ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 73 กองทุนสวัสดิการทนายความ

 

 

หมวด 8

กองทุนสวัสดิการทนายความ         

มาตรา 73  ให้มีกองทุนสวัสดิการทนายความ ประกอบด้วย

(1) เงินที่สภาทนายความจัดสรรให้เป็นประจำปี

(2) ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ และ

(3) ดอกผลของ (1) และ (2)

ทนายความที่ได้รับความเดือดร้อนหรือทายาทของทนายความที่ถึงแก่ความตายซึ่งได้รับความเดือดร้อน มีสิทธิขอรับการสงเคราะห์จากเงินกองทุนสวัสดิการทนายความโดยยื่นคำขอต่อสวัสดิการสภาทนายความ

การสงเคราะห์ การเก็บรักษา และการจ่ายเงินสวัสดิการทนายความให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ

 

                                                                ข้อบังคับสภาทนายความ
                                     ว่าด้วยกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ทนายความ พ.ศ. 2544                  

โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ของทนายความขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้บุตรและธิดาของทนายความที่ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง ทุพพลภาพ หรือถึงแก่กรรม เพื่อให้ได้มีค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อไปได้ตามสมควร

อาศัยอำนาจความในมาตรา 27 (3) มาตรา 73 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คณะกรรมการสภาทนายความ ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ของทนายความไว้ ดังต่อไปนี้

หมวด 1
ข้อความทั่วไป
                   
ข้อ 1  ให้จัดตั้งกองทุนชื่อว่า “กองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ของทนายความ” ใช้ชื่อโดยย่อว่า “กศบท.”

ข้อ 2  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3  ในข้อบังคับนี้

“ทนายความ” หมายความว่า ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินกิจการของกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ของทนายความ

“เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ของทนายความที่สภาทนายความจัดสรรให้ตามข้อบังคับฉบับนี้ และให้หมายความรวมถึงเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้รวมถึงผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น

“เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือ สงเคราะห์บุตร ธิดา ของทนายความภายในกรอบวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับฉบับนี้

ข้อ 4  ให้สำนักงาน กศบท. ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการของสภาทนายความ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  และให้เปิดทำการในวันเวลาราชการ เว้นแต่ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นเป็นการสมควรเพื่อความสะดวกแก่การบริหารจัดการ อาจกำหนดเป็นอย่างอื่นได้

หมวด 2
วัตถุประสงค์                  
 
ข้อ 5  การจัดตั้ง กศบท. มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือสงเคราะห์แก่บุตร ธิดา ของทนายความให้ได้รับการศึกษาตามสมควรแก่กรณีตามข้อบังคับฉบับนี้

หมวด 3
คณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ                  

ข้อ 6  ให้คณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้งคณะกรรมการ กศบท. โดยให้มีอำนาจในการจัดการบริหาร และให้มีจำนวนกรรมการซึ่งเป็นทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่เกิน 9 คน โดยให้กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการของคณะกรรมการ

ข้อ 7  ให้กรรมการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระสามารถกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการได้อีก

ข้อ 8  กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) พ้นจากการเป็นทนายความ
(4) ถูกสั่งพักการใช้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตทนายความ
(5) ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ ไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องระวางโทษจำคุก เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษ

เมื่อมีกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้งกรรมการใหม่เข้ามาแทนที่กรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง และให้กรรมการที่เข้าดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระเพียงกำหนดระยะเวลาที่กรรมการที่ตนเข้าแทนจะดำรงตำแหน่งจนครบวาระ
 
ข้อ 9  คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) แต่งตั้งและถอดถอนบุคคลใดๆ เป็นผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ดูแลกิจการต่างๆ อันเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การเงินและการบัญชีของ กศบท. แทนคณะกรรมการ
(2) ควบคุมและอนุมัติการเบิกจ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ของ กศบท.
(3) จัดการและดำเนินการใดๆ อันเกี่ยวกับ กศบท. ในทางซึ่งไม่ขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ของ กศบท. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองทุน

ให้ประธานทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการ ในกรณีที่ประธานไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมแทนมติของคณะกรรมการให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด และให้ถือมติเป็นที่สุด

ข้อ 10  ให้คณะกรรมการ กศบท. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาออกระเบียบวิธีการขอรับเงินช่วยเหลือจาก กศบท. โดยความเห็นชอบคณะกรรมการสภาทนายความ

หมวด 4
เงินช่วยเหลือและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือ
                 
ข้อ 11  ในแต่ละปีให้สภาทนายความพิจารณาจัดสรรเงินสมทบได้แก่ กศบท. ตามจำนวนที่เห็นสมควรรวมทั้งรวบรวมเงินและทรัพย์สินที่ได้มาจากการได้รับบริจาคเพื่อสมทบเข้ากองทุน กศบท.
 
ข้อ 12  ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินกองทุนโดยนำฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย หรือสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับรอง ตามจำนวนและประเภทบัญชีเงินฝากที่คณะกรรมการกำหนด

ข้อ 13  ให้บุตร ธิดา ของทนายความหรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิยื่นคำขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนภายใต้บังคับแห่งข้อบังคับนี้

ข้อ 14  ให้ กศบท. พิจารณาให้การช่วยเหลือแก่ บุตร ธิดา ของทนายความที่เจ็บป่วย ถึงแก่กรรมหรือประสบอุบัติภัยอย่างร้ายแรงในการประกอบวิชาชีพทนายความตามจำนวนและกำหนดเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควรภายใต้ข้อบังคับฉบับนี้

ข้อ 15  ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือจาก กศบท. ให้แก่ บุตร ธิดา ของทนายความตามระเบียบที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาทนายความ

ข้อ 16[2]  บุตร ธิดา ของทนายความซึ่งมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทุนการศึกษาตามข้อบังคับนี้ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในชั้นอนุบาล หรือกำลังจะศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน

ข้อ 17  บุตร ธิดา ของทนายความมีสิทธิขอรับการช่วยเหลือจากเงินกองทุนตามข้อบังคับฉบับนี้ได้ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษาในสถาบันการศึกษาดังกล่าว สูงสุดในระดับอุดมศึกษา

ข้อ 18  คำขอเพื่อขอรับการช่วยเหลือต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ชื่อ ชื่อสกุลของทนายความ และชื่อ ชื่อสกุลบุตร ธิดา ของทนายความประสงค์จะขอรับทุนการศึกษา
(2) สถานที่อยู่
(3) รายละเอียดทางการศึกษา
(4) ฐานะความเป็นอยู่ปัจจุบันและความจำเป็นที่จะขอรับเงินช่วยเหลือ
(5) เหตุแห่งภัยพิบัติ การเจ็บป่วยของทนายความหรือวันที่ทนายความถึงแก่กรรม
(6) คำรับรองของประธานทนายความจังหวัด หรือกรรมการสภาทนายความ
(7) อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
 
ข้อ 19  ให้เลขานุการคณะกรรมการหรือบุคคลที่เลขานุการคณะกรรมการมอบหมายสรุปข้อเท็จจริงและเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งมติของคณะกรรมการแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือตามระเบียบฉบับนี้

ข้อ 20  การจ่ายเงินกองทุนนี้ให้นำข้อบังคับและระเบียบการจ่ายเงินของสภาทนายความ ว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงิน พ.ศ. 2529 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 21  การช่วยเหลือ บุตร ธิดา ของทนายความตามข้อบังคับฉบับนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายทางการศึกษาซึ่งได้แก่ค่าเล่าเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใด ซึ่งสถาบันการศึกษาเรียกเก็บ แต่จะต้องไม่เกินกว่าอัตราค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่กำหนดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ในกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของเอกชนให้ใช้อัตราค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย มาเปรียบเทียบเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

ข้อ 22  ให้คณะกรรมการจัดทำบัญชีรับจ่ายของเงินกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสภาทนายความตามที่คณะกรรมการสภาทนายความกำหนด

ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544

สัก  กอแสงเรือง
นายกสภาทนายความ
ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร ธิดา ทนายความ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
 




พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 1-ชื่อพระราชบัญญัติ
มาตรา 2 มีผลใช้บังคับ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 4 คำนิยามตามพระราชบัญญัติทนายความ
มาตรา 5 อำนาจออกกฎกระทรวง
มาตรา 6 หมวด 1 สภาทนายความ
มาตรา 7 วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ
มาตรา 8 อำนาจหน้าที่ของสภาทนายความ
มาตรา 9 รายได้ของสภาทนายความ
มาตรา 10 สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ
มาตรา 11 สมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาทนายความ
มาตรา 13 การสิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็นทนายความ
มาตรา 14 คณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 15 ให้นายกแต่งตั้งกรรมการอื่น
มาตรา 16 วาระการดำรงตำแหน่งของนายกและกรรมการ
มาตรา 17 สิทธิเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 18 การใช้สิทธิเลือกตั้งของทนายความ
มาตรา 19 การเลือกตั้งนายกและกรรมการ
มาตรา 20 คณะกรรมการสอบสวนความผิด
มาตรา 21 นายกหรือกรรมการสภาทนายความพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 22 คณะกรรมการมรรยาททนายความปฏิบัติหน้าที่แทน
มาตรา 23 วาระนายกซึ่งได้รับเลือกตั้งแทน
มาตรา 24 องค์ประชุมของคณะกรรมการสภาทนายความ
มาตรา 25 ผู้รักษาการแทนนายกสภาทนายความ
มาตรา 26 สภานายกพิเศษไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา 27 อำนาจหน้าที่กรรมการสภาทนายความ
มาตรา 28 ข้อบังคับสภาทนายความใช้บังคับได้ต่อเมื่อ
มาตรา 29 การเสนอร่างข้อบังคับสภาทนายความ
มาตรา 30 สภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับ
มาตรา 31 สิทธิของทนายความแก้ไขข้อบังคับ
มาตรา 32 นายกกระทำการแทนสภาทนายความ
มาตรา 33 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 34 ขอบอกเลิกจากการเป็นทนายความ
มาตรา 35 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ
มาตรา 36 คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 37 ให้เป็นสมาชิกสภาทนายความได้
มาตรา 38 ต้องผ่านการฝึกอบรมมรรยาททนายความ
มาตรา 39 ใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี
มาตรา 40 ทนายความที่ขาดต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา 41 รูปแบบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
มาตรา 42 จดแจ้งสำนักงานในทะเบียนทนายความ
มาตรา 43 จำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียน
มาตรา 44 ทนายความขาดจากการเป็นทนายความ
มาตรา 45 การประชุมใหญ่ของสภาทนายความ
มาตรา 46 ประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา 47 การประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 48 คัดค้านการไม่จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ
มาตรา 49 องค์ประชุมการประชุมใหญ่
มาตรา 50 รูปแบบการประชุมใหญ่
มาตรา 51 มรรยาททนายความ
มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 53 ข้อบังคับมรรยาททนายความ
มาตรา 54 คณะกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 55 ความเห็นชอบของสภานายกพิเศษเรื่องแต่งตั้งกรรมการ
มาตรา 56 สภานายกพิเศษแจ้งผลการพิจารณาแต่งตั้ง
มาตรา 57 อำนาจหน้าที่ประธานกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 58 วาระกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 59 คณะกรรมการมรรยาททนายความพ้นตำแหน่ง
มาตรา 60 กรรมการมรรยาททนายความพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
มาตรา 61 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 62 อนุกรรมการมรรยาททนายความ
มาตรา 63 องค์ประชุมในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 64 สิทธิกล่าวหาทนายผิดมรรยาททนายความ
มาตรา 65 การสอบสวนมรรยาททนายความ
มาตรา 66 อำนาจสั่งจำหน่ายคดี-สั่งยกคำกล่าวหา-สั่งลงโทษ
มาตรา 67 ส่งสำนวนคดีมรรยาททนายความให้นายก
มาตรา 68 คำสั่งของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
มาตรา 69 คำสั่งลบชื่อหรือไม่ลบชื่อทนายความออก
มาตรา 70 ให้นายทะเบียนทนายความแจ้งคำสั่งให้ศาลทราบ
มาตรา 71 ทนายความถูกลบชื่อห้ามจดทะเบียนใหม่
มาตรา 72 การวินิจฉัยชี้ขาดคดีมรรยาททนายความ
มาตรา 74 การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 75 ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 76 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการช่วยเหลือ
มาตรา 77 กองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
มาตรา 78 ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
มาตรา 79 ขอบเขตการช่วยเหลือทางกฎหมาย
มาตรา 80 หนังสือแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเงินกองทุนช่วยเหลือ
มาตรา 81 การประชุม การรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน
มาตรา 82 ขาดจากการเป็นทนายความว่าความจำคุก 2 ปี
มาตรา 83 ไม่มาให้ถ้อยคำตามหนังสือเรียกจำคุกหนึ่งเดือน
มาตรา 84 ใบอนุญาตเป็นทนายความก่อน พรบ.นี้
มาตรา 85 ให้เนติบัณฑิตยสภาส่งมอบทะเบียนทนายความ
มาตรา 86 การออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ
มาตรา 87 คดีมรรยาททนายความที่ค้างพิจารณาอยู่
มาตรา 88 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ
มาตรา 89 จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ
ผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง