ReadyPlanet.com


พรากผู้เยาว์


 มีน้องชายอายุ 17 ปีได้พาเด็กผู้หญิงอายุ 14 ปี มาอยู่ที่บ้านตอนกลางคืน 2-3 ครั้งโดยไปรับฝ่ายหญิงที่บ้าน แต่ว่าตอนนี้ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงได้มีการแจ้งความกับตำรวจไว้แล้ว และพยายามจะเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 70,000 บาท อยากทราบว่า 
1. น้องชายจะได้รับโทษอย่างไรบ้างค่ะ 
2. ถ้าผู้ปกครองของฝ่ายหญิงได้ค่าเสียหายตามที่เรียกร้องไปแล้ว จะสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่เพราะตามที่อ่านมาเหมือนจะถอนฟ้องไม่ได้ เพราะว่าถึงอย่างไรหากแจ้งความแล้วยังไงก็ต้องขึ้นศาลและต้องเสียเงินอีกรอบใช่ไหมค่ะ
3. แม่ของฝ่ายเด็กหญิงไม่พูดอะไรเลยค่ะ มีแ่ต่ป้าของเด็กหญิงคนนั้นพูด ทั้ง ๆ ที่ตำรวจบอกว่าแม่ของเด็กหญิงนั้นต้องเป็นคนพูด แต่แม่เค้าก็ไม่พูดอะไรบอกว่าแล้วแต่ป้าอย่างนี้จะเป็นอย่างไรค่ะ 
4. ตอนนี้ตามที่พูดคุยขั้นต้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ รู้สึกว่าฝ่ายนั้นเขาจะพยายามเรียกร้องเงินอย่างเดียวจะทำอย่างไรดีค่ะ พอดีทางบ้านยากจนค่ะ
5. ถ้าได้ขึ้นศาลจริงๆ ทางเราไม่มีทนาย ศาลจะมีทนายให้ไหมค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ mumu :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-03 02:24:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3321581)

1. น้องชายจะได้รับโทษอย่างไรบ้างค่ะ 

ตอบ -มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

 

2. ถ้าผู้ปกครองของฝ่ายหญิงได้ค่าเสียหายตามที่เรียกร้องไปแล้ว จะสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่เพราะตามที่อ่านมาเหมือนจะถอนฟ้องไม่ได้ เพราะว่าถึงอย่างไรหากแจ้งความแล้วยังไงก็ต้องขึ้นศาลและต้องเสียเงินอีกรอบใช่ไหมค่ะ

ตอบ - เป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่สามารถถอนการร้องทุกข์ได้ ส่วนค่าเสียหายในทางแพ่งเป็นเรื่องที่ทางผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอา หากเขาไม่ติดใจแล้ว ศาลก็จะไม่ดำเนินการบังคับให้เสียเงินอีกตามที่คุณถามมา

3. แม่ของฝ่ายเด็กหญิงไม่พูดอะไรเลยค่ะ มีแ่ต่ป้าของเด็กหญิงคนนั้นพูด ทั้ง ๆ ที่ตำรวจบอกว่าแม่ของเด็กหญิงนั้นต้องเป็นคนพูด แต่แม่เค้าก็ไม่พูดอะไรบอกว่าแล้วแต่ป้าอย่างนี้จะเป็นอย่างไรค่ะ 

ตอบ - ในการนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลเป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายซึ่งฝ่ายผู้เสียหายก็เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ดังนั้นใครจะพูดหรือไม่พูดอะไร อยู่ที่รูปคดีในศาลว่าจะเอาผิดแก่คุณผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ ดังนั้นจึงไม่ใช่หน้าที่ของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะต้องไปกังวล ผมเข้าใจว่าเรื่องการเจรจาต่อรองในชั้นตำรวจนั้นแม่ของฝ่ายเด็กหญิงอาจไม่มีความคล่องตัวในการสื่อสารก็ให้ผู้อื่นพูดแทนได้ครับ

4. ตอนนี้ตามที่พูดคุยขั้นต้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ รู้สึกว่าฝ่ายนั้นเขาจะพยายามเรียกร้องเงินอย่างเดียวจะทำอย่างไรดีค่ะ พอดีทางบ้านยากจนค่ะ

ตอบ - การบรรเทาความเสียหายเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับจำเลย หากจำเลยได้บรรเทาความเสียหายให้กับผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจหรือส่วนหนึ่งแล้ว มีผลในการที่ศาลจะกำหนดโทษหนักเบาตามที่ศาลเห็นว่าจำเลยสำนึกผิดและได้บรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว หากจำเลยไม่ต้องการจ่ายค่าเสียหายก็เป็นเรื่องที่ทางผู้เสียหายจะไปว่ากล่าวในทางคดีและบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

5. ถ้าได้ขึ้นศาลจริงๆ ทางเราไม่มีทนาย ศาลจะมีทนายให้ไหมค่ะ

ตอบ - ในวันที่พนักงานอัยการนำตัวจำเลยส่งฟ้องศาลในวันแรก ศาลจะสอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ต้องการให้ศาลจัดหาทนายความให้หรือไม่ ถ้าจำเลยต้องการ ศาลก็จะจัดหาทนายความให้ครับ

 


 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-12-29 08:16:49



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล