ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 33 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

หมวด 4

การขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

มาตรา 33  ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น  ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528)

ออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                        ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
                        `เลขาธิการ' หมายความว่า เลขาธิการสภาทนายความ

                        `นายทะเบียน' หมายความว่า นายทะเบียนสภาทนายความ

                        `กรรมการสภาทนายความประจำภาค' หมายความว่า กรรมการสภาทนายความซึ่งมีสำนักงานประจำอยู่ตามภาคต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอธิบดีผู้พิพากษาภาค

                        ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ท.1 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                        คำขอตามวรรคหนึ่งต้องมีทนายความอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตมาแล้วเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี ลงลายมือชื่อรับรองว่า ผู้ยื่นคำขอไม่เป็น

ผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต

                        ข้อ 3 เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ 2 ให้เลขาธิการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วดำเนินการประกาศชื่อ ถิ่นที่อยู่และอาชีพของผู้ยื่นคำขอไว้ ณ สำนักงานสภาทนายความ สำนักงานเนติบัณฑิตยสภา และศาลในท้องถิ่นซึ่งผู้ยื่นคำขอมีถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้โอกาสบุคคลอื่นยื่นคำคัดค้าน

                        เมื่อได้ประกาศครบกำหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เลขาธิการเสนอคำขอพร้อมด้วยคำคัดค้าน ถ้ามี ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณารับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตต่อไป

                        ข้อ 4 เมื่อคณะกรรมการมีมติรับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใด ให้เลขาธิการดำเนินการออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี หรือใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพ แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว

                        ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติไม่รับจดทะเบียนและไม่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใด ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งมติไม่รับจดทะเบียนและไม่ออกใบอนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลไปให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว

                        ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในข้อบังคับ

                        ข้อ 5 ทนายความผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปีผู้ใดประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไป ให้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ท.2 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                        สำหรับการขอต่ออายุใบอนุญาตภายหลังใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 40 ผู้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้นเมื่อยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง

                        ข้อ 6 ทนายความผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปีผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพก่อนใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปีดังกล่าวสิ้นอายุพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ท.3 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                        ข้อ 7 ทนายความผู้ได้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาตพร้อมให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ท.4 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                        ข้อ 8 เมื่อได้รับคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ 5 คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพตามข้อ 6 หรือคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามข้อ 7 ให้นายทะเบียนหรือกรรมการสภาทนายความประจำภาค แล้วแต่กรณี ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นคำขอ

                        ใบรับตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบ ท.5 ท้ายกฎกระทรวงนี้และให้ใช้ใบรับดังกล่าวเสมือนเป็นใบอนุญาตได้จนกว่าการดำเนินการเกี่ยวกับคำขอตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี จะเป็นที่สุด

                        เมื่อออกใบรับตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กรรมการสภาทนายความประจำภาคส่งคำขอตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการต่อไป

                        ข้อ 9 เมื่อได้รับคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วดำเนินการดังต่อไปนี้

                        (1) ในกรณีเป็นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ 5 หรือคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพตามข้อ 6 ให้นายทะเบียนเสนอคำขอดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณา
                        (2) ในกรณีเป็นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามข้อ 7 ให้นายทะเบียนพิจารณาออกใบแทนใบอนุญาต และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

                        ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้ตามแบบใบอนุญาต โดยมีคำว่า `ใบแทน' กำกับไว้ที่มุมบนด้านขวา และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้ออกใบแทน

                        ข้อ 10 เมื่อคณะกรรมการมีมติอนุญาตคำขอตามข้อ 5 ให้นายทะเบียนจดแจ้งการต่ออายุใบอนุญาตไว้ในใบอนุญาตฉบับเดิม และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

                        ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติไม่อนุญาต ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งมติของคณะกรรมการพร้อมด้วยเหตุผลไปให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

                        ข้อ 11 เมื่อคณะกรรมการมีมติอนุญาตคำขอตามข้อ 6 ให้เลขาธิการดำเนินการออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว

                        ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติไม่อนุญาตให้นำความในข้อ 10 วรรคสอง มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

                        ข้อ 12 ทนายความผู้ใดประสงค์จะเลิกจากการเป็นทนายความให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อเลขาธิการและให้เลขาธิการประกาศให้ทราบ ณ สำนักงานสภาทนายความ โดยเร็ว ในการนี้ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นขาดจากการเป็นทนายความในวันที่เลขาธิการประกาศให้ทราบ

                        ข้อ 13 ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนทนายความและรับผิดชอบในการจดแจ้งการรับจดทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการขาดจากการเป็นทนายความในทะเบียนทนายความ

                        ข้อ 14 คำขอใดต้องเสียค่าธรรมเนียม ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียม เมื่อยื่นคำขอนั้น ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตตามคำขอให้ได้รับค่าธรรมเนียมดังกล่าวคืน

                        ข้อ 15 สำหรับผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งหรือชั้นสองอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ใช้บังคับ ซึ่งใบอนุญาตมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2528 หากประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ โดยปฏิบัติดังนี้

                        (1) ในกรณีที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี ให้ยื่นคำขอโดยอนุโลมใช้แบบ ท.2 ท้ายกฎกระทรวงนี้
                        (2) ในกรณีที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพ ให้ยื่นคำขอโดยอนุโลมใช้แบบ ท.3 ท้ายกฎกระทรวงนี้

                        ให้นำความในข้อ 4 วรรคหนึ่ง ข้อ 5 วรรคสอง ข้อ 8 ข้อ 9 (1) และข้อ 10 วรรคสอง มาใช้บังคับกับการขอต่ออายุใบอนุญาตวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

                        ข้อ 16 การขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ 5 หรือข้อ 15 การขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพตามข้อ 6 หรือการขอรับใบแทนใบอนุญาตตามข้อ 7 รวมตลอดถึงการรับใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ผู้ยื่นคำขออาจมีหนังสือมอบหมายให้บุคคลอื่น ยื่นคำขอหรือรับใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตแทนก็ได้

                        ข้อ 17 การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
                        (1) คำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตตามข้อ 2 ให้ยื่น ณ สำนักงานสภาทนายความ
                        (2) คำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ 5 หรือข้อ 15 คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพตามข้อ 6 หรือคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามข้อ 7 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสภาทนายความ ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสภาทนายความประจำภาคที่ผู้ยื่นคำขอมีสำนักงานที่จดทะเบียนอยู่ในเขตหรือ ณ สำนักงานสภาทนายความ

                                                                      ให้ไว้ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528
                                                                               พิภพ อะสีติรัตน์
                                                                            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

 

 

 

                                                                                 กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535)

                                                              ออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                        ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวง (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528

                        ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

                        (1) การจดทะเบียนเป็นทนายความ                                                         800 บาท

                        (2) การรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพ                ฉบับละ 4,000 บาท

                        (3) การรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี                      ฉบับละ     800 บาท

                        (4) การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความ                        ฉบับละ     800 บาท

                        (5) การออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นทนายความ                ฉบับละ     100 บาท

 

                                                            ให้ไว้ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2535

                                                                             วิเชียร  วัฒนคุณ

                                                                            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

 

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเป็นทนายความ การรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้


 




พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 1-ชื่อพระราชบัญญัติ
มาตรา 2 มีผลใช้บังคับ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 4 คำนิยามตามพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 5 อำนาจออกกฎกระทรวง
มาตรา 6 หมวด 1 สภาทนายความ
มาตรา 7 วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ
มาตรา 8 อำนาจหน้าที่ของสภาทนายความ
มาตรา 9 รายได้ของสภาทนายความ
มาตรา 10 สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ
มาตรา 11 สมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 13 การสิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นทนายความ
มาตรา 14 คณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 15 ให้นายกแต่งตั้งกรรมการอื่น
มาตรา 16 วาระการดำรงตำแหน่งของนายกและกรรมการ
มาตรา 17 สิทธิเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 18 การใช้สิทธิเลือกตั้งของทนายความ
มาตรา 19 การเลือกตั้งนายกและกรรมการ
มาตรา 20 คณะกรรมการสอบสวนความผิด
มาตรา 21 นายกหรือกรรมการสภาทนายความพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 22 คณะกรรมการมรรยาททนายความปฏิบัติหน้าที่แทน
มาตรา 23 วาระนายกซึ่งได้รับเลือกตั้งแทน
มาตรา 24 องค์ประชุมของคณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 25 ผู้รักษาการแทนนายกสภาทนายความ
มาตรา 26 สภานายกพิเศษไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา 27 อำนาจหน้าที่กรรมการสภาทนายความ
มาตรา 28 ข้อบังคับสภาทนายความใช้บังคับได้ต่อเมื่อ
มาตรา 29 การเสนอร่างข้อบังคับสภาทนายความ
มาตรา 30 สภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับ
มาตรา 31 สิทธิของทนายความแก้ไขข้อบังคับ
มาตรา 32 นายกกระทำการแทนสภาทนายความ
มาตรา 34 ขอบอกเลิกจากการเป็นทนายความ
มาตรา 35 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ
มาตรา 36 คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 37 ให้เป็นสมาชิกสภาทนายความได้
มาตรา 38 ต้องผ่านการฝึกอบรมมรรยาททนายความ
มาตรา 39 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี
มาตรา 40 ทนายความที่ขาดต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา 41 รูปแบบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 42 จดแจ้งสำนักงานในทะเบียนทนายความ
มาตรา 43 จำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียน
มาตรา 44 ทนายความขาดจากการเป็นทนายความ
มาตรา 45 การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ
มาตรา 46 ประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา 47 การประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 48 คัดค้านการไม่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 49 องค์ประชุมการประชุมใหญ่
มาตรา 50 รูปแบบการประชุมใหญ่
มาตรา 51 มรรยาททนายความ
มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 53 ข้อบังคับมรรยาททนายความ
มาตรา 54 คณะกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 55 ความเห็นชอบของสภานายกพิเศษเรื่องแต่งตั้งกรรมการ
มาตรา 56 สภานายกพิเศษแจ้งผลการพิจารณาแต่งตั้ง
มาตรา 57 อำนาจหน้าที่ประธานกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 58 วาระกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 59 คณะกรรมการมรรยาททนายความพ้นตำแหน่ง
มาตรา 60 กรรมการมรรยาททนายความพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
มาตรา 61 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 62 อนุกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 63 องค์ประชุมในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 64 สิทธิกล่าวหาทนายผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 65 การสอบสวนมรรยาททนายความ
มาตรา 66 อำนาจสั่งจำหน่ายคดี-สั่งยกคำกล่าวหา-สั่งลงโทษ
มาตรา 67 ส่งสำนวนคดีมรรยาททนายความให้นายก
มาตรา 68 คำสั่งของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
มาตรา 69 คำสั่งลบชื่อหรือไม่ลบชื่อทนายความออก
มาตรา 70 ให้นายทะเบียนทนายความแจ้งคำสั่งให้ศาลทราบ
มาตรา 71 ทนายความถูกลบชื่อห้ามจดทะเบียนใหม่
มาตรา 72 การวินิจฉัยชี้ขาดคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 74 การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 73 กองทุนสวัสดิการทนายความ
มาตรา 75 ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 76 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการช่วยเหลือ
มาตรา 77 กองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 78 ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
มาตรา 79 ขอบเขตการช่วยเหลือทางกฎหมาย
มาตรา 80 หนังสือแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเงินกองทุนช่วยเหลือ
มาตรา 81 การประชุม การรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน
มาตรา 82 ขาดจากการเป็นทนายความว่าความจำคุก 2 ปี
มาตรา 83 ไม่มาให้ถ้อยคำตามหนังสือเรียกจำคุกหนึ่งเดือน
มาตรา 84 ใบอนุญาตเป็นทนายความก่อน พรบ.นี้
มาตรา 85 ให้เนติบัณฑิตยสภาส่งมอบทะเบียนทนายความ
มาตรา 86 การออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ
มาตรา 87 คดีมรรยาททนายความที่ค้างพิจารณาอยู่
มาตรา 88 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ
มาตรา 89 จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ
ผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง