
ถูกแจ้งจับคดีพรากผูเเยาว์ | |
น้องชายถูกแจังจับคดีพรากผู้เยาว์ คือผู้หญิงอายุ 17 ปี น้องชายอายุ 27 ปี คือน้องชายทำงานที่ต่างจังหวัดแล้วรู้จักกันซึ่งช่วงแรกพ่อกับแม่ของฝ่ายหญิงก็เห็นว่าลูกสาวตัวเองไปมาหาสู่กับน้องชายอยู่ช่วงหนึ่ง ประมาณ 2 เดือน จากนั้นหญิงก็มาบอกน้องชายให้พ่อกับแม่มาคุยว่าจะเอายังไง เพราะเขาบอกว่ามันผิดผีของเขา โดยให้เวลา 3 เดือน น้องชายโทรมาบอกพ่อกับแม่ แต่ว่าเวลาผ่านไปแค่ 2 วันเท่านั้น ทางฝ่ายพ่อของผู้หญิงก็แจ้งความจับน้องชาย โดยแจ้งขอหาพรากผู้เยาว์ และกักขัง ทั้งที่เป็นฝ่ายผู้หญิงมาหาผู้ชายเอง (ที่พักของน้องชายและบ้านของฝ่ายหญิงอยู่ใกล้กัน) และมีพยายาน และไม่ได้กักขังอะไร พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย 100,000 บาท แต่ว่าฝ่ายหญิงให้ความว่าน้องชายไม่ได้บังคับขืนใจแต่สมย่อมเองและไม่ได้กักขังตน ซึ่งการแจ้งความเป็นพ่อฝ่ายหญิงแจ้งความ ซึ่งแม่ของฝ่ายหญิงเพียงอยากให้ทางเรามาคุยกันให้ถูกต้องเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้จับน้องชาย และเมื่อทางเราโทรไปคุยกับพ่อของฝ่ายหญิงก็จะเอาแต่เงินอย่างเดียว ไม่เอาน้องชายไม่ให้รับผิดชอบลูกสาวทั้งที่แม่และลูกสาวต้องการให้รับผิดชอบ อย่างนี้ก็มีด้วยเหรอคะพ่อแบบนี้ ทั้งที่ลูกสาวก็บอกว่ารักน้องชายมากไม่ได้ต้องการให้เป็นแบบนี้ และเราก็ยังไม่ได้บอกว่าเราจะไม่รับผิดชอบเลย ข้อสงสัยคือ 1. การแจ้งความลงบันทึกประจำวันไปแล้วสามารถไกล่เกลี่ยได้แล้วสามารถถอนแจ้งความได้ไหม 2. การแจ้งความในกรณีกักขังหน่วงเหนียวซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงถือเป็นการแจ้งความเท็จไหมค่ะ ( ในกรณีที่ผู้หญิงให้ความว่าฝ่ายชายไม่ได้กักขังหน่วงเหนียว) 3. เท่าที่รู้มาการพรากผู้เยาว์เป็นคดีอาญา ไม่สามารถถอนแจ้งความได้ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะคุยกันได้และรับผิดชอบฝ่ายหญิง แล้วน้องชายต้องติดคุกไหมค่ะ ถ้าไม่สามารถถอนแจ้งความได้ 4. ปรกติตำรวจจะสอบปากคำของฝ่ายหญิงที่มีอายุเพียง 17 ปี ไหมค่ะ หรือว่าจะฟังแต่พ่อกับแม่เท่านั้น 5. มีอะไรบ้างที่ทางเราสามารถช่วยน้องชายได้ และไม่ให้เสียเปรียบกับคำว่าพรากผู้เยาว์ ขอคำแนะนำค่ะ อาจจะเล่ายาวมากไป แต่ก็อยากขอปรึกษาและคำแนะนำที่ชัดเจน ขอบมากค่ะ
| |
ผู้ตั้งกระทู้ พี่สาว :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-26 23:03:56 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3286066) | |
1. การแจ้งความลงบันทึกประจำวันไปแล้วสามารถไกล่เกลี่ยได้แล้วสามารถถอนแจ้งความได้ไหม ตอบ- ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์เป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่สามารถยอมความกันได้ จึงไม่อาจถอนแจ้งความรุกทุกข์ 2. การแจ้งความในกรณีกักขังหน่วงเหนียวซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงถือเป็นการแจ้งความเท็จไหมค่ะ ตอบ-- ถ้าไม่เป็นความจริงก็เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้ครับ ( ในกรณีที่ผู้หญิงให้ความว่าฝ่ายชายไม่ได้กักขังหน่วงเหนียว) 3. เท่าที่รู้มาการพรากผู้เยาว์เป็นคดีอาญา ไม่สามารถถอนแจ้งความได้ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะคุยกันได้และรับผิดชอบฝ่ายหญิง แล้วน้องชายต้องติดคุกไหมค่ะ ถ้าไม่สามารถถอนแจ้งความได้ ตอบ-- ถ้าไม่มีเหตุบรรเทาโทษ ก็คงต้องติดคุกเพราะคดีพรากผู้เยาว์เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกไว้และก็ถือว่าแรงพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับคดีอื่น ๆ เพราะที่ผ่านมาคนทั่วไปไม่คำนึงถึงความผิดฐานนี้กันเท่าไหร่เพราะเหตุไม่เข้าใจกฎหมายเท่าที่ควรโดยคิดเอาว่าฝ่ายหญิงเต็มใจมาหาเอง 4. ปรกติตำรวจจะสอบปากคำของฝ่ายหญิงที่มีอายุเพียง 17 ปี ไหมค่ะ หรือว่าจะฟังแต่พ่อกับแม่เท่านั้น ตอบ-- ก็จะสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน และน้องเองก็เป็นผู้เสียหายในคดีกระทำอนาจารกับหญิงอายุยังไม่เกิน 18 ปีด้วย แต่เป็นความผิดอันยอมความได้ คือถอนคำร้องทุกข์ได้ มาตรา 283ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 5. มีอะไรบ้างที่ทางเราสามารถช่วยน้องชายได้ และไม่ให้เสียเปรียบกับคำว่าพรากผู้เยาว์ ตอบ-- คงตอบยากนะครับ เพราะตามพฤติการณ์ที่เล่ามานั้น แม้ผู้หญิงมาหาเอง แต่ถ้าได้ความว่ามีการนัดแนะกันย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์แล้ว ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากันในทางคดี ส่วนเรื่องกักขังหน่วงเหนี่ยวก็คงไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับน้องผู้หญิงว่าจะให้การเป็นประโยชน์กับฝ่ายเราหรือฝ่ายพ่อเขา ถ้าเป็นเราคงไม่อยากให้พ่อเดือดร้อนเพราะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อะไรก็เกิดขึ้นได้) | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-27 10:58:09 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3286068) | |
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ก็เป็นความผิดแล้ว แม้เด็กจะยินยอมก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กนั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยโดยมีผลถึงการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยก็หาไม่ ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทนเด็กได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550 อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-02-27 11:04:42 |
ความคิดเห็นที่ 4 (3286070) | |
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย พาหญิงอายุ 17 ปี ไม่เกิน 18 ปี ไปโดยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยา โดยฝ่ายชายไม่มีภริยาอยู่ก่อน ดังนั้นฝ่ายชายไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2548 อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่ครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-27 11:11:36 |
[1] |