ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




มาตรา 448 นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย

มาตรา 448 นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย

 มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด

  แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

 

ในการนับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหายนั้นจะเริ่มนับเมื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้อนุมัติให้ฟ้องคดีกับจำเลยซึ่งถือว่านิติบุคคลรู้ถึงการละเมิดและผู้ต้องชดใช้สินไหมในวันดังกล่าว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550

โจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งในระหว่างเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ว่าการ ส. จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่ น. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองกฎหมายอันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะ น. ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ส่วนคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมายนั้น เป็นเพียงคำสั่งกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น การที่ น. มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางตามปกติ ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ส. ผู้ว่าการของโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 




แพ่งพาณิชย์เรียงมาตรา

มาตรา 5 การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มาตรา 11 ตีความสัญญาในทางที่เป็นคุณ
มาตรา 62 คนสาบสูญตามคำสั่งศาล
มาตรา 73 ผู้แทนชั่วคราว
มาตรา 74 ประโยชน์ได้เสียขัดกัน
มาตรา 193/30 อายุความมีกำหนด 10 ปี
มาตรา 193/33 อายุความสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 224 การไม่ชำระหนี้ | ดอกเบี้ยผิดนัด
มาตรา 291 ลูกหนี้ร่วม
มาตรา 391 คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
มาตรา 499 สินไถ่ | ราคาขายฝาก
มาตรา 716 สิทธิจำนองแก่ตัวทรัพย์
มาตรา 722 สิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอม
มาตรา 744 จำนองย่อมระงับสิ้นไป
มาตรา 806 ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ-ร้องขัดทรัพย์
มาตรา 821 ตัวแทนเชิด
มาตรา 1015 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น
มาตรา 1336 การใช้กรรมสิทธิ-ติดตามเอาคืน
มาตรา 1361 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
มาตรา 1381 เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตน
มาตรา 1387 ภาระจำยอม
มาตรา 1395 ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แก่ที่ดินแบ่งแยก
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
มาตรา 1480 เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก
มาตรา 1480 ทำนิติกรรมปราศจากความยินยอมของคู่สมรส
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วม
มาตรา 1508 ขอเพิกถอนการสมรส
มาตรา 1526 สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ
มาตรา 1541 ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร | ผู้แจ้งการเกิด
มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
มาตรา 1613 การสละมรดกแบบมีเงื่อนไข
มาตรา 1727 ถอนผู้จัดการมรดก
มาตรา 1733 การจัดการมรดกสิ้นสุดลง