
ปัญหาเรื่องการใช้เอกสารปลอมในใบสูติบัตร | |
คุณแม่ผมใช้บัตรประชาชนที่สวมรอยมา มากรอกข้อมูลในใบสูติบัตรของผม | |
ผู้ตั้งกระทู้ ธารา :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-21 21:28:49 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3369557) | |
ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งเป็นวันที่มีผลของ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อันเป็นผลของการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติใน พ.ศ.๒๕๓๕ บุตรที่เกิดในประเทศไทยจากบิดาสัญชาติไทยนอกสมรสได้รับสถานะคนสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน จึงมีสถานะเป็น “คนสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน” โดยผลของกฎหมาย พระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า " พระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535" " มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 7ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 " มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้น เป็น มาตรา 6 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 14 วรรคหนึ่งหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 7 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 และให้ ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 10 บทบัญญัติ มาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย มาตรา 11 บทบัญญัติ มาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยเว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมี คำสั่งอันมีผลให้ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่ง อาจได้สัญชาติไทยได้ตาม มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติพ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้รัฐมนตรีจะสั่งให้ได้สัญชาติไทย เป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรให้บุตรของหญิงไทย สามารถมีสัญชาติไทยได้โดยหลักสายโลหิตด้วย ตามหลักการเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย และสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การได้สัญชาติไทยของบุตรและหลานตลอดทั้งสายของคนต่างด้าวที่เป็นผู้อพยพ ผู้ หลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้เข้าเมืองเพียงชั่วคราวและผู้ได้รับผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ใน ราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายเสียใหม่ให้เหมาะสมรัดกุม เพราะการยึดหลักการสมรสโดย ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ไม่ สอดคล้องกับความเป็นจริงเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ที่โดยมากจะอยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จาก พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) 2535 ข้างต้น อย่างไรเสียคุณก็ได้สัญชาติไทย ตาม มาตรา 7 อยู่แล้ว ไม่ว่ามารดาจะเป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม แต่ปัญหาว่าเอกสารของมารดาจะดำเนินการอย่างไรนั้นคงเริ่มต้นที่ต้นทางก่อนเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลว่าเป็นผู้ใด ควรจะติดต่อกับผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เพื่อรับรองว่า มารดาคุณตกสำรวจ จากนั้นก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลพิสูจน์ความเป็นมารดาที่แท้จริง เช่นการตรวจ ดี.เอ็น.เอ. เพื่อให้เปลี่ยนข้อมูลทางทะเบียนให้ตรงกับความเป็นจริงเสียก่อน แต่ในทางคดีเกี่ยวกับการสวมบัตรประชาชนของผู้อื่นน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินเรื่องต่าง ๆ เพราะอยู่ในข่ายของผู้กระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกอยู่ หากแสดงตนออกมาเมื่อใดก็คงถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ สำหรับปัญหาของคุณนั้นเป็นปัญหาเรื่องการลงทะเบียนทหารกองเกินซึ่งน่าจะลองไปติดต่อที่ คณะกมธ.สิทธิฯวุฒิสภา ดูนะครับ อาจได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนาย ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 วันที่ตอบ 2013-06-30 19:08:51 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3369594) | |
ขออนุญาตนำบทความที่เกี่ยวข้องจาก http://www.archanwell, http://gotoknow, โดย รศ. ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร มานำเสนอเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนได้ศึกษาดังต่อไปนี้ครับ
เริ่มเขียนเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒
การทำงานวิจัยในโครงการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในประเทศไทยที่ผู้เขียนเริ่มต้นทำมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเหตุให้มีคำถามและข้อหารือของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติจำนวนมากมายถึงผู้เขียนเฉลี่ยวันละหนึ่งราย คุณอรนลิน ปานาที เป็นบุคคลหนึ่งที่เขียนอีเมลล์มาหารือปัญหาความไร้สัญชาติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ผู้เขียนนำเรื่องของคุณอรนลินมาเขียนเป็นบทความทางวิชาการ ทั้งนี้ มีความตั้งใจ ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) ผู้เขียนอยากให้เจ้าของปัญหาได้ศึกษาแนวคิดในการจัดการปัญหาที่เขียนในบทความทางวิชาการเพื่อที่จะเรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาด้วยตัวเอง (๒) ผู้เขียนมีความหวังว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชนที่อาจช่วยเหลือเจ้าของปัญหาได้อาจศึกษาแนวคิดในการจัดการปัญหาจากบทความนี้ได้ และ (๓) ผู้เขียนอยากให้บทความนี้เป็นบทเรียนให้นักศึกษาที่ไม่ควรรับรู้ในความทุกข์ยากของมนุษย์ผู้ไร้สัญชาติได้มีโอกาสเรียนรู้จากเรื่องจริงของมนุษย์ผู้ทุกข์ยากบนแผ่นดินไทยบ้าง บทความนี้เป็นบันทึกความเห็นทางกฎหมายเบื้องต้นที่ให้แก่นางสาวอรนลิน ปานาที จากเอกสารที่คุณอรนลินสแกนส่งมาให้ทางอีเมลล์ กล่าวคือ (๑) สูติบัตรประเภท ท.ร.๓ ออกโดยนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ ให้แก่เด็กหญิงอรนลิน ปานาที (๒) ทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ซึ่งอำเภอเวียงป่าเป้าออกให้แก่นายปรีชา ปานาที ซึ่งเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เด็กชายพสิษฐา ปานาที และ เด็กหญิงกนกรัชต์ ปานาที ซึ่งเป็นน้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน (๓) แบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงโดยอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้แก่นางชมพู่ ซึ่งเป็นมารดา เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๔ และ (๔) บัตรประจำตัวตามกฎหมายทะเบียนราษฎรประเภทบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง ซึ่งออกโดยอำเภอเวียงป่าเป้าให้แก่นางชมพู่ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๔ ประกอบกับข้อเท็จจริงที่รับฟังผ่านอีเมลล์ของนางสาวอรนลิน ปานาที ข้อเท็จจริงอีกส่วนหนึ่งมาจากการสอบปากคำโดยผู้เขียนเองโดยผ่านทางอีเมลล์หลายครั้งตั้งแต่วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นมา และโดยการสอบปากคำนางสาวอรนลินและครอบครัว ณ ที่พักของบุคคลทั้งหมดที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓
ปรากฏตามสูติบัตรประเภท ท.ร.๓ ออกโดยนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ ให้แก่เด็กหญิงอรนลิน ปานาทีว่า เด็กหญิงอรนลินเกิดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ ณ โรงพยาบาลแม่และเด็กเชียงใหม่ จากนางชมพู่ บุรีรมย์ คนสัญชาติลาว และนายปรีชา ปานาที คนสัญชาติไทย จะเห็นว่า สูติบัตรนี้ระบุว่า เด็กหญิงอรนลิน "ยังไม่ได้สัญชาติ" สูติบัตรนี้ระบุว่า อรนลินถูกเพิ่มชื่อ "เข้าทะเบียนคนบ้านกลาง แขวงเม็งราย สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่" นอกจากนั้น สูติบัตรนี้ยังระบุว่า อรนลินมีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๗ ปรากฏตามทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ซึ่งอำเภอเวียงป่าเป้าออกให้แก่นายปรีชา ปานาที ระบุว่า นายปรีชาเป็นคนสัญชาติไทยซึ่งเกิดเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๗ จากนางจิ๋นและนายปุ๊ด ซึ่งมีสัญชาติไทย นายปรีชามีชื่อในทะเบียนบ้านประเภท ท.ร.๑๔ ณ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย นอกจากนั้น ยังปรากฏตามทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ซึ่งอำเภอเวียงป่าเป้าออกให้แก่นายปรีชา ปานาที อีกว่า นายปรีชาและนางชมพู่มีบุตรอีก ๒ คน กล่าวคือ (๑) เด็กชายพสิษฐา ปานาที ซึ่งเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๘ และ (๒) เด็กหญิงกนกรัชต์ ปานาที ซึ่งเกิดที่จังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เด็กทั้งสองถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรไทยในสถานะคนสัญชาติไทย มิได้ตกอยู่ในสถานะคนต่างด้าวดังเช่นนางสาวอรนลิน นายปรีชาได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยกับนางชมพู่ ณ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๗ กรฏาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งส่งผลให้บุตรทั้งสามมีสถานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา ความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนางสาวอรนลินและน้องอีก ๒ คนจึงเริ่มต้นตั้งแต่วันที่บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใน พ.ศ.๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้ความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาย้อนหลังไปมีผลตั้งแต่เกิด จึงสรุปในวันนี้ได้ว่า ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๑ นางสาวอรนลินและน้องอีก ๒ คนจึงเริ่มต้นตั้งแต่เกิด ครอบครัวของนางสาวอรนลินเข้ามาอาศัยอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพราะบิดากับมารดาต้องมารับจ้างทำงานที่สมุทรปราการ นอกจากนั้น บิดารวมถึงน้อง ๒ คนของอรนลินมีชื่อในทะเบียนบ้านที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีแล้ว ในขณะที่มารดายังมีชื่อในแบบพิมพ์ประวัติที่ออกโดยอำเภอเวียงป่าเป้า ส่วนนางสาวอรนลินก็ยังมีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง ณ แขวงเม็งราย สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน นางสาวอรนลินเรียนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (วิทยาเขตสมุทรปราการ) ในส่วนปัญหาความไร้สัญชาติของอรนลิน อรนลินและบิดาได้ไปร้องขอเพิ่มชื่ออรนลินในทะเบียนบ้านประเภทคนอยู่ถาวร (ท.ร.๑๔) ต่ออำเภอพานทองแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของอำเภอดังกล่าวยังไม่รับคำร้องของอรนลิน
ประเด็นแห่งการศึกษา นางสาวอรนลินมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยหรือไม่ ? หากไม่มี จะต้องทำอย่างไร ? ความเห็นทางกฎหมายของผู้เขียน ปรากฏตามเอกสารที่คุณอรนลินส่งมาให้ศึกษา ผู้เขียนใคร่จะมีความเห็นทางกฎหมายเพื่อนางสาวอรนลิน ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) ความเห็นทางกฎหมายต่อสถานะแห่งสิทธิในสัญชาติไทยของนางสาวอรนลิน (๒) ความเห็นทางกฎหมายต่อการพิสูจน์สัญชาติไทยของนางสาวอรนลิน (๓) ความเห็นทางกฎหมายต่อการตรวจสอบปัญหาความไร้รัฐของนางสาวอรนลิน และ (๔) ความเห็นทางกฎหมายต่อสิทธิทางการศึกษาของนางสาวอรนลิน ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางชมพู่และนายปรีชามิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายก่อนการเกิดของนางสาวอรนลิน จึงฟังได้ว่า อรนลินมีข้อเท็จจริงครบตามที่ ปว.๓๓๗ กำหนด ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) อรนลินเกิดในประเทศไทยในขณะที่ ปว.๓๓๗ มีผล (๒) อรนลินเกิดจากมารดาต่างด้าว โดยไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และ (๓) มารดาต่างด้าวของอรนลินมีลักษณะการเข้าเมืองแบบไม่ถาวร เพราะเข้าเมืองไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายคนเข้าเมือง ผลก็คือ อรนลินไม่มีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนแม้จะเกิดในประเทศไทย สิทธิประการเดียวที่มี ก็คือ สิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทยนี้จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากรัฐมนตรีนี้ยังไม่มีคำสั่งอนุญาต อรนลินก็จะไม่ได้รับสิทธิในสัญชาติไทยนี้ ประเด็นแห่งสถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติของนางสาวอรนลินประการที่สองที่ต้องสรุป ก็คือ นางสาวอรนลินย่อมได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยผลของมาตรา ๑๑ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ทั้งนี้ เพราะนางสาวอรนลินไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ เพราะบิดาของนางสาวอรนลินเป็นคนสัญชาติไทย แม้จะมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม การมีบิดาเป็นคนสัญชาติไทยทำให้นางสาวอรนลินไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ จึงมีผลทำให้นางสาวอรนลินกลับมีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนเพราะเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย การปฏิรูปกฎหมายสัญชาติใน พ.ศ.๒๕๓๕ จึงทำให้นางสาวอรนลินได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา อันทำให้ความไร้สัญชาติโดยข้อกฎหมายสิ้นสุดลง เหลือเพียงความไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริง เนื่องจากการเพิ่มชื่อของอรนลินในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยอันเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนราษฎรยังไม่เกิด โดยผลของมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เนื่องจากมาตรานี้กำหนดให้เอามาตรา ๗ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔)พ.ศ.๒๕๕๑ ย้อนหลังมาใช้กับคนที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ มีผล ซึ่งมาตรานี้มีผลทำให้บุตรของบิดาสัญชาติไทยนอกสมรสที่เกิดก่อนกฎหมายใหม่ได้สัญชาติไทยจากบิดาเช่นเดียวกับบุตรในสถานการณ์เดียวกันที่เกิดภายใต้กฎหมายใหม่ เมื่อฟังว่า นางสาวอรนลินมีบิดาเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่เกิด นางสาวอรนลินจึงได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดาในวันที่กฎหมายใหม่มีผล กล่าวคือ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ การใช้สิทธิในสถานะคนสัญชาติไทยประเภทนี้ย่อมจะได้เมื่อมีการปฏิบัติตามกฎกระทรวงตามมาตรา ๗ วรรค ๒ นี้ที่ออกมาเพื่อกำหนดวิธีการรับรองสัมพันธภาพระหว่างบิดาสัญชาติไทยและบุตรนอกสมรสตามกฎหมาย โดยสรุป อรนลินจึงมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดาตั้งแต่เกิด เพียงแต่ความสามารถที่จะมีสิทธิในสัญชาติไทยนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ความเป็นไปได้ในการจัดการปัญหานี้ ก็คือ นางสาวอรนลินจะต้องไปร้องขอพิสูจน์สัญชาติไทยที่มีอยู่ทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าวข้างต้นต่อนายทะเบียนราษฎร ซึ่งอาจเป็นไปได้ ๒ ทาง ก็คือ การจัดการปัญหาในขั้นตอนนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผลของการตรวจสอบว่า นางสาวอรนลินประสบความไร้รัฐหรือไม่ ? หากนางสาวอรนลินประสบความไร้รัฐเพราะตกหล่นจากทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ก็ควรจะต้องมีการบันทึกชื่อของอรนลินชั่วคราวในทะเบียนราษฎรไทยในระหว่างการพิสูจน์สัญชาติไทยที่มีอยู่ ซึ่งการจัดการที่ควรทำ ก็คือ (๑) การเพิ่มชื่อในทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงตามมารดา หรือ (๒) การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓ ประเภทคนอยู่ชั่วคราว หรือ (๓) การเพิ่มชื่อในทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรประเภทชนกลุ่มน้อยที่อพยพมานานแล้วที่ตกสำรวจ หรือบุคคลในสถาบันการศึกษาไทย ไม่ว่าจะบันทึกชื่อของนางสาวอรนลินในทะเบียนราษฎรในกรณีใดกรณีหนึ่ง ก็มีความจำเป็นที่รัฐไทยโดยนายทะเบียนราษฎรจะต้องออกเอกสารรับรองตัวบุคคลเท่าที่เป็นไปได้ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรให้แก่นางสาวอรนลินในขณะที่ยังพิสูจน์สัญชาติไทยมิได้ หากนางสาวอรนลินไม่ประสบความไร้รัฐเพราะปรากฏชื่อของนางสาวอรนลิน ณ ทะเบียนใดทะเบียนหนึ่งในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ซึ่งการจัดการที่ควรทำ ก็มีเพียงอย่างเดียวในขณะที่ยังพิสูจน์สัญชาติไทยมิได้ กล่าวคือ การออกเอกสารรับรองตัวบุคคลเท่าที่เป็นไปได้ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรให้แก่นางสาวอรนลิน ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์สัมพันธภาพระหว่างนางสาวอรนลินและนายปรีชาซึ่งเป็นบิดาที่มีสัญชาติไทย ยังไม่แล้วเสร็จ เราทราบว่า ในปัจจุบัน นางสาวอรนลินเรียนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (วิทยาเขตสมุทรปราการ) ซึ่งสถาบันการศึกษาดังกล่าวรับรองสิทธิทางการศึกษาของนางสาวอรนลินอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อเสนอเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่สังคมไทย ผู้เขียนได้เสนอให้มีกระบวนการเรียนรู้สาธารณะเกี่ยวกับปัญหาความไร้สัญชาติของนางสาวอรนลิน ซึ่งเป็น “กรณีตัวอย่าง” ของคนสัญชาติไทยที่ตกเป็นคนไร้สัญชาติทั้งที่มีข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนว่ามีสัญชาติไทย โดยการผู้เขียนมีข้อเสนอต่อ ๒ องค์กร กล่าวคือ (๑) สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch ในประการแรก ผู้เขียนเสนอให้ SWIT รับกรณีของนางสาวอรนลินเพื่อทำ test case และสร้าง “ต้นแบบองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาความไร้สัญชาติ” ซึ่ง SWIT ก็รับข้อเสนอของผู้เขียน และมอบให้นางสาวบงกช นภาอัมพร นักศึกษาปริญญาโทของสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าทำหน้าที่ศึกษาวิจัยและดำเนินการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติไทยให้แก่นางสาวอรนลิน ในประการที่สอง ผู้เขียนเสนอให้ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง เข้าร่วมดำเนินการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติไทยให้แก่นางสาวอรนลิน และใช้ประโยชน์ “ต้นแบบองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาความไร้สัญชาติ” ซึ่งนางสาวบงกชสร้างสรรค์ขึ้นจากกระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนา นอกจากนั้น ในกรณีที่อำเภอพานทองปฏิเสธที่จะบันทึกชื่อนางสาวอรนลินในสถานะคนสัญชาติไทย การจัดการปัญหาความไร้สัญชาติของนางสาวอรลินย่อมจะต้องใช้กระบวนการยุติธรรมทางศาลปกครอง ซึ่งในสถานการณ์นี้จำเป็นที่จะต้องร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟ้องต่อศาลปกครองแทนนางสาวอรนลิน ทั้งนี้ จะเป็นการทำ test case สำหรับบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามมาตรา ๒๕๗ (๓) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติว่า “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ....(๓) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง” ซึ่งการทำ test case ในกรณีหลังนี้จะนำมาซึ่งความชัดเจนในการจัดการปัญหาของคนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตที่ตกเป็นคนไร้สัญชาติ ซึ่งยังมีอีกหลายกรณีที่มีลักษณะเดียวกับนางสาวอรนลินและรอการจัดการจัดการปัญหา
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-07-01 11:22:22 |
[1] |