
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม | |
ผมโดนเลิกจ้างโดยวิธีไม่ต่อสัญญาบอกให้เหตุผลว่า "ยุบหน่วยงานและจะจ้างบริษัทจากภายนอกเข้ามาดูแลแทน" โดยผมทำงานตำแหน่งช่างไฟฟ้า ดูแลระบบ ปรับอากาศและด้านฝ่ายอาคารสถานที่ทั้งหมดด้วย โดยการทำงานต่อสัญญาเป็นปีต่อปี (1 ปี ทำสัญญาต่อ 1 ครั้ง) ทำงานต่อเรื่อยมาเป็นเวลา 8 ปีกว่าๆ แต่ปัญหาจริงๆคือ ผมทำงานที่สถานศึกษา โครงการการศึกษานานาชาติสาธิตเกษตร ซึ่งเคยได้ยินมาว่าหากเป็นหน่วยงานของรัฐนั้น ไม่สามารถฟ้องร้องอะไรได้เลยใช่หรือไม่ และความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ผมต้องยอมรับกับมันเท่านั้นเหรอครับ โดยสถานที่ทำงานผมเป็นโครงการที่แยกตัวออกมาจากโรงเรียนสาธิตเกษตร ใช้เงินจากรายได้ของตัวเลี้ยงตัวเอง มีการให้เงินเดือนที่สูงกว่าคือ ให้ปริญญาตรีสตาร์ท 10,000- บาท การปรับขั้นสำหรับเจ้าหน้าที่ขั้นละ 1,000- บาท ทำงานครบ 5 ปีมีโบนัสให้ 1 เดือน ครบ 8 ปีให้โบนัส 2 เดือน ครบ 10 ปี ให้ 3 เดือน ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ อยากรู้จริงๆครับ ผมไม่สามารถทำอะไรได้เลยใช่มั๊ยครับ จริงๆผมอยากได้ความเป็นธรรมครับ. | |
ผู้ตั้งกระทู้ เมธา (pee_golfpy-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-25 14:24:27 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3305971) | |
หน่วยงานของรัฐ มีลูกจ้างเป็น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ในกรณีของคุณที่ทำสัญญาปีต่อปี อยู่ในประเภทลูกจ้างชั่วคราว ทำสัญญาจ้างปีต่อปี ซึ่งจะไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ครับ ดังนั้นการทำสัญญาจ้างปีต่อปีเป็นไปในลักษณะสัญญาทางปกครองจึงผูกพันตามสัญญาจ้างทุกประการครับ เมื่อเขาไม่ต่อสัญญาให้อีกต่อไปก็อาจเป็นเพราะการจ้างตามสัญญาดังกล่าวเป็นไปตามการจ้างงานตามงบประมาณที่มีอยู่ก็ได้ครับ โดยสรุปก็ต้องรับสภาพไปตามสัญญาจ้างครับ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-09-04 10:32:44 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3306151) | |
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 3 ให้ยกเลิก บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน พระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ในอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับ พระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่ง ประเภทใดก็ได้
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-06 09:35:56 |
[1] |