

ยกที่ดินให้โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ยกที่ดินให้โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี สามียกที่ดินให้แก่บุตรและหลานโดยภริยาไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นการจัดการสินสมรสโดยยกที่ดินให้โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีจึงต้องได้รับความยินยอมจากภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาการให้จึงไม่ผูกพันภริยา ภริยาฟ้องเรียกที่ดินสินสมรสส่วนของตนคืนได้ การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง. 2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน จำเลยทั้งสี่ให้การว่า นายง้อได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นบุตรของนายง้อกับโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรม โดยโจทก์ได้ยินยอมแล้ว ปัจจุบันที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 900,000 บาท โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์ให้แก่โจทก์โดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างนายง้อกับจำเลยทั้งสี่เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท คืนให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พร้อมกับชำระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีในการโอนด้วยมิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ หากไม่สามารถทำการโอนที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ได้ ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ราคาแทนเป็นเงิน 1,250,000 บาท จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คงมีปัญหาวินิจฉัยว่า นายง้อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่เฉพาะที่ดินส่วนของโจทก์นั้น โจทก์ได้ให้ความยินยอมแล้วหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายง้อยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม ซึ่งการที่นายง้อจัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีเช่นนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 (เดิม) เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ แต่โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายง้อตั้งแต่พ.ศ. 2465 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับนายง้อจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ปรากฏว่าโจทก์กับนายง้อต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อนายง้อถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของนายง้อสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 8606 ตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้แก่โจทก์หนึ่งในสามส่วน พร้อมกับชำระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีในการโอนหากจำเลยทั้งสี่ไม่ไปทำการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ หากไม่สามารถทำการโอนได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ราคาเป็นเงิน 833,333.33 บาท มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
|