ReadyPlanet.com


ล้างมลทิน


เมื่อปี 2544 ศาลพิพากษาจำคุก 6เดือน ปรับ 10000 บาท โทษจำรอ 2 ปี

พ.ร.บ.ล้างมลทิน ปี2550

ผมจะได้รับอานิสงค์หรือไม่ครับ และสอบประวัติจะเจอมั้ยครับ

พอดีสอบติดที่ ปตท.

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้เคยพลาดผิด :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-18 08:36:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3273671)

ประวัติคุณยังอยู่ครับ แต่คุณไม่ขาดคุณสมบัติในเรื่องถูกลงโทษจำคุก และแม้ว่าไม่มี พ.ร.บ. ล้างมลทิน คุณก็ไม่ได้ถูกลงโทษจำคุกจริง ๆ

ปัจจุบัน ปตท เป็นบริษัท จำกัด (มหาชน) ยังมีหลักเกณฑ์พวกนี้อยู่อีกหรือครับ???

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-18 16:23:33


ความคิดเห็นที่ 2 (3273677)

ขอบคุณท่าน ทนายความ ลีนนท์

ผมขอถามต่อครับ ในช่วงทดลองงาน 6 เดือน จะมีขั้นตอนตรวจประวัติพิมพ์นิ้วมือ ที่ สตช.

ประวัติผมยังคงอยู่ใช่ไหมครับ แล้วจะมีคำต่อท้ายว่า "ล้างมลทินแล้ว"หรือเปล่าครับ

ทราบมาว่าอ้างอิง พ.ร.บ.คุณสมบัติพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2518 ครับ

แล้วผมจะได้บรรจุมั้ยครับ

ขอบคุณท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เคยพลาดผิด (i_tonchy22-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-18 17:36:19


ความคิดเห็นที่ 3 (3273701)

ประวัติผมยังคงอยู่ใช่ไหมครับ แล้วจะมีคำต่อท้ายว่า "ล้างมลทินแล้ว"หรือเปล่าครับ

ตอบ-- ประวัติที่ สตช ไม่มีใครเข้าไปข้องเกี่ยวแก้ไขหรอกครับ แต่การออกหนังสือประวัติอาชญากรรม เขาจะมีต่อท้าย "ล้างมลทินแล้ว" หรือไม่ ผมไม่มีประสบการณ์ กำลังตรวจสอบข้อมูลให้นะครับ คอยติดตามคำตอบนะครับจะมาตอบภายหลัง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-18 20:58:31


ความคิดเห็นที่ 4 (3274027)

ข้อมูลประวัติอาชญากรลบได้หรือไม่

ปกติแล้วหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามจริงเพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลแม้ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรก็ตามผู้อุทธรณ์รายหนึ่งได้บรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งได้ส่งประวัติไปตรวจสอบตามระเบียบราชการพบว่า มีประวัติซึ่งเคยถูกจับกุมข้อหาการพนันเก็บอยู่ในสารบบพิมพ์ลายนิ้วมือและฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของกองทะเบียนประวัติอาชญากร จึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ลบข้อมูลดังกล่าวออก   สตช.ปฏิเสธโดยแจ้งให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำประวัติผู้ต้องหาคดีอาญาออกจากสารบบว่า ต้องปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติว่า มิได้เป็นผู้กระทําความผิด แต่หากเป็นการกระทําความผิดขณะเป็นเด็กหรือเยาวชนต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขโดยศาลมิได้มีคำพิพากษาลงโทษถึงจำคุกหรือมีการเปลี่ยนแปลงโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนแต่กรณีของผู้อุทธรณ์ ศาลพิพากษาว่า กระทําความผิดให้ลงโทษปรับ ประกอบกับขณะที่กระทําความผิดมีอายุ 28 ปี ไม่เข้าหลักเกณฑ์กรณีผู้กระทําผิดขณะเป็นเด็กหรือเยาวชน จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขในการทําลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือตามประมวลระเบียบการตำรวจได้   คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้อุทธรณ์กระทําความผิดขณะมีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งมิใช่การกระทําความผิดในขณะที่เป็นเยาวชน และศาลมีคำพิพากษา ให้ปรับเป็นเงิน 1,000 บาท การที่ สตช.จัดเก็บข้อมูลประวัติการกระทําความผิดไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากรจึงชอบแล้วแต่การที่ สตช.บันทึกรายงานการจับกุมตามที่สถานีตำรวจเจ้าของเรื่องรายงานก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาของศาล ต่อมาเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ผู้อุทธรณ์มีความผิดและให้ลงโทษปรับ สถานีตำรวจมิได้รายงานให้กองทะเบียนประวัติทราบ และเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทิน รายละเอียดเกี่ยวกับการล้างมลทินก็มิได้มีข้อมูลปรากฏ ถือว่า สตช.ไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอและต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลประวัติของผู้อุทธรณ์ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงคณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ยกอุทธรณ์ และให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร บันทึกรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดีตามคำพิพากษา รวมทั้งบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่ผู้อุทธรณ์ได้รับการล้างมลทินไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากร เมื่อบันทึกเรียบร้อยแล้ว ให้แจ้งผู้อุทธรณ์ทราบ โดยก่อนที่จะแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลดังกล่าว หน่วยงานจะให้ข้อมูลในทะเบียนประวัติอาชญากรเดิมแก่ผู้อื่นไม่ได้

ข้อมูลจาก มติชน

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-21 21:35:32


ความคิดเห็นที่ 5 (3276265)

 ผมเคยถูกจับในคดีร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประมาณปี 43หรือ44(ซ้อนมอไซค์เพื่อนครับเสียใจมากเลย) ศาลตัดสินจำคุกครับ

แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อน ผมไม่มีสิทธิ์สอบข้าราชการแล้วใช่มั๊ยครับแล้วถ้าเป็นงานบริษัทเค้าจะสามารถตรวจสอบประวัติผมได้หรือไม่ครับ พรบ.ล้างมลทิลมีผลอย่างไรกับผมบ้างครับ ความจริงแล้วผมอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ครับ คือว่าผมทำงานรับใช้ประเทศซะส่วนมากครับ

ผมเคยเป็นทหารเกณฑ์สองปีทำงานอุทยานแห่งชาติสองปีตอนนี้อายุยี่สิบแปดอยากไปเป็นทหารรักษาพระองค์ครับผมรักพระเจ้าอยู่หัวมากครับ

พอมีทางเป็นได้หรือไม่ครับตอนผมถูกจับอายุประมาณ สิบแปดหรือสิบเก้าครับมันเป็นปัญหาคาใจผมมากๆครับไม่เคยปรึกษาใครเลยครับตอนนี้ผมก้อเรียนรัฐศาสต์ใกล้จบแล้วแต่คงไม่มีสิทธิ์สอบอะไรแต่ก้อเรียนไปเพราะใจรักอย่างผมนี่สามารถทำงานด้านไหนได้บ้างครับถ้าเกี่ยวกับงานราชการ ขอบพระคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น รักแผ่นดิน (kla_kla009-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-09 00:07:33


ความคิดเห็นที่ 6 (3284165)

กราบเรียนท่านทนายคับ

ผลโดยจับยาบ้า ตัง้แต่ ปี43 คือโทษจำคุก 6 เดือน รอลงอาญา 2 ปี แต่โทษจำคุกคื่อจ่ายเป็นค่าปรับแทน

แล้วตรวจสอบรายพิมพ์นิ้วมือเจอประวัติเป็นคดีแดง ไม่ทราว่าจะมีผลต่อการเข้ารับราชการหรือเปล่าคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น 111 วันที่ตอบ 2011-02-11 12:50:53


ความคิดเห็นที่ 7 (3287296)
ผมถูกให้ลาออกจากที่ทำงานเพราะว่ามีประวัติอาชญากรเก่าๆที่ผ่านมา แต่มันสินสุดคดีแล้วผมจะทำอย่างไรดี
ผู้แสดงความคิดเห็น คนทำงาน (www-dot-narathip_aey-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-09 19:36:45


ความคิดเห็นที่ 8 (3292024)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใครได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.ล้างมลทิน

คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย

 

แม้มีการประกาศ พ.ร.บ.ล้างมลทินไปแล้วหลายครั้งและครั้งล่าสุดคือ พ.ร.บ.ล้างมลทินในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 แต่หน่วยงานของรัฐยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติว่าใครบ้างที่จะได้รับอานิสงส์จากกฎหมายฉบับนี้

ล่าสุด การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 321/2551) ความว่า ตามมาตรา 5 ของกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือได้รับทัณฑ์บนทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ

กฟน.ได้ลงโทษพนักงานที่ขาดงานในวันที่ 21-29 สิงหาคม 2550 โดยงดจ่ายเงินเดือนในวันที่ขาดงาน ว่ากล่าวตักเตือนและทำทัณฑ์บนการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2551

กฟน.จึงขอหารือ ดังนี้

1.พนักงานที่ขาดงานดังกล่าวจะถือว่าเข้าข่ายเป็นกรณีถูกลงโทษทางวินัย ซึ่งจะได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 หรือไม่ เนื่องจากการถูกว่ากล่าวตักเตือนและทำทัณฑ์บน มิใช่โทษทางวินัยตามข้อ 31 ของข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วยวินัยและการลงโทษพนักงาน พ.ศ.2533 ซึ่งมี 6 สถาน คือ (1) ไล่ออก (1) ปลดออก (3) ให้ออก (4) ลดขั้นเงินเดือน (5) ตัดเงินเดือน และ (6) ภาคทัณฑ์

2.การขาดงานของพนักงานดังกล่าวจะถูกลบล้างไปด้วยและมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2551 หรือไม่

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) มีความเห็นดังนี้

หนึ่ง เห็นว่าโทษทางวินัยตามข้อ 31 ของข้อบังคับ กฟน. กำหนดไว้ 6 ระดับ ดังนั้น การว่ากล่าวตักเตือนและทำทัณฑ์บน ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติภายในของ กฟน. จึงไม่ใช่การลงโทษทางวินัย และทำให้พนักงานดังกล่าวไว้ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทิน

ทั้งนี้ มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) เกี่ยวกับกรณีที่มิได้เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยไว้ในเรื่องเสร็จที่ 69/2544

ดังนั้น แม้ว่าการกระทำของพนักงานในกรณีนี้เป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นความผิดทางวินัย แต่เมื่อไม่มีการลงโทษทางวินัยจึงไม่มีโทษทางวินัยที่จะได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว

สอง เห็นว่าตามมาตรา 5 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัย โดยถือว่าผู้นั้นไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยนั้น มิได้ลบล้างความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยไปด้วย เทียบตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539

ดังนั้น การขาดงานของพนักงานดังกล่าวย่อมไม่ถูกลบล้างไปด้วย กรณีจึงเป็นไปตามระเบียบ กฟน.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ.2537 ที่จะทำให้ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน

แหล่งที่มา: มติชน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2011-04-22 17:21:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล