
กรณีบุคคลหายสาปสูญ(สาบสูญ) | |
คือในทางกฎหมายแพ่ง มาตรา61 ที่กำหนดให้บุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และพนักงานอัยการสามารถร้องขอต่อศาล กรณีบุคคลสาปสูญ คือผมอยากทราบว่า บุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในที่นี้ หมายถึง และครอบคลุมไปถึงใครบ้างครับ | |
ผู้ตั้งกระทู้ อดิศร (tor-dot-adisorn-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-12 15:48:06 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3301897) | |
หมายรวมถึงทายาททุกคนที่มีสิทธิรับมรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทผู้รับพินัยกรรม
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-22 19:16:06 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3301899) | |
ผู้มีส่วนได้เสียของคนสาบสูญ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ.เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาผู้ร้องซึ่งเป็นลุงของ ผ.ดังนี้หากศาลสั่งให้ผ. เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่า ผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 เพราะ ผ. ไปจากภูมิลำเนาเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่ ท. บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2478 ดังนั้น ถึง ท.จะมีสิทธิรับมรดกของผ.ในฐานะลุงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ. ถึงแก่ความตายนั้นท.ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ ________________________________ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายท้วม รอดรวย กับนางใย รอดรวย บิดาผู้ร้องมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวมทั้งหมด 6 คน คือ อำแดงนวม นายท้วม อำแดงตาดอำแดงโหมดหรือนางโหมด บ้านใหม่ อำแดงผันและนายเผื่อน อำแดงโหมดหรือนางโหมด มีบุตรชื่อนางผาด บ้านใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2469อำแดงโหมดหรือนางโหมดกับนางผาด ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอตลาดขวัญ (อำเภอปากเกร็ด) จังหวัดนนทบุรีได้ไปจากภูมิลำเนาและตราบเท่าเจ็ดปีไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร ผู้ร้องในฐานะบุตรของนายท้วมผู้เป็นลุงของนางผาดผู้สาบสูญและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายท้วมในมรดกของนางผาด จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า นางผาดเป็นคนสาบสูญ ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งไม่รับคำร้อง ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาในชั้นนี้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านางผาด บ้านใหม่เป็นคนสาบสูญหรือไม่ เห็นว่า ตามคำร้องที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของนางผาดแทนที่นายท้วมบิดาผู้ร้องซึ่งเป็นลุงของนางผาดนั้น เห็นว่า หากศาลสั่งให้นางผาดเป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่านางผาดถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปีนับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 เพราะนางผาดไปจากภูมิลำเนาเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่นายท้วมบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2478 ดังนั้น ถึงนายท้วมจะมีสิทธิรับมรดกของนางผาดในฐานะลุงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของนางผาดแทนที่นายท้วมเพราะขณะที่ถือว่านางผาดถึงแก่ความตายนั้น นายท้วมยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่านางผาด บ้านใหม่ เป็นคนสาบสูญ พิพากษายืน ( ชวลิต พรายภู่ - ตัน เวทไว - ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ )
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-07-22 19:37:12 |
ความคิดเห็นที่ 3 (3301900) | |
มาตรา 61 ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปีเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-07-22 19:38:05 |
[1] |