ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 1727 ถอนผู้จัดการมรดก

มาตรา 1727  ถอนผู้จัดการมรดก

มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือ เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดก เสร็จสิ้นลง

แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจาก ตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

 

สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสสามารถยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่?? ในเรื่องการถอนผู้จัดการมรดกนั้น สามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าสามีของผู้ตายเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่การที่จะยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องมีเหตุตามกฎหมายด้วย กล่าวคือผู้จัดการมรดกไม่กระทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกได้  ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารในบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนั้น สามีในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินและที่ดินดังกล่าวด้วย การกระทำของผู้จัดการมรดกจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของสามี สามีก็ชอบที่จะฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นอีกคดีอื่น เหตุผลและข้ออ้างของสามีจึงไม่ใช่เหตุที่ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกและถอนผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3724/2548

  การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้

 เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.




แพ่งพาณิชย์เรียงมาตรา

มาตรา 5 การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มาตรา 11 ตีความสัญญาในทางที่เป็นคุณ
มาตรา 62 คนสาบสูญตามคำสั่งศาล
มาตรา 73 ผู้แทนชั่วคราว
มาตรา 74 ประโยชน์ได้เสียขัดกัน
มาตรา 193/30 อายุความมีกำหนด 10 ปี
มาตรา 193/33 อายุความสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 224 การไม่ชำระหนี้ | ดอกเบี้ยผิดนัด
มาตรา 291 ลูกหนี้ร่วม
มาตรา 391 คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
มาตรา 448 นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มาตรา 499 สินไถ่ | ราคาขายฝาก
มาตรา 716 สิทธิจำนองแก่ตัวทรัพย์
มาตรา 722 สิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอม
มาตรา 744 จำนองย่อมระงับสิ้นไป
มาตรา 806 ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ-ร้องขัดทรัพย์
มาตรา 821 ตัวแทนเชิด
มาตรา 1015 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น
มาตรา 1336 การใช้กรรมสิทธิ-ติดตามเอาคืน
มาตรา 1361 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
มาตรา 1381 เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตน
มาตรา 1387 ภาระจำยอม
มาตรา 1395 ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แก่ที่ดินแบ่งแยก
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก
มาตรา 1480 ทำนิติกรรมปราศจากความยินยอมของคู่สมรส
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วม
มาตรา 1508 ขอเพิกถอนการสมรส
มาตรา 1526 สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ
มาตรา 1541 ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร | ผู้แจ้งการเกิด
มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 1613 การสละมรดกแบบมีเงื่อนไข
มาตรา 1733 การจัดการมรดกสิ้นสุดลง