ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
dot
Newsletter

dot




แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ

ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

(ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย ติดต่อทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th )ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวน
จำเลยรู้ดีว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่าปลอมนั้น ความจริงแล้วเป็นลายมือชื่อที่จำเลยซึ่งลงชื่อไว้ มิใช่ลายมือชื่อปลอมดังจำเลยอ้าง การที่จำเลยแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง อันเป็นความผิดตาม ป.อาญา. มาตรา 173

รายงานการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าได้ตรวจพิจารณาลายมือชื่อลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น ศาลเห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่เขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานนั้นเป็นการจงใจเขียนให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมเพื่อที่จะให้กองพิสูจน์หลักฐานยืนยันว่าลายมือชื่อจำเลยที่ลงชื่อต่อหน้าศาลมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยในเอกสาร เมื่อประจักษ์ชัดแจ้งว่าจำเลยใช้ลีลาการเขียนลายมือชื่อเพื่อให้แตกต่างไปจากของเดิม รายงานการตรวจพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1424/2554

          จำเลยทราบว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่าปลอม ความจริงเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้ มิใช่ลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาความเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จำเลยมิได้ยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือโจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าจำเลยสงสัยโจทก์ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 172, 173,174, 175 และ 181

          ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง, 175 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานแจ้งความเท็จแก่พนักงานสอบสวน จำคุก 2 ปี ฐานฟ้องเท็จ จำคุก 2 ปี  รวมจำคุก 4 ปี

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ที่จำเลยเบิกความขณะลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดตามเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 3 ในช่องลายมือชื่อนั้นมีรอยลบตรงช่องลายมือชื่อ แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อด้านล่างใต้เส้นไข่ปลาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเบิกความเท็จโดยปราศจากสงสัย เนื่องจากจำเลยหลังจากตรวจสอบเอกสารที่สำนักงานทะเบียนแล้วจำเลยพยายามลงลายมือชื่อใหม่ในเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 3 เพื่อให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมซึ่งลงไว้ในเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 ว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยอย่างเดียวกันกับที่จำเลยลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลเพื่อจะต้องการส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองตรวจพิสูจน์หลักฐานว่าเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย เนื่องจากเป็นการเขียนลายมือชื่อคนละลักษณะเพื่อให้แตกต่างจากลายมือชื่อของจำเลยเดิมนั่นเอง จากจุดนี้เองแสดงให้เห็นว่าจำเลยนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อให้ศาลหลงเชื่อเนื่องจากจำเลยไม่ทราบว่าต้นฉบับเอกสารมีการถ่ายลงไมโครฟิล์มและสแกนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นความเขลาของจำเลยเอง หากจำเลยทราบมาก่อนเช่นนั้นเชื่อว่าจำเลยคงไม่ทำเช่นนี้

          ในเรื่องลายมือชื่อของจำเลย จำเลยเบิกความ จำเลยเข้าทำงานในบริษัทจัดหางาน สยามโอเวอร์ซีส์ รีครูทเมนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพียงฉบับเดียวตามเอกสารหมาย ล.5 ศาลตรวจดูแล้วปรากฏว่าเอกสารหมาย ล.5 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยจะเข้าทำงานเสียอีก และการที่จำเลยลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจตามเอกสารหมาย ล.5 ก็ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด เพราะเอกสารหมาย ล.5 ระบุให้นายหลุย และหรือนายเกรียงไกร และหรือนางสาวนาตยา เป็นผู้รับมอบอำนาจเพียง 3 คน มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด จึงเป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยปลอมเอกสารหมาย ล.5 เพื่อนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเท็จต่อศาล

          จำเลยเบิกความต่อไปหลังจากเข้าทำงานประมาณ 1 อาทิตย์ นางสาวพิมพวรรณได้นำหนังสือมอบอำนาจและเอกสารคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทมาให้จำเลยลงชื่อเพื่อเปลี่ยนกรรมการตามเอกสารหมาย ล.6 และ ล.7 แต่จากเอกสารหมาย ล.6 หนังสือมอบอำนาจระบุให้นายหลุย และหรือนายเกรียงไกร และหรือนางสาวนาตยา เป็นผู้รับมอบอำนาจ มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด แต่เหตุไฉนจำเลยจึงลงชื่อในเอกสารหมาย ล.6 และเมื่อนำเอกสารหมาย ล.6 มาเปรียบเทียบกับเอกสารหมาย ล.7  แผ่นที่ 4 ซึ่งลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 เช่นกัน ก็พบว่าเอกสารทั้งสองฉบับคือเอกสารแผ่นเดียวกัน เพราะมีข้อความเหมือนกันทุกประการแต่เอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 4 กลับไม่มีลายมือชื่อจำเลยดังเช่นเอกสารหมาย ล.6 ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยลบลายมือชื่อนายเกรียงไกรตามเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 4 ออกแล้วลงลายมือชื่อจำเลยลงไปแทนนายเกรียงไกร ตามเอกสารหมาย ล.6 เพื่อนำสืบพยานหลักฐานเท็จต่อศาล

        ศาลได้ตรวจลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.1 อันประกอบด้วยบันทึกข้อตกลง คำขอจดทะเบียนบริษัท รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ กรรมการเข้าใหม่ หนังสือมอบอำนาจ หนังสือขอลาออก หนังสือโอนหุ้น หนังสือเรื่องขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท มีลักษณะการเขียนเช่นเดียวกับลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 ซึ่งแตกต่างจากลายมือชื่อซึ่งจำเลยเขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปให้กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบลายมือชื่อ เชื่อว่าจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 แผ่นที่ 3 โดยเป็นลายมือชื่อของจำเลยอย่างแน่นอนปราศจากสงสัย จำเลยจึงทราบดีอยู่แล้วว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่ามีการปลอมแปลงนั้น ความจริงแล้วเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้ก่อนล่วงหน้า มิใช่ลายมือชื่อปลอมแต่อย่างใด การที่จำเลยไปแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อนั้นจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาข้อความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา แต่แล้วจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ก็ไม่ไปเบิกความที่ศาลจนเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยทราบความจริงอยู่แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดอาญาใดๆ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง เห็นว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษและตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ.10 จำเลยก็มิได้กล่าวยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือโจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าในเบื้องต้นจำเลยสงสัยโจทก์ หากประสงค์จะดำเนินคดีจะมอบคดีต่อพนักงานสอบสวนอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้

          ส่วนรายงานการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าได้ตรวจพิจารณาลายมือชื่อผู้ให้สัญญาและผู้เริ่มก่อการที่มีดอกจันสีแดงในบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 1 และคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดเอกสารหมาย จ.23 เปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อ สำเนาลายมือชื่อ และลายมือชื่อของนายวรวัตน์ ตามที่ระบุไว้เอกสารตัวอย่างข้างต้น ดูโดยละเอียดแล้วปรากฏว่ามีคุณสมบัติของการเขียนรูปร่างลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกันดังได้ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างในภาพแสดงประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ที่ พ.415/2545 จำนวน 4 แผ่น รวม 9 ภาพ แต่เนื่องจากมีบางส่วนของตัวอักษรบางตัวเขียนเป็นคนละแบบกันและลายมือชื่อตัวอย่างหนึ่งเป็นสำเนาเอกสาร ในกรณีนี้ลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น เห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่เขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานนั้นเป็นการจงใจเขียนให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมเพื่อที่จะให้กองพิสูจน์หลักฐานยืนยันว่าลายมือชื่อจำเลยที่ลงชื่อต่อหน้าศาลมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 แผ่นที่ 3 เพราะจะเห็นได้ว่าลีลาการเขียนแตกต่างกันมากมาย โดยลายมือชื่อจำเลยที่ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาล ตัว ว จำเลยลากหางยาวเพื่อให้แตกต่างจากลายมือชื่อโดยปกติของจำเลย เมื่อประจักษ์ชัดแจ้งว่าจำเลยใช้ลีลาการเขียนลายมือชื่อเพื่อให้แตกต่างไปจากของเดิม รายงานการตรวจพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 175 เป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานแจ้งความเท็จ จำคุก 1 ปี ฐานฟ้องเท็จ จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

( สมศักดิ์ อเนกพุฒิ - ศิริชัย วัฒนโยธิน - สนอง เล่าศรีวรกต )

ศาลอาญา - นายวิเชียร วชิรประทีป
ศาลอุทธรณ์ - นางอมรรัตน์ ดีศรีวงศ์

 
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดี อาญาว่าได้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตาม มาตรา 172 หรือ มาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อ ความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับ ไม่เกินหกพันบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรกเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใด ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำ ความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

 

 __________________________________________________________________________________

 

 

 

ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับ.html

 

 

ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยเคยถูกผู้เสียหายฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 548/2537 ระหว่างเด็กหญิงเสาวณีย์  โจทก์  นางสาวจอมขวัญ  จำเลย ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับคดีนี้ และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอม.html

 

 

ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หมายถึงโทษที่วางก่อนลด??? หรือโทษสุทธิที่ศาลพิพากษาเมื่อลดโทษให้แล้ว โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5)นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538793756&Ntype=58


 

 


ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องหรือไม่??? แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้อง
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/บรรยายฟ้อง-ข้อเท็จจริงแตกต่าง.html

 

 


พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550  การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวน
http://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/พนักงานสอบสวน-ฝากขัง.html

 

 

หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้อง เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้..
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน.html

 

 

คำให้การจำเลยขัดแย้งกันเองไม่มีประเด็น
จำเลยให้การในตอนแรกว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลย คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงขัดแย้งกันทำให้รูปคดีไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
http://www.peesirilaw.com/การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์/คำให้การขัดแย้งกันเอง.html

 

 

หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง โดยไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว สำหรับคดีล้มละลายก็
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/อำนาจฟ้อง.html

 


มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
จำเลยให้การว่า โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบมาฟ้องจำเลย โจทก์จัดทำหนังสือมอบอำนาจมาฟ้องจำเลยก่อนที่มูลหนี้จะเกิดขึ้น และก่อนที่จำเลยจะยินยอมตกลงเป็นลูกค้าของโจทก์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง(ฎีกา 426/2538)
http://www.peesirilaw.com/ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง/หนังสือมอบอำนาจ.html

 

 

 

         




แจ้งข้อความเป็นเท็จ