
จนหนทาง | |
โดนคดี ลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืน ได้ชดใช้ค่าเสียหายไปบางส่วนแล้ว กำลังจะไปขึ้นศาล ถ้านายจ้างไม่ยอมความจะเป็นอย่างไรต่อคะ | |
ผู้ตั้งกระทู้ สุ :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-22 02:29:31 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3348788) | |
ลักทรัพย์นายจ้าง พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา โจทก์ จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) วรรคแรก และลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นบทหนัก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-10-25 12:22:46 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3348789) | |
ลักทรัพย์นายจ้าง รอลงอาญา ผู้เสียหายไม่ประสงค์ดำเนินคดี จำเลยลักทรัพย์นายจ้างแม้พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แต่ให้การรับสารภาพของจำเลยและรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยว่าจำเลยไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้จัดการไร่ดูแลไร่ของผู้เสียหายซึ่งมีจำนวนหลายร้อยไร่มาหลายปี จำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา เพิ่งจะมีปัญหาคดีนี้ แต่ผู้เสียหายก็ปรับความเข้าใจกับจำเลยได้แล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ทั้งยังให้จำเลยทำงานกับผู้เสียหายต่อไปเช่นเดิมอีกด้วย จำเลยมีอายุ 45 ปีแล้ว การดำรงชีวิตที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่ามีนิสัยและความประพฤติในทางเสื่อมเสีย จำเลยมีครอบครัวและมีบุตร 3 คน ดังนั้น สาเหตุที่กระทำความผิดน่าจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คดีมีเหตุอันควรปรานีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี โจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักท่อพีอี (ท่อส่งน้ำ) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ทรัพย์ที่ถูกลักไปนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 (12) เพราะลำพังการลักทรัพย์อื่นของผู้มีอาชีพกสิกรรมย่อมไม่เป็นความผิดตามอนุมาตรานี้ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335 (12) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ในนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยฎีกา อนึ่ง เมื่อผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำความผิดแล้ว ก็ไม่อาจจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 | |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-10-25 12:31:17 |
[1] |