ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 1361 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม

มาตรา 1361 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม

มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันก็ได้
             (วรรค 2)แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
             (วรรค 3)ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพัน ทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์


 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าว ย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์  โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5658/2552

          แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

          ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้

ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าว

เจ้าของรวมจำหน่ายส่วนของตน

เจ้าของรวมจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันแก่ตัวทรัพย์ได้ ก็ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตัวทรัพย์ที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ถ้ายังไม่ได้แบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของใครอยู่ตอนไหนมีแนวเขตและเนื้อที่อย่างไร เท่าใด จึงไม่อาจระบุได้ว่าส่วนของตนมีอยู่อย่างไร จึงไม่อาจจำหน่าย จำนำ จำนอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น ๆ

เจ้าของผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคนอื่น และมิได้แบ่งแยกว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ถือว่าผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ ที่นาส่วนที่ซื้อขายตามสัญญาจะได้ระบุที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งานที่ตกลงซึ่งขายกันนั้นเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน ของผู้ขาย การขายตัวทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมนั้น เจ้าของรวมคนหนึ่งจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2528




แพ่งพาณิชย์เรียงมาตรา

มาตรา 5 การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มาตรา 11 ตีความสัญญาในทางที่เป็นคุณ
มาตรา 62 คนสาบสูญตามคำสั่งศาล
มาตรา 73 ผู้แทนชั่วคราว
มาตรา 74 ประโยชน์ได้เสียขัดกัน
มาตรา 193/30 อายุความมีกำหนด 10 ปี
มาตรา 193/33 อายุความสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 224 การไม่ชำระหนี้ | ดอกเบี้ยผิดนัด
มาตรา 291 ลูกหนี้ร่วม
มาตรา 391 คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
มาตรา 448 นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มาตรา 499 สินไถ่ | ราคาขายฝาก
มาตรา 716 สิทธิจำนองแก่ตัวทรัพย์
มาตรา 722 สิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอม
มาตรา 744 จำนองย่อมระงับสิ้นไป
มาตรา 806 ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ-ร้องขัดทรัพย์
มาตรา 821 ตัวแทนเชิด
มาตรา 1015 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น
มาตรา 1336 การใช้กรรมสิทธิ-ติดตามเอาคืน
มาตรา 1381 เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตน
มาตรา 1387 ภาระจำยอม
มาตรา 1395 ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แก่ที่ดินแบ่งแยก
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก
มาตรา 1480 ทำนิติกรรมปราศจากความยินยอมของคู่สมรส
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วม
มาตรา 1508 ขอเพิกถอนการสมรส
มาตรา 1526 สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ
มาตรา 1541 ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร | ผู้แจ้งการเกิด
มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 1613 การสละมรดกแบบมีเงื่อนไข
มาตรา 1727 ถอนผู้จัดการมรดก
มาตรา 1733 การจัดการมรดกสิ้นสุดลง