ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




เริ่มนับอายุความหนี้ละเมิด article

เริ่มนับอายุความหนี้ละเมิด

ในเรื่องว่าคดีขาดอายุความหรือไม่นั้น จำเลยเป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างขึ้นจำเลยต้องเป็นฝ่ายนำสืบว่าคดีขาดอายุความอย่างไร วันที่โจทก์รู้ว่ามีการกระทำผิดนั้น โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด จึงยังเริ่มนับอายุความไม่ได้จนกว่าจะรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อนับถึงวันที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดไม่เกินหนึ่งปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  388/2506

          ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลสมุหบัญชีต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้นไม่ใช่กฎหมายจะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้นโดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่

   คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรีเมืองยะลาจำเลยที่ 2 รักษาการในตำแหน่งสมุหบัญชี จำเลยที่ 3 รักษาการในตำแหน่งปลัดเทศบาล จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาลตามระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและตามระเบียบแบบแผน กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยข้อ 21 มีความว่า "บรรดาเงินรายได้หรือเงินรายอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงาน ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนสมุหบัญชีหรือผู้รักษาการแทน เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการเก็บรักษาเงินดังกล่าวนี้ หากปรากฏมีการทุจริตใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาเงินดังกล่าวนี้ขึ้น ให้บุคคลดังกล่าวนี้ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบ" และจำเลยที่ 1มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แต่จำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินเทศบาลไป 25,380 บาทซึ่งพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 2 แล้ว ตามสำนวนคดีอาญาดำที่ 567/2499 จำเลยที่ 3 โดยตำแหน่งต้องรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาเงินตามระเบียบข้อ 21 นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นกรรมการรับผิดชอบในการรักษาเงินตามระเบียบการคลังเทศบาลข้อ 27 ว่าต้อง "ตรวจสอบบรรดาหลักฐานการรับจ่ายเงินทั้งหมดเมื่อสิ้นการรับจ่ายในวันหนึ่ง ๆ โดยจะต้องทำการตรวจสอบจำนวนเงินรับจ่ายสอบ-หลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้เก็บเงินและใช้จ่ายเงินในวันนั้น ตลอดจนการคำนวณของเจ้าหน้าที่ด้วยว่าคำนวณไว้ถูกต้องเพียงใด เมื่อถูกต้องตรงกันแล้ว ให้กรรมการรักษาเงินทุก ๆ คนลงนามรับรองไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ต้องร่วมกันรับผิดชอบตามความในข้อ 21 อีกทางหนึ่งด้วย" จำเลยที่ 3 ลงชื่อรับรองในบัญชีคุมยอดเงินคงเหลือแผนกคลังว่าเป็นการถูกต้องไว้ด้วยการปฏิบัติงานของจำเลยทั้ง 3 ทำให้เทศบาลเสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้เงิน 25,380 บาท ขอให้ศาลบังคับ

  จำเลยที่ 1 ให้การว่า ไม่ได้รู้เห็นและร่วมรับเงินกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดตามระเบียบข้อ 21 ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขาดอายุความ

   จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่า ไม่ได้ยักยอกเงินดังฟ้อง

   จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ

   วันนัดชี้สองสถาน โจทก์จำเลยที่ 1, 2 แถลงรับว่าจำเลยที่ 2 ถูกฟ้องคดีอาญาหาว่ายักยอก ให้รอฟังผลก่อน ต่อมาคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 กำหนด 2 ปี กับให้คืนหรือใช้เงิน 25,380 บาทแก่เทศบาล คดีถึงที่สุดแล้ว

    ศาลชั้นต้นเห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลพิพากษาจำคุกและให้คืนและใช้เงินแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 อีกเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 สำหรับจำเลยอื่นไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่จำเลยที่ 1 ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ไว้ ฟังได้ว่านายอำนวยผู้ตรวจการเทศบาลตรวจพบว่าเงิน 25,380 บาทจ่ายซ้ำถึง 2 หน จึงรายงานให้นายประสิทธิ์นายกเทศมนตรีทราบเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2499 นับถึงวันฟ้อง คือ 31 กรกฎาคม 2500 เกิน 1 ปี ขาดอายุความแล้ว เพราะโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏว่าเพิ่งทราบตัวบุคคลผู้จะต้องรับผิดภายหลัง และฟ้องภายในกำหนด 1 ปี จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่ก็ได้รับประโยชน์จากอายุความด้วย เพราะอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมและจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ไม่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไป พิพากษายกฟ้อง

 โจทก์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 และ 3 ว่า คดียังไม่ขาดอายุความแม้จะฟังว่าขาดก็จะยกฟ้องถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

   ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ทราบว่ามีการกระทำผิด 24 กรกฎาคม 2499โจทก์ก็ต้องรู้ตัวผู้จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วในทันทีตามระเบียบการเงินข้อ 21 และระเบียบการคลังข้อ 27 ซึ่งระบุตัวผู้ต้องรับผิดไว้แล้ว ไม่จำต้องสอบสวนอะไรอีก คดีจึงขาดอายุความแล้ว ทั้งโจทก์ก็ไม่นำสืบว่าคดียังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด จะให้ศาลสันนิษฐานเอาเองว่าระยะที่เกิน 1 ปี เป็นระหว่างดำเนินการเพื่อให้รู้ตัวผู้จะต้องรับผิดก็ไม่ได้ พิพากษายืน

      โจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับชั้นอุทธรณ์

    ศาลฎีกาเห็นว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ข้อ 21 และระเบียบการคลังข้อ 27 เป็นระเบียบที่มีขึ้นเป็นการภายในของกระทรวงมหาดไทยและเทศบาลเองไม่ใช่กฎหมาย หากระเบียบดังกล่าวนี้ออกเพื่อใช้บังคับให้ผู้ที่มิได้กระทำผิดหรือตามกฎหมายผู้นั้นไม่ต้องรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดแล้ว ก็จะนำเอาระเบียบนั้นมาปรับกับรูปคดีหาได้ไม่ จึงต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามที่มีบทกฎหมายบังคับไว้สำหรับการนั้น ๆ การที่ศาลอุทธรณ์ยกเอาระเบียบดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะต้องรับผิดแล้ว โดยมิได้ถือเอาผลของการสอบสวนที่ว่า ความจริงหรือข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวผู้ที่พึงจะต้องรับผิดจริง ๆ เมื่อไรขึ้นมาวินิจฉัยชี้ขาดนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

    ในเรื่องการนำสืบว่าคดีขาดอายุความหรือไม่นั้น จำเลยเป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างขึ้นแต่จำเลยก็ไม่ได้นำสืบถึงข้อว่าคดีโจทก์ขาดอายุความไว้เลย ส่วนโจทก์นั้นมีพยานนำสืบฟังได้ว่าวันที่ 24 กรกฎาคม 2499 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์รู้ว่ามีการกระทำผิดนั้น เพราะนายอำนวยบันทึกรายงานให้ทราบว่า "ขอให้ (นายกเทศมนตรี) พิจารณาดำเนินการเพื่อทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ว่าเป็นประการใด" อันเห็นได้ชัดว่าในวันที่ 24 กรกฎาคม ซึ่งโจทก์รู้ว่ามีการกระทำผิดนั้น โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด เพราะต่อมาอีก 2 วัน นายประสิทธิ์นายกเทศมนตรีจึงได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนหาตัวผู้จะต้องรับผิดในเงินรายนี้ขึ้น จากนั้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2499 นายประสิทธิ์จึงสั่งพักหน้าที่การงานจำเลยที่ 2 ผู้เดียว แล้วส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ศาลฎีกาจึงเห็นได้ว่าตามหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ตามสำนวนก็ฟังได้ว่า ภายในระยะเวลา 7 วันที่เกิน 1 ปีไปนั้น กว่าจะได้ตั้งกรรมการสอบสวนขึ้นและจนกว่ากรรมการสอบสวนจะสอบสวนเสร็จและรู้ตัวผู้ที่พึงจะต้องรับผิด ก็เห็นว่าเวลาเพียง 7 วัน ไม่พอจะรู้ตัวผู้ที่พึงจะต้องรับผิดได้เลย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

    อนึ่ง คดีนี้ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 1 และ 3 ประมาทเลินเล่อจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย ซึ่งสมควรจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงนี้ต่อไป จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลทั้งสองเสีย ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 448    สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด

แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ 




หนี้ละเมิด

อายุความสิทธิเรียกร้องของบุคคลวิกลจริต
ฟ้องหมิ่นประมาทศาลยกฟ้องไม่ถือเป็นการกระทำละเมิด
นายจ้างเรียกค่ารักษาพยาบาลคืนจากผู้ทำละเมิดลูกจ้าง
เหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย