ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339

หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้

 

มาตรา 314     อันการชำระหนี้นั้นท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระหรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
 

บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้นจะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่

 

มาตรา 315     อันการชำระหนี้นั้นต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์

 

มาตรา 316    ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต

 

มาตรา 317    นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตราก่อน การชำระหนี้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับนั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์เพียงเท่าที่ตัวเจ้าหนี้ได้ลาภงอกขึ้นแต่การนั้น

 

มาตรา 318    บุคคลผู้ถือใบเสร็จเป็นสำคัญ ท่านนับว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้ชำระหนี้แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้ ถ้าบุคคลผู้ชำระหนี้รู้ว่าสิทธินั้นหามีไม่หรือไม่รู้เท่าถึงสิทธินั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน

 

มาตรา 319    ถ้าศาลสั่งให้ลูกหนี้คนที่สามงดเว้นทำการชำระหนี้แล้วยังขืนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของตนเองไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ผู้ที่ร้องขอให้ยึดทรัพย์จะเรียกให้ลูกหนี้คนที่สามนั้นทำการชำระหนี้อีกให้คุ้มกับ ความเสียหายอันตนได้รับก็ได้
 

อนึ่ง ข้อความซึ่งกล่าวมาในวรรคข้างต้นนี้หาเป็นข้อขัดขวางใน การที่ลูกหนี้คนที่สามจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่เจ้าหนี้ของตนเองนั้นไม่

 

มาตรา 320     อันจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้นท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่

 

มาตรา 321    ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการ ชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
 

ถ้าเพื่อที่จะทำให้พอแก่ใจเจ้าหนี้นั้นลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อเจ้าหนี้ไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านมิให้ สันนิษฐานว่าลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้นแทนการชำระหนี้
 

ถ้าชำระหนี้ด้วยออกด้วยโอนหรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว

 

มาตรา 322    ถ้าเอาทรัพย์ก็ดี สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกก็ดีหรือสิทธิอย่างอื่นก็ดี ให้แทนการชำระหนี้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องและเพื่อการรอนสิทธิทำนองเดียวกับผู้ขาย

 

มาตรา 323    ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าบุคคลผู้ชำระหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่จะพึงส่งมอบ
 

ลูกหนี้จำต้องรักษาทรัพย์นั้นไว้ด้วยความระมัดระวังเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองจนกว่าจะได้ส่งมอบทรัพย์นั้น

 

มาตรา 324    เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้

 

มาตรา 325    เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้ในข้อค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ท่านว่าฝ่ายลูกหนี้พึงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพราะเจ้าหนี้ย้ายภูมิลำเนาก็ดีหรือเพราะการอื่นใดอันเจ้าหนี้ได้กระทำก็ดีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่าใดเจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ออก

 

มาตรา 326    บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นและถ้าหนี้นั้นได้ชำระสิ้นเชิงแล้วผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย ถ้าและเอกสารนั้นสูญหายบุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่ จะให้จดแจ้งความขอระงับหนี้ลงไว้ในใบเสร็จหรือในเอกสารอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ได้
 

ถ้าหนี้นั้นได้ชำระแต่บางส่วนก็ดีหรือถ้าเอกสารนั้นยังให้สิทธิอย่างอื่นใดแก่เจ้าหนี้อยู่ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้ชอบแต่ที่จะได้รับใบเสร็จไว้เป็นคู่มือและให้จดแจ้งการชำระหนี้นั้นลงไว้ในเอกสาร

 

มาตรา 327    ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆนั้นด้วยแล้ว


ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อการชำระต้นเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับดอกเบี้ยแล้ว


ถ้าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ได้เวนคืนแล้วไซร้ ท่านให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว

 

มาตรา 328    ถ้าลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายรายและถ้าการที่ ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายไซร้ เมื่อทำการชำระหนี้ลูกหนี้ระบุว่าชำระหนี้สินรายใดก็ให้หนี้สินรายนั้น เป็นอันได้เปลื้องไป
 

ถ้าลูกหนี้ไม่ระบุ ท่านว่าหนี้สินรายไหนถึงกำหนดก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อนในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดนั้นรายใดเจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุดก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อนในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆ กันให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อนในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้เท่าๆกันให้หนี้สินรายเก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อนและถ้ามีหนี้สินหลายรายเก่าเท่าๆ กัน ก็ให้หนี้สินทุกรายเป็นอันได้เปลื้องไปตามส่วนมากและน้อย

 

มาตรา 329    ถ้านอกจากการชำระหนี้อันเป็นประธานลูกหนี้ยังจะต้องชำระดอกเบี้ยและเสียค่าฤชาธรรมเนียมอีกด้วยไซร้ หากการชำระหนี้ในครั้งหนึ่งๆ ไม่ได้ราคาเพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด ท่านให้เอาจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ยและในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธาน
 

ถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้เป็นประการอื่น ท่านว่าเจ้าหนี้จะบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ได้

 

มาตรา 330    เมื่อขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วบรรดาความรับผิดชอบอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ก็เป็นอันปลดเปลื้องไปนับแต่เวลาที่ขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้น

 

มาตรา 331    ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ดี หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ก็ดี หากบุคคลผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้วก็ย่อมจะเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่บุคคลผู้ชำระหนี้ไม่ สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิหรือไม่รู้ตัว เจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่เป็นความผิดของตน

 

มาตรา 332    ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้จะต้องชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะกำหนดว่าต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนจึงให้มีสิทธิรับเอาทรัพย์ที่วางไว้นั้นก็ได้

 

มาตรา 333    การวางทรัพย์นั้นต้องวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้
 

ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับเฉพาะการใน เรื่องสำนักงานวางทรัพย์เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ร้องขอ ศาลจะต้องกำหนดสำนักงานวางทรัพย์และตั้งแต่งผู้พิทักษ์ที่วางนั้นขึ้น
 

ผู้วางต้องบอกกล่าวให้เจ้าหนี้ทราบการที่ได้วางทรัพย์นั้นโดยพลัน

 

มาตรา 334    ลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์นั้นท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้วางทรัพย์ไว้เลยสิทธิถอนทรัพย์นี้เป็นอันขาดในกรณีต่อไปนี้
(1) ถ้าลูกหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าตนยอมละสิทธิที่จะถอน
(2) ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับเอาทรัพย์นั้น
(3) ถ้าการวางทรัพย์นั้นได้เป็นไปโดยคำสั่งหรืออนุมัติของศาล และได้บอกกล่าวความนั้นแก่สำนักงานวางทรัพย์

 

มาตรา 335    สิทธิถอนทรัพย์นั้นตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดหาได้ไม่
 

เมื่อได้ฟ้องคดีล้มละลายเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิถอนทรัพย์ในระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย

 

มาตรา 336    ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ไม่ควรแก่การจะวางไว้ก็ดีหรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นเกลือกจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรือบุบสลายได้ก็ดี เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล บุคคลผู้ชำระหนี้จะเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดแล้วเอาเงินที่ได้แต่การขายวางแทนทรัพย์นั้นก็ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ค่ารักษาทรัพย์จะแพงเกินควรนั้นด้วย

 

มาตรา 337    ท่านไม่อนุญาตให้เอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดจนกว่าจะได้บอกให้เจ้าหนี้รู้ตัวก่อนการบอกนี้จะงดเสียก็ได้ ถ้าทรัพย์นั้นอาจเสื่อมทรามลงหรือภัยมีอยู่ในการที่จะหน่วงการขายทอดตลาดไว้
 

ในการที่จะขายทอดตลาดนั้น ท่านให้ลูกหนี้บอกกล่าวแก่เจ้าหนี้โดยไม่ชักช้าถ้าละเลยเสียไม่บอกกล่าว ลูกหนี้จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
 

การบอกให้รู้ตัวและบอกกล่าวนี้ ถ้าไม่เป็นอันจะทำได้จะงดเสียก็ได้
 

เวลาและสถานที่ที่จะขายทอดตลาดกับทั้งคำพรรณนาลักษณะแห่งทรัพย์นั้น ท่านให้ประกาศโฆษณาให้ประชาชนทราบ

 

มาตรา 338    ค่าฤชาธรรมเนียมในการวางทรัพย์หรือขายทอดตลาดนั้นให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้ออก เว้นแต่ลูกหนี้จะได้ถอนทรัพย์ที่วาง

 

มาตรา 339    สิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางไว้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์
 

อนึ่ง เมื่อสิทธิของเจ้าหนี้ระงับสิ้นไปแล้ว ถึงแม้ลูกหนี้จะได้ละสิทธิถอนทรัพย์ ก็ยังชอบที่จะถอนทรัพย์นั้นได้

 




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882
ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน มาตรา 883 ถึง มาตรา 886