ReadyPlanet.com


มรดก


ผู้ตายมีทรัพย์สินคือบ้านพร้อมที่ดิน ซึ่งซื้อมาก่อนที่จะแต่งงาน อยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้หญิงคนหนึ่ง(แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน) แล้วผู้หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนฯก็ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก โดยเธออ้างว่าทรัพย์สินนี้เธอทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย เธอพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่า เธอคบหากับผู้ตายนานแล้ว มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์นั้น และเธอก็บอกว่าทรัพย์นั้นต้องแบ่งให้เธอครึ่งหนึ่ง(เป็นสินสมรส) รบกวนคุณทนายช่วยให้ความกระจ่างในการแบ่งทรัพย์ด้วยนะคะ  ว่าต้องแบ่งให้ผู้หญิงคนนี้รึป่าว   (ผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และ2นะคะ) กลุ้มใจมากเลยคุณทนายช่วยด้วยนะคะปัจจุบันผู้หญิงคนนี้ทำงานในศาลที่เจ้ามรดกมีทรัพย์อยู่ด้วย

                                                                                                   

 



ผู้ตั้งกระทู้ จิรัชญา :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-07 16:31:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3283620)

*ผู้ตายมีทรัพย์สินคือบ้านพร้อมที่ดิน ซึ่งซื้อมาก่อนที่จะแต่งงาน

*เธอพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่า เธอคบหากับผู้ตายนานแล้ว มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์นั้น

การอ้างข้อเท็จจริง 2 ฝ่ายแตกต่างกัน หน้าที่ของคู่กรณีต้องนำสืบสนับสนุนคำร้องและคำคัดค้าน ให้ศาลฟังยุติเสียก่อนว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่คู่สามีภริยาทำมาหาได้ร่วมกัน

คำว่าแต่งงานของฝ่ายหนึ่งหมายความว่าอย่างไร??  การจัดงานเลี้ยงตามประเพณี อาจไม่ยุติว่าเขาเริ่มเป็นหุ้นส่วนชีวิตกันตั้งแต่วันจัดงานเลี้ยงก็ได้ ถ้าหากความจริงเป็นว่า เขาสองคนใช้ชีวิตร่วมกันก่อนเปิดเผยให้ญาติผู้ใหญ่รู้ แล้วมาจัดงานเลี้ยงภายหลังในหลายปีผ่านมา ก็อาจเป็นได้ที่ศาลอาจฟังว่าฐานะหุ้นส่วนชีวิตได้เริ่มนับตั้งแต่วันนั้นแล้ว ภรรยาอาจอ้างดังนั้นได้

ในการพิจารณาคดี ศาลจะไม่ทราบข้อเท็จจริงจนกว่าจะได้ไต่สวนคำร้องและคำคัดค้านให้สิ้นกระแสความ และตัดสินชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของ 2 ฝ่าย และถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยก็อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ครับ

*และเธอก็บอกว่าทรัพย์นั้นต้องแบ่งให้เธอครึ่งหนึ่ง(เป็นสินสมรส)

ทรัพย์ดังกล่าวไม่ใช่สินสมรสครับ แต่เป็นทรัพย์ที่สามี-ภรรยา ไม่จดทะเบียน เป็นเจ้าของรวม  ก็มีสิทธิอยู่คนละครึ่งหนึ่งถ้าหากพิสูจน์ได้ตามที่อ้างครับ

* รบกวนคุณทนายช่วยให้ความกระจ่างในการแบ่งทรัพย์ด้วยนะคะ  ว่าต้องแบ่งให้ผู้หญิงคนนี้รึป่าว

--จะแบ่งทรัพย์สินได้ก็ต้องมีข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงของ 2 ฝ่าย อ้างไปมาก็คงยังแบ่งไม่ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-07 18:01:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล