ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




ผลของการไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารเรียกเก็บเงินภายในกำหนดเวลา

   -ปรึกษากฎหมาย

     ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

      ทนายเอกชัย อาชาโชติธรรม โทร.083-1378440

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 

ผลของการไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารเรียกเก็บเงินภายในกำหนดเวลา

การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารเรียกเก็บเงินหรือใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คคงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในกำหนดนั้นเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด หากไม่สามารถนำสืบได้ว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนด ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สั่งจ่ายอย่างไร? ดังนั้นผู้สั่งจ่ายจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็ค

 ลงลายมือชื่อในเช็คโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค

จำเลยที่1 เป็นนิติบุคคลเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารโดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อสั่งจ่ายเป็นกรรมการบริษัท 4 คน โดยไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อของนายประสิทธิ์ด้วย แม้นายประสิทธิ์ จะเป็นกรรมการคนหนึ่งผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทก็ตาม ก็ไม่มีข้อตกลงให้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร แทนบริษัท คดีนี้นายประสิทธิ์ต้องการใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. จึงยืมเงินจากโจทก์ 4,500,000 บาท นายประสิทธิ์จึงขอยืมเช็คบริษัทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแล้วนายประสิทธิ์ลงลายมือชื่อด้วยเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แล้วนำเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว นายประสิทธิ์จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6798/2544

          โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่ง ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาทและแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายคำฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับที่ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสำหรับจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เคลือบคลุม

           แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900

           การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี เลขที่ 0105738 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2540 จำนวนเงิน 4,500,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล นายประสิทธิ์ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8551/2541 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชี ปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่าบัญชีปิดแล้วโจทก์ทวงถามจำเลยทั้งสี่แล้ว จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย โจทก์ได้รับความเสียหายเท่ากับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันสั่งจ่ายเช็คถึงวันฟ้องเป็นเงิน 337,500 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 4,837,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 4,500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสี่จะร่วมกันชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น

          จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

          จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ไม่ได้รับมรดกจากนายประสิทธิ์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นายประสิทธิ์ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ ลายมือชื่อในเช็คจะเป็นลายมือชื่อของนายประสิทธิ์หรือไม่ไม่ทราบ และไม่รับรอง หากเป็นลายมือชื่อของนายประสิทธิ์ก็เป็นเพียงลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวโจทก์ไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระโจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยที่ 4 ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่สามารถเข้าใจได้ว่ามูลหนี้ตามเช็คเป็นมูลหนี้อะไร เหตุที่นำมาฟ้องนายประสิทธิ์สืบเนื่องมาจากเหตุใดขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช ชำระเงิน 4,500,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่16 พฤศจิกายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาทคำขอนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยที่ 4 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยที่ 4 ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2ที่ 3 นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช และผู้มีชื่ออีก 3 คน เป็นกรรมการของบริษัท กรรมการ 3 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทลงชื่อผูกพันบริษัทได้ ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุบลราชธานีเอกสารหมาย จ.2 โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานีลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2540 จำนวนเงิน 4,500,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2ที่ 3 และนายประสิทธิ์ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย พร้อมประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน2541 โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานีเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยเหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" ตามใบคืนเช็คเอกสารหมาย จ.4 นายประสิทธิ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2541ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8551/2541ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้

          คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อแรกว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 เคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่า การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง บัญญัติบังคับไว้เพียงว่าคำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่าเท่านั้น มิได้บังคับให้ต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องโดยแจ้งชัดด้วย โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่งนายประสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาทและแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายคำฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับที่ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประสิทธิ์ร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสำหรับจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยที่ 4ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อต่อไปมีว่านายประสิทธิ์จะต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวหรือไม่เห็นว่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า นายประสิทธิ์เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 นายประสิทธิ์กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุบลราชธานีเอกสารหมาย จ.2 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)สาขาอุบลราชธานี โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อสั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของนายประสิทธิ์ด้วย ตามสำเนาภาพถ่ายการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อเอกสารหมาย จ.6 แผ่นที่ 1 นายประสิทธิ์จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) สาขาอุบลราชธานี แทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ ตามคำเบิกความของโจทก์ได้ความว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2539 นายประสิทธิ์ต้องการใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงยืมเงินจากโจทก์4,500,000 บาท โดยสั่งจ่ายเช็คธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)สาขาอุบลราชธานี ลงวันที่ 17 เมษายน 2539 จำนวนเงิน 4,500,000บาท ตามสำเนาภาพถ่ายเช็คเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์แล้วนายประสิทธิ์นำเช็คพิพาทมาขอแลกเช็คตามเอกสารหมาย จ.5คืนไป และได้ความจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานว่านายประสิทธิ์มาขอเช็คธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)สาขาอุบลราชธานี ซึ่งนายประสิทธิ์และจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีไว้ร่วมกันโดยแจ้งว่าจะนำไปแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จำเลยที่ 2 แจ้งว่ามีแต่เช็คของจำเลยที่ 1 นายประสิทธิ์จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแล้วนายประสิทธิ์ลงลายมือชื่อด้วยเพื่อแสดงความรับผิดชอบ จำเลยที่ 4 มิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นการที่นายประสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งนายประสิทธิ์สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว นายประสิทธิ์จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900 ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เป็นพยานเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และจำเลยที่ 2 เบิกความนอกเหนือจากคำฟ้องนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 97 บัญญัติว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้สิทธิไว้เช่นนี้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 มาเบิกความถึงการสั่งจ่ายเช็คพิพาทและเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ของนายประสิทธิ์ ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 4 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อต่อไปมีว่า โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินหลังวันออกเช็คเป็นเวลาเกือบ 1 ปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990,991 และ 992 นั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มิได้ให้การต่อสู้ถึงอำนาจและหน้าที่ของธนาคารในการใช้เงินตามเช็คตามมาตรา 991 และ 992ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่งคงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในกำหนดนั้นเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิดแต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนด ทำให้เกิดความเสียหายแก่นายประสิทธิ์ ดังนั้นนายประสิทธิ์จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย ฎีกาของจำเลยที่ 4 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์เบิกความว่า ให้นายประสิทธิ์ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาทไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง เห็นว่า พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติว่าเมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินหนึ่งล้านบาทไม่ได้ ทั้งนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ก็รับว่าเพิ่งมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 28 กันยายน 2539 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปใน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 โจทก์ให้นายประสิทธิ์ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 ตามที่นายประสิทธิ์ออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ เป็นการยืมเงินก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งนายประสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้นายประสิทธิ์ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้วการออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 4 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

   อนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ชำระเงิน4,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ ดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้อง (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541) คำนวณแล้วเป็นเงิน 924.66บาท จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียง 4,500,924.66 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงศาลละ 112,522.50 บาท การที่จำเลยที่ 4 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 4,837,500 บาทเป็นเงินศาลละ120,937.50 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาที่เสียเกินมาศาลละ 8,415 บาท แก่จำเลยที่ 4"

          พิพากษายืน         

มาตรา 990 ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่า ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ต้องยื่นภายใน เดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่น ภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะ เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลย เสียไม่ยื่นเช็คนั้น

อนึ่ง ผู้ทรงเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดไปแล้วนั้น ท่านให้รับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายคนนั้นอันมีต่อธนาคาร

มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมี พยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน นั้นไม่




รับผิดตามตั๋วเงินและเช็ค

ออกเช็คเพื่อเป็นประกันหนี้ไม่มีความผิดทางอาญา
ออกเช็คเพื่อชำระหนี้หลังถูกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ฟ้องทางแพ่งได้แต่ไม่มีความผิดทางอาญา?