ReadyPlanet.com


การหมั้นและการมัดจำต่างกันอย่างไร


สวัสดีคะ  หนูมีปัญหาจะถามคะ  หนูอายุ  30  ปีหนูคบผู้ชายอยู่คนหนึ่ง  เริ่มตั้งแต่ มกราคม  52  ประมาณกลางมีเค้าได้มาถามเรื่องสู่ขอกับพ่อและแม่  โดยที่ไม่ได้ถามหนูเลย  หนู คุยกับพ่อแม่ก้อแล้วแต่พ่อแม่  เป็นอันว่าตกลง แต่เค้าไม่ได้บอกว่าจะพาพ่อแม่มาขอตอนใหน  ประมาณ  18  ธันวาคม  2553  เค้าได้พาพ่อแม่มาขอ  โดยมีผู้ใหญ่บ้าน   ชาวบ้านมาเป็นพยาน  โดยตกลงกันว่า  ค่าสินสอด 100,000.-  บาท  ทอง  1  บาท  จะแต่งเดือน  มิถุนายน  2554  โดยพ่อแม่ฝ่ายชายได้วางเงินมัดจำไว้ 10,000.-  บาท  ซึ่งฝ่ายชายได้อยู่ที่บ้านหนูคะ  และเมื่อ  28  เดือนมกราคม  2554  ฝ่ายชายได้กลับไปอยู่  โดยไม่ติดต่อกลับเลย  ผ่านไป  10  วัน  หนูได้โทร.ถาม  เค้าบอกว่าพ่อแม่ไม่ให้กลับมาที่บ้านหนูแล้ว  ให้ไปหางานทำอยู่ที่อื่น  ซึ่งเค้าก้อยืนยันว่าไม่กลับ  หนูถามว่าแล้วเดือน  6  จะเอายังงัยเค้าบอกว่าพ่อแม่ไม่มีเงินและพ่อแม่ไม่ให้กลับ  หนูรับราชการอยู่ อบต.  คะ  ฝ่ายชายยังไม่ทำงานเป็นหลักแหล่งตอนนี้หางานทำอยู่ที่ขอนแก่น  อยากทราบว่าจะมีกฏหมายขอใดช่วยหนูสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือสินใหมทดแทนได้หรือป่าวและจะต้องดำเนินการอย่างไร  หนูอ่านกฏหมายเรื่องหมั้นก้อไม่แน่ใจ  อยากได้ความกระจ่างคะ  รบกวนด้วยคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ดอย :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-04 21:27:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3283287)

การมัดจำค่าสินสอด 10.000 บาท ไม่ใช่การหมั้นครับ เพราะการหมั้นต้องมีการให้ของหมั้นกัน และของหมั้นนั้นตกแก่หญิงที่เป็นคู่หมั้น แต่เงิน 10.000 บาท ไม่ได้ตกแก่หญิงคู่หมั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของสินสอดที่ได้ตกลงกันไว้ 100.000 บาท ดังนั้นจึงไม่มีการหมั้นจะเรียกร้องค่าทดแทนในกรณีที่ผิดสัญญาหมั้นไม่ได้ครับ

มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-05 01:49:08


ความคิดเห็นที่ 2 (3283392)

สัญญากู้ยืมที่ฝ่ายชายทำให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเป็นเงิน 5,000 บาท แทนของหมั้นเพราะฝ่ายชายไม่มีเงินโดยมีเจตนาให้เงินตามสัญญากู้เป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กัน เจตนาไม่ได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของ ของหมั้น  และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว หากฟังว่าให้เป็นเบี้ยปรับ เมื่อผิดสัญญาหมั้น จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย หญิงจะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้ไม่มีมูลหนี้เดิมที่มีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ตามสัญญา
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1852/2506

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-06 16:59:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล