงิน หรือเป็นเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ถ้าเป็นเช็คที่สั่งจ่ายโดยบุคคลอื่นต้องมีลายมื่อชื่อของผู้ชำระเงินสลักหลังเช็คนั้นด้วย

                        12.2  ต้องเป็นเช็คที่ลงวันที่เดียวกับวันชำระเงิน  หรือก่อนวันชำระเงินไม่เกิน 30 วัน

                        12.3  ถ้าเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า  ให้รับไว้เฉพาะเป็นการส่งมอบเช็คให้ก่อนวันถึงกำหนดชำระหนี้  และวันที่ที่ลงในเช็คต้องไม่ช้ากว่าวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระ  ในกรณีเช่นนั้นให้ออกใบรับเช็คไว้เป็นหลักฐาน  และให้ออกใบเสร็จรับเงินให้เมื่อถึงวันที่ที่ระบุในเช็คนั้น

                        12.4  ต้องเป็นเช็คของธนาคารที่มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานครถ้าเป็นเช็คของธนาคารที่มีสำนักงานอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครให้รับได้เฉพาะที่ผู้ชำระเงิน
เป็นทนายความและเป็นผู้สั่งจ่าย  และยินยอมจ่ายค่าธรรมเนียมขึ้นเงินของธนาคารให้สภาทนายความล่วงหน้าในวันที่ชำระเงินนั้น

                        ข้อ  13  เมื่อได้รับเช็คจากผู้ใดแล้ว  ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้  ให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินแจ้งให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจ่ายเงินสดทันที  แล้วรายงานให้เหรัญญิกทราบ  แล้วห้ามมิให้รับเช็คจากผู้ชำระเงินรายนั้นอีกจนกว่าผู้นั้นจะได้ชำระเงินที่ถึงกำหนดชำระดังกล่าวครบถ้วนแล้ว  ทั้งนี้เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากนายก อุปนายก เลขาธิการหรือเหรัญญิก เป็นกรณีๆ ไป

                        ในกรณีที่ผู้ชำระเงินไม่จ่ายเงินสดตามวรรคหนึ่ง  ให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินเสนอเลขาธิการ  เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

                        ในกรณีที่เห็นสมควรให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงิน  โดยความเห็นชอบของเลขาธิการหรือเหรัญญิก จะสั่งไม่ให้รับเช็คจากบุคคลใดเป็นการเฉพาะหรือเป็นการทั่วไปก็ได้

                        ข้อ  14  การรับเช็คที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นให้กระทำได้โดยอนุมัติของนายก  อุปนายก เลขาธิการ หรือเหรัญญิก

                        ข้อ  15  การไปรับเงิน ณ สถานที่จ่ายเงินของผู้ชำระเงินให้มีทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินที่นำไปเก็บเงิน  และให้พนักงานเก็บเงินลงชื่อรับใบเสร็จรับเงินที่จะนำไปเก็บในทะเบียนคุมดังกล่าว  เมื่อเก็บเงินได้แล้ว  ให้นำส่งฝ่ายบัญชีและการเงินภายในวันเดียวกันแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินลงชื่อในใบเสร็จรับเงินทุกฉบับที่พนักงานเก็บเงินส่ง ใบเสร็จรับเงินเล่มใดที่พนักงานเก็บเงินใช้หมดแล้ว  ต้องส่งคืนฝ่ายบัญชีและการเก็บเงินเป็นหลักฐานต่อไป

                        ข้อ  16  ให้เจ้าหน้าที่การเงินมีหน้าที่ติดตามเร่งรัดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และให้เป็นหน้าที่ของพนักงานและลูกจ้างทุกคนในอันที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อเร่งรัดติดตามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้

                        ข้อ  17  เจ้าหน้าที่การเงินที่รับเงินและรักษาเงินต้องรับผิดชอบจำนวนเงินหรือเอกสารแทนตัวเงินอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน

                        ข้อ  18  เงินรายรับที่รับไว้ประจำวันจะนำไปใช้จ่ายไม่ได้  และให้นำฝากธนาคารตามข้อ 32

                                                             ส่วนที่  2

                                                            การจ่ายเงิน                                                

                        ข้อ  19  การจ่ายเงินให้จ่ายได้เฉพาะเพื่อกิจการ และภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

                        ข้อ  20  นายเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินคราวหนึ่งไม่เกิน 50,000 บาท อุปนายกไม่เกิน 40,000 บาท เลขาธิการไม่เกิน 30,000 บาท และเหรัญญิกไม่เกิน 20,000 บาท  ถ้าเป็นการจ่ายเงินคราวหนึ่งเกิน 50,000 บาทขึ้นไป  ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการสั่งจ่ายเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าล่วงเวลา หรือเงินอื่นใดที่ต้องจ่ายให้พนักงานหรือลูกจ้างพร้อมกับการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างตามปกติ  ซึ่งเหรัญญิกมีอำนาจสั่งจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง  หรือเป็นกรณีการเบิกจ่ายตามมติที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

                        ข้อ  21  เลขาธิการหรือเหรัญญิกอาจมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้พนักงาน  ซึ่งดำรงตำแหน่งใดก็ได้ให้สั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสภาทนายความ  ทั้งนี้ในการมอบหมายให้คำนึงถึงระดับ  ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ

                        ข้อ  22  ก่อนจ่ายเงินให้เรียกใบเสร็จรับเงินที่เซ็นชื่อรับเงินแล้ว  หรือให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อแสดงการรับเงินในเอกสารการรับเงิน  และเรียกเก็บใบสำคัญจ่ายไว้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินทุกราย สำหรับการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าแรงงาน เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา ค่าพาหนะ ต้องมีเอกสารแสดงการรับเงินไว้เป็นหลักฐาน

                        ข้อ  23  กำหนดการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน หรือเงินอื่นใดให้เป็นไปตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด

                        ข้อ  24  การจ่ายเงินต้องจ่ายให้ผู้มีสิทธิรับเงิน โดยให้แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวหรือหลักฐานที่เชื่อถือมาแสดงประกอบการขอรับเงิน

                        ข้อ  25  การจ่ายเงินแต่ละครั้งถ้าไม่เกิน 5,000 บาท จะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้  แต่ถ้าเกิน5,000 บาท  ให้จ่ายเป็นเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน  และขีดคร่อมเช็คนั้นด้วย   ทั้งนี้  เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ หรือเหรัญญิก เป็นอย่างอื่น

                        ข้อ  26  การออกเช็คสั่งจ่ายเงินในกิจการของสภาทนายความนั้น  ให้นายก อุปนายกเลขาธิการ หรือเหรัญญิก ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองท่าน

                        ข้อ  27  การนำเงินไปฝากหรือส่งธนาคารหรือไปจ่าย ณ สถานที่แห่งอื่นนอกจากบริเวณที่ประจำทำงาน  ถ้าเงินที่นำไปคราวหนึ่งเป็นตัวเงินสด  หรือเช็คเงินสดเกินกว่า 5,000 บาท  ให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินแต่งตั้งพนักงานบัญชีและการเงินคนหนึ่ง  กับพนักงานระดับหัวหน้าฝ่ายขึ้นไปอีกคนหนึ่งร่วมเป็นกรรมการรับผิดชอบ

                        ข้อ  28  กรรมการแต่ละคนดังกล่าวตามข้อ 27  มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในจำนวนเงินที่นำไปส่งหรือไปจ่าย

                        ข้อ  29  การจ่ายเงินรายใดที่จะต้องมีการหักภาษี  ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร พนักงาน

บัญชีและการเงินมีหน้าที่หักค่าภาษีและนำส่งภาษีให้เป็นไปตามกฎหมาย

                        ข้อ  30  เมื่อการรับและจ่ายเงินประจำวันสิ้นสุดลงแล้ว  ให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินรวบรวมการรับเงินประจำวัน และใบสำคัญจ่ายเงินประจำวันลงบัญชี  และทำรายงานการเงินประจำวันเสนอหัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงิน  เพื่อเสนอเลขาธิการวันทำการถัดไป

                        ข้อ  31  ให้ฝ่ายบัญชีและการเงินรวบรวมใบสำคัญจ่ายและเอกสารในการลงบัญชี และให้ทำรายงานแสดงรายได้ รายจ่าย ประจำเดือนเสนอเลขาธิการ ไม่เกินวันที่ 25 ของเดือนถัดไปและต้องจัดทำงบดุลเพียงวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป  โดยผู้สอบบัญชีจักต้องรับรองงบดุลเพื่อนำเสนอที่ประชุมใหญ่แต่ละปี

                                                              ส่วนที่  3

                                                          การเก็บรักษา                                            

                        ข้อ  32  ให้เก็บเงินไว้ในที่ทำการได้ไม่เกิน 5,000 บาท  ส่วนเงินรายรับให้นำฝากธนาคารทั้งหมด  ถ้าฝากไม่ทันในวันนั้นให้นำฝากในวันทำการถัดไป  และให้รายงานความล่าช้าต่อเหรัญญิกทันที

                        ข้อ  33  ให้เก็บเงินและสมุดเช็คไว้ที่สำนักงานในตู้นิรภัยหรือที่เก็บเงินที่มั่นคง แข็งแรงสามารถทนไฟและยากแก่การทำลาย  ห้ามเก็บกุญแจตู้นิรภัยหรือที่เก็บเงินนั้นไว้นอกสำนักงานหรือในลิ้นชักโต๊ะเป็นอันขาด

                        ข้อ  34  สมุดบัญชี เอกสาร หลักฐานการเงิน เช่น ใบสำคัญ ใบยืม ฯลฯ ให้เก็บรักษาไว้ในตู้หรือสถานที่เก็บอันมั่นคงแข็งแรง

                        ข้อ  35  ให้มีคณะกรรมการรักษาเงินคณะหนึ่งประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินเป็นกรรมการและพนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าฝ่ายขึ้นไป  ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งอีกสองคนเป็นกรรมการ  ให้คณะกรรมการรักษาเงินมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน  ในการเก็บรักษาเงินที่เก็บรักษาไว้  ณ สำนักงานสภาทนายความ และให้คณะกรรมการมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งเป็นผู้ถือกุญแจสำหรับเปิด - ปิดตู้นิรภัย หรือที่เก็บเงิน

                        ข้อ  36  คณะกรรมการรักษาเงินดังกล่าวตามข้อ 35 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
                        36.1  ตรวจนับจำนวนเงินสดคงเหลือ  สอบยันกับยอดเงินคงเหลือประจำวันในสมุดคุมตัวเงินประจำวันให้ถูกต้องตรงกัน  และลงนามรับรองไว้ด้วย
                        36.2  ต้องระมัดระวังมิให้ลูกกุญแจอันอยู่ในความคุ้มครองรักษาสูญหายไปด้วยความประมาทเลินเล่อ  ต้องเก็บกุญแจไว้ในที่ปลอดภัย มิให้ผู้ใดลักลอบนำไปพิมพ์แบบลูกกุญแจได้
                        36.3  ในกรณีที่ลูกกุญแจสูญหาย  หรือลูกกุญแจเกิดขัดข้องหรือตรวจพบข้อบกพร่อง  กรรมการเก็บรักษาเงินผู้ถือกุญแจต้องรายงานให้เลขาธิการหรือเหรัญญิกทราบทันที
                        36.4  การนำเงินออกจ่ายหรือนำเข้าเก็บต้องกระทำและรู้เห็นร่วมกันในระหว่างกรรมการเก็บรักษาเงิน  และต้องลงชื่อรับทราบต่อจำนวนเงินคงเหลือในรายงานการเก็บเงิน
ร่วมกัน
                        36.5  กรรมการเก็บรักษาเงิน  ต้องไขกุญแจปิด - เปิดตู้นิรภัยหรือที่เก็บเงินด้วยตนเองในกรณีที่ไม่สามารถจะปฏิบัติงานได้  ให้เลขาธิการ หรือเหรัญญิกสั่งแต่งตั้งบุคคลอื่น
เป็นครั้งคราวตามความจำเป็นแก่กรณี
                        36.6  กำหนดเวลาปิด - เปิดตู้นิรภัยหรือที่เก็บเงินให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการเก็บรักษาเงินกำหนดด้วยความเห็นชอบของเหรัญญิก
                        ข้อ  37  ให้นายกสภาทนายความรักษาการตามข้อบังคับนี้  และให้มีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งใดๆ เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้

                                                            สั่ง  ณ  วันที่  31  สิงหาคม  พ.ศ. 2542

                                                                              สัก  กอแสงเรือง

                                                                         นายกสภาทนายความ

 

                                                                         ข้อบังคับสภาทนายความ
                                   ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (3) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คณะกรรมการสภาทนายความได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1  ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3  การขอขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ให้ยื่นคำขอตามแบบที่สภาทนายความกำหนด โดยผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้

ข้อ 4  การขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
(2) ผ่านการอบรมหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่สภาทนายความกำหนด
(3) ไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามมาตรา 52 (2)
(4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต

ข้อ 5  เมื่อได้รับคำขอขึ้นทะเบียนแล้ว หากผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติถูกต้องตามข้อ 4 ให้สภาทนายความรับขึ้นทะเบียนและออกหนังสือรับรองพร้อมหมายเลขทะเบียนและตราประทับให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว

ในกรณีที่สภาทนายความไม่รับขึ้นทะเบียนให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ต้องแสดงเหตุผลของการไม่รับขึ้นทะเบียนโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิ์อุทธรณ์การไม่รับขึ้นทะเบียนต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความภายในกำหนด 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนจากสภาทนายความ คำสั่งของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความให้เป็นที่สุด

ข้อ 6  หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออก การต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอตามแบบที่สภาทนายความกำหนด โดยผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้

ภายใต้บังคับข้อ 4 ทนายความที่ประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ

ข้อ 7  ในกรณีที่หนังสือรับรอง หรือตราประทับสูญหาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้ทนายความยื่นคำขอรับใบแทนหรือตราประทับแทนตามแบบที่สภาทนายความกำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ ให้ชำระค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้

ข้อ 8  ทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียนจากที่แจ้งไว้เดิม จะต้องยื่นคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามแบบที่สภาทนายความกำหนดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้ชำระค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้

ข้อ 9  หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนและตราประทับให้เป็นไปตามที่สภาทนายความกำหนด

ข้อ 10  ให้สภาทนายความมีคำสั่งให้ทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพ้นจากการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 4
(2) ขาดต่ออายุหนังสือรับรอง
(3) ทำการรับรองลายมือชื่อและเอกสารหรือคำรับรองใดอันเป็นเท็จ

ข้อ 11  ทนายความที่พ้นจากการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามข้อ 10 มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งของสภาทนายความต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความภายในกำหนด 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากสภาทนายความ คำสั่งของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความให้เป็นที่สุด

ข้อ 12  ให้สภาทนายความกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้
 
ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เดชอุดม  ไกรฤทธิ์
นายกสภาทนายความ


 




พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 1-ชื่อพระราชบัญญัติ
มาตรา 2 มีผลใช้บังคับ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 4 คำนิยามตามพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 5 อำนาจออกกฎกระทรวง
มาตรา 6 หมวด 1 สภาทนายความ
มาตรา 7 วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ
มาตรา 8 อำนาจหน้าที่ของสภาทนายความ
มาตรา 9 รายได้ของสภาทนายความ
มาตรา 10 สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ
มาตรา 11 สมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 13 การสิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นทนายความ
มาตรา 14 คณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 15 ให้นายกแต่งตั้งกรรมการอื่น
มาตรา 16 วาระการดำรงตำแหน่งของนายกและกรรมการ
มาตรา 17 สิทธิเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 18 การใช้สิทธิเลือกตั้งของทนายความ
มาตรา 19 การเลือกตั้งนายกและกรรมการ
มาตรา 20 คณะกรรมการสอบสวนความผิด
มาตรา 21 นายกหรือกรรมการสภาทนายความพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 22 คณะกรรมการมรรยาททนายความปฏิบัติหน้าที่แทน
มาตรา 23 วาระนายกซึ่งได้รับเลือกตั้งแทน
มาตรา 24 องค์ประชุมของคณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 25 ผู้รักษาการแทนนายกสภาทนายความ
มาตรา 26 สภานายกพิเศษไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา 28 ข้อบังคับสภาทนายความใช้บังคับได้ต่อเมื่อ
มาตรา 29 การเสนอร่างข้อบังคับสภาทนายความ
มาตรา 30 สภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับ
มาตรา 31 สิทธิของทนายความแก้ไขข้อบังคับ
มาตรา 32 นายกกระทำการแทนสภาทนายความ
มาตรา 33 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 34 ขอบอกเลิกจากการเป็นทนายความ
มาตรา 35 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ
มาตรา 36 คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 37 ให้เป็นสมาชิกสภาทนายความได้
มาตรา 38 ต้องผ่านการฝึกอบรมมรรยาททนายความ
มาตรา 39 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี
มาตรา 40 ทนายความที่ขาดต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา 41 รูปแบบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 42 จดแจ้งสำนักงานในทะเบียนทนายความ
มาตรา 43 จำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียน
มาตรา 44 ทนายความขาดจากการเป็นทนายความ
มาตรา 45 การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ
มาตรา 46 ประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา 47 การประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 48 คัดค้านการไม่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 49 องค์ประชุมการประชุมใหญ่
มาตรา 50 รูปแบบการประชุมใหญ่
มาตรา 51 มรรยาททนายความ
มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 53 ข้อบังคับมรรยาททนายความ
มาตรา 54 คณะกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 55 ความเห็นชอบของสภานายกพิเศษเรื่องแต่งตั้งกรรมการ
มาตรา 56 สภานายกพิเศษแจ้งผลการพิจารณาแต่งตั้ง
มาตรา 57 อำนาจหน้าที่ประธานกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 58 วาระกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 59 คณะกรรมการมรรยาททนายความพ้นตำแหน่ง
มาตรา 60 กรรมการมรรยาททนายความพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
มาตรา 61 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 62 อนุกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 63 องค์ประชุมในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 64 สิทธิกล่าวหาทนายผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 65 การสอบสวนมรรยาททนายความ
มาตรา 66 อำนาจสั่งจำหน่ายคดี-สั่งยกคำกล่าวหา-สั่งลงโทษ
มาตรา 67 ส่งสำนวนคดีมรรยาททนายความให้นายก
มาตรา 68 คำสั่งของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
มาตรา 69 คำสั่งลบชื่อหรือไม่ลบชื่อทนายความออก
มาตรา 70 ให้นายทะเบียนทนายความแจ้งคำสั่งให้ศาลทราบ
มาตรา 71 ทนายความถูกลบชื่อห้ามจดทะเบียนใหม่
มาตรา 72 การวินิจฉัยชี้ขาดคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 74 การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 73 กองทุนสวัสดิการทนายความ
มาตรา 75 ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 76 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการช่วยเหลือ
มาตรา 77 กองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 78 ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
มาตรา 79 ขอบเขตการช่วยเหลือทางกฎหมาย
มาตรา 80 หนังสือแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเงินกองทุนช่วยเหลือ
มาตรา 81 การประชุม การรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน
มาตรา 82 ขาดจากการเป็นทนายความว่าความจำคุก 2 ปี
มาตรา 83 ไม่มาให้ถ้อยคำตามหนังสือเรียกจำคุกหนึ่งเดือน
มาตรา 84 ใบอนุญาตเป็นทนายความก่อน พรบ.นี้
มาตรา 85 ให้เนติบัณฑิตยสภาส่งมอบทะเบียนทนายความ
มาตรา 86 การออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ
มาตรา 87 คดีมรรยาททนายความที่ค้างพิจารณาอยู่
มาตรา 88 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ
มาตรา 89 จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ
ผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง