ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า มาตรา 775 ถึง มาตรา 796

หมวด 2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

 

มาตรา 775 ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบ เอกสารซึ่งเอาออกจากทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการ อันมีใบรับของ คลังสินค้าฉบับหนึ่งและประทวนสินค้าฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝาก

 

มาตรา 776 อันใบรับของคลังสินค้านั้นย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะ สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของผู้อื่นได้

 

มาตรา 777 อันประทวนสินค้านั้นย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลัก หลังจำนำสินค้าซึ่งจดแจ้งไว้ในประทวนได้ โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้า นั้นแก่ผู้รับสลักหลัง
 

แต่ว่าเมื่อผู้ฝากประสงค์จะจำนำสินค้า ต้องแยกประทวนออกเสีย จากใบรับของคลังสินค้า และส่งมอบประทวนนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลัง

 

มาตรา 778 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าต้องมีเลขลำดับ ตรงกันกับเลขในต้นขั้ว และลงลายมือชื่อของนายคลังสินค้า
 

อนึ่ง ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น ท่านให้มีรายละเอียด ดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ชื่อหรือยี่ห้อ และสำนักของผู้ฝาก
(2) ที่ตั้งคลังสินค้า
(3) ค่าบำเหน็จสำหรับเก็บรักษา
(4) สภาพของสินค้าที่เก็บรักษา และน้ำหนักหรือขนาดแห่งสินค้านั้น กับทั้งสภาพ จำนวน และเครื่องหมายหีบห่อ
(5) สถานที่และวันออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น
(6) ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้เก็บสินค้าไว้ชั่วเวลาเท่าใดให้แจ้ง กำหนดนั้นด้วย
(7) ถ้าของที่เก็บรักษามีประกันภัย ให้แสดงจำนวนเงินที่ประกันภัย กำหนดเวลาที่ประกันภัย และชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัยด้วย
 

อนึ่ง นายคลังสินค้าต้องจดรายละเอียดทั้งนี้ลงไว้ในต้นขั้วด้วย

 

มาตรา 779 อันใบรับของคลังสินค้าก็ดี ประทวนสินค้าก็ดีท่านว่า หาอาจออกให้หรือสลักหลังให้แก่ผู้ถือได้ไม่

 

มาตรา 780 เมื่อใดผู้ฝากสลักหลังประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับจำนำ คู่สัญญาต้องจดแจ้งการที่สลักหลังนั้นลงไว้ในใบรับของคลังสินค้าด้วย
 

ถ้ามิได้จดแจ้งไว้ดั่งนั้น ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ผู้ซื้อสินค้าสืบไปได้นั้นได้ไม่

 

มาตรา 781 เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังและส่งมอบแก่ผู้รับ จำนำแล้วให้ผู้ฝากกับผู้รับจำนำจดลงไว้ในประทวนสินค้าเป็นสำคัญ ว่าได้จดข้อความตามที่บัญญัติใน มาตรา ก่อนไว้ในใบรับของคลังสินค้าแล้ว

 

มาตรา 782 เมื่อใดผู้ฝากจำนำสินค้าและส่งมอบประทวนสินค้า แก่ผู้รับสลักหลังแล้ว ผู้รับสลักหลังเช่นนั้นต้องมีจดหมายบอกกล่าว แก่นายคลังสินค้าให้ทราบจำนวนหนี้ซึ่งจำนำสินค้านั้นเป็นประกัน ทั้งจำนวนดอกเบี้ยและวันอันหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระ เมื่อนายคลัง สินค้าได้รับคำบอกกล่าวเช่นนั้นแล้วต้องจดรายการทั้งนั้นลงในต้นขั้ว
 

ถ้าและมิได้จดในต้นขั้วเช่นนั้น ท่านว่าการจำนำนั้นหาอาจจะ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายของผู้ฝากได้ไม่

 

มาตรา 783 ผู้ทรงเอกสารอันมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวน สินค้านั้น จะให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าที่เก็บรักษาไว้ออกเป็นหลาย ส่วนและให้ส่งมอบเอกสารแก่ตนส่วนละใบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ทรง เอกสารต้องคืนเอกสารเดิมแก่นายคลังสินค้า
 

อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการแยกสินค้าและการส่งมอบเอกสารใหม่นั้น ผู้ทรงเอกสารต้องรับใช้

 

มาตรา 784 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เก็บรักษาไว้นั้น ท่านว่าอาจโอน ได้แต่ด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าเท่านั้น

 

มาตรา 785 สินค้าซึ่งเก็บรักษาไว้นั้นอาจจำนำได้แต่ด้วยสลักหลัง ประทวนสินค้า เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังแล้ว สินค้านั้นจะจำนำ แก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าอย่างเดียวกับ สลักหลังประทวนสินค้านั้นก็ได้

 

มาตรา 786 ตราบใดสินค้าที่เก็บรักษาไว้ไม่ได้จำนำ ท่านว่าจะ โอนใบรับของคลังสินค้า และประทวนสินค้าไปต่างหากจากกันไม่ได้ อยู่ตราบนั้น

 

มาตรา 787 ในการสลักหลังลงในประทวนสินค้าครั้งแรกนั้นต้องจด แจ้งจำนวนหนี้ที่จำนำสินค้าเป็นประกัน ทั้งจำนวนดอกเบี้ยที่จะต้อง ชำระและวันที่หนี้จะถึงกำหนดชำระด้วย

 

มาตรา 788 อันสินค้าที่เก็บรักษาไว้ในคลังนั้น จะรับเอาไปได้แต่ เมื่อเวนคืนใบรับของคลังสินค้า

 

มาตรา 789 ถ้าได้แยกประทวนสินค้าออกสลักหลังจำนำแล้วจะ รับเอาสินค้าได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
 

แต่ว่าผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าอาจให้คืนสินค้าแก่ตนได้ในเวลาใดๆ เมื่อวางเงินแก่นายคลังสินค้าเต็มจำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ในประทวนสินค้า กับทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันกำหนดชำระหนี้นั้นด้วย
 

อนึ่ง จำนวนเงินที่วางเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องชำระแก่ผู้ทรง ประทวนสินค้าเมื่อเขาเวนคืนประทวนนั้น

 

มาตรา 790 ถ้าหนี้ซึ่งสินค้าจำนำเป็นประกันมิได้ชำระเมื่อวันถึง กำหนดไซร้ ผู้ทรงประทวนสินค้าเมื่อได้ยื่นคำคัดค้านตามระเบียบ แล้วชอบที่จะให้นายคลังสินค้าขายทอดตลาดสินค้านั้นได้ แต่ท่าน ห้ามมิให้ขายทอดตลาดก่อนแปดวันนับแต่วันคัดค้าน

 

มาตรา 791 ผู้ทรงประทวนสินค้าต้องมีจดหมายบอกกล่าวให้ผู้ฝาก ทราบเวลาและสถานที่จะขายทอดตลาด

 

มาตรา 792 นายคลังสินค้าต้องหักเงินที่ค้างชำระแก่ตนเนื่อง ด้วยการเก็บรักษาสินค้านั้นจากจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ และเมื่อผู้ทรงประทวนสินค้านำประทวนมาเวนคืน ต้องเอาเงินที่ เหลือนั้นให้ตามจำนวนที่ค้างชำระแก่เขา
 

ถ้ามีเงินเหลือเท่าใด ต้องใช้แก่ผู้รับจำนำคนหลังเมื่อเขาเวนคืน ใบรับของคลังสินค้า หรือถ้าไม่มีผู้รับจำนำคนหลัง หรือผู้รับจำนำคน หลังได้รับชำระหนี้แล้ว ก็ให้ชำระเงินที่เหลืออยู่นั้นแก่ผู้ทรงใบรับ ของคลังสินค้า

 

มาตรา 793 ถ้าจำนวนเงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ไม่พอชำระ หนี้แก่ผู้ทรงประทวนสินค้าไซร้ นายคลังสินค้าต้องคืนประทวนสินค้า แก่เขา กับจดบอกจำนวนเงินที่ได้ชำระลงไว้ในประทวนสินค้านั้นแล้ว จดลงไว้ในสมุดบัญชีของตนด้วย

 

มาตรา 794 ผู้ทรงประทวนสินค้ามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจำนวนเงิน ที่ยังค้างชำระนั้นแก่ผู้สลักหลังคนก่อน ๆ ทั้งหมด หรือแต่คนใด คนหนึ่งได้แต่ต้องได้ขายทอดตลาดภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันคัดค้าน
 

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องไล่เบี้ยเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันขาย ทอดตลาด

 

มาตรา 795 บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วย ตั๋วเงินนั้นท่านให้ใช้ได้ถึงประทวนสินค้า และใบรับของคลังสินค้าซึ่ง ได้สลักหลังอย่างประทวนสินค้านั้นด้วย เพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติ ทั้งหลายในลักษณะนี้

 

มาตรา 796 ถ้าเอกสารมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า หรือแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูญหายไป เมื่อผู้ทรงเอกสารนั้น ๆ ให้ ประกันตามสมควรแล้วจะให้นายคลังสินค้าออกให้ใหม่ก็ได้
 

ในกรณีเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องจดหมายลงไว้ในต้นขั้วเป็นสำคัญ

 




ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บรรพ1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 14 article
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล มาตรา 15 ถึง มาตรา 18 article
ส่วนที่ 2 ความสามารถ มาตรา 19 ถึง มาตรา 36 article
ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา มาตรา 37 ถึง มาตรา 47
ส่วนที่ 4 สาปสูญ มาตรา 48 ถึง มาตรา 64
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 65 ถึง มาตรา 77
ส่วนที่ 2 สมาคม มาตรา 78 ถึง มาตรา 109
ส่วนที่ 3 มูลนิธิ มาตรา 110 ถึง มาตรา 136
ลักษณะ 3 ทรัพย์ มาตรา 137 ถึง มาตรา 148
ลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 149 ถึง มาตรา 153
หมวด 2 การแสดงเจตนา มาตรา 154 ถึง มาตรา 171
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
หมวด 4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา มาตรา 182 ถึง มาตรา 193
ลักษณะ 5 ระยะเวลา มาตรา 193/1 ถึง มาตรา 193/8
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
หมวด 2 กำหนดอายุความ มาตรา 193/30 ถึง มาตรา 193/35
บรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 ผลแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 การไม่ชำระหนี้ มาตรา 203 ถึง มาตรา 225
ส่วนที่ 2 รับช่วงสิทธิ มาตรา 226 ถึง มาตรา 232
ส่วนที่ 3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236
ส่วนที่ 4 เพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237 ถึง มาตรา 240
ส่วนที่ 5 สิทธิยึดหน่วง มาตรา 241 ถึง มาตรา 250
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ มาตรา 251 ถึง มาตรา 252
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *1. บุริมสิทธิสามัญ มาตรา 253 ถึง มาตรา 258
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ มาตรา 259 ถึง มาตรา 272
2. บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 ถึง มาตรา 276
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 277 ถึง มาตรา 280
ส่วนที่ 6 บุริมสิทธิ *4. ผลแห่งบุริมสิทธิ มาตรา 281 มาตรา 289
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 290 ถึง มาตรา 302
หมวด 4 โอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 303 ถึง มาตรา 313
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่1 การชำระหนี้ มาตรา 314 ถึง มาตรา 339
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง *ส่วนที่ 2 ปลดหนี้ มาตรา 340
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 3 หักกลบลบหนี้ มาตรา 341 ถึง มาตรา 348
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 4 แปลงหนี้ใหม่ มาตรา 349 ถึง มาตรา 352
หมวด5 ความระงับหนี้ *ส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353
ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 1 ก่อให้เกิดสัญญา มาตรา 354 ถึง มาตรา 368
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 2 ผลแห่งสัญญา มาตรา 369 ถึง มาตรา 376
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 3 มัดจำและเบี้ยปรับ มาตรา 377 ถึง มาตรา 385
ลักษณะ2 สัญญา *หมวด 4 เลิกสัญญา มาตรา 386 ถึง มาตรา 394
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 ถึง มาตรา 405
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ มาตรา 406 ถึง มาตรา 419
ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา 420 ถึง มาตรา 437
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด มาตรา 438 ถึง มาตรา 448
หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449 ถึง มาตรา 452
หมวด 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 453 ถึง มาตรา 457
ส่วนที่ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ มาตรา 458 ถึง มาตรา 460
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย ส่วนที่ 1 การส่งมอบ มาตรา 461 ถึง มาตรา 471
ส่วนที่ 2 ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มาตรา 472 ถึง มาตรา 474
ส่วนที่ 3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 475 ถึง มาตรา 482
ส่วนที่ 4 ข้อสัญญาไม่ต้องรับผิด มาตรา 483 ถึง มาตรา 485
หมวด 3 หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 486 ถึง มาตรา 490
หมวด 4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง ส่วนที่ 1 ขายฝาก มาตรา 491 ถึง มาตรา 502
ส่วนที่ 2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ มาตรา 503 ถึง มาตรา 508
ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด มาตรา 509 ถึง มาตรา 517
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน มาตรา 518 ถึง มาตรา 520
ลักษณะ 3 ให้ มาตรา 521 ถึง มาตรา 536
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 537 ถึง มาตรา 545
หมวด 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า มาตรา 546 ถึง มาตรา 551
หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 ถึง มาตรา 563
หมวด 4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า มาตรา 564 ถึง มาตรา 571
ลักษณะ5 เช่าซื้อ มาตรา 572 ถึง มาตรา 574
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึง มาตรา 586
ลักษณะ 7 จ้างทำของ มาตรา 587 ถึง มาตรา 607
ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 608 ถึง มาตรา 609
หมวด 1 รับขนของ มาตรา 610 ถึง มาตรา 633
หมวด 2 รับขนคนโดยสาร มาตรา 634 ถึง มาตรา 639
ลักษณะ 9 ยืม หมวด 1 ยืมใช้คงรูป มาตรา 640 ถึง มาตรา 649
หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 ถึง มาตรา 656
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 657 ถึง มาตรา 671
หมวด 2 วิธีการเฉพาะการฝากเงิน มาตรา 672 ถึง มาตรา 673
หมวด 3 วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม มาตรา 674 ถึง มาตรา 679
ค้ำประกัน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 680 ถึง มาตรา 685/1
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้ มาตรา 686 ถึง มาตรา 692
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้ มาตรา 693 ถึง มาตรา 697
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน มาตรา 698 ถึง มาตรา 701
ลักษณะ 12 จำนอง หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 702 ถึง มาตรา 714/1
หมวด 2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715 ถึง มาตรา 721
หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722 ถึง มาตรา 727/1
หมวด 4 การบังคับจำนอง มาตรา 728 ถึง มาตรา 735
หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา 736 ถึง มาตรา 743
หมวด 6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง มาตรา 744 ถึง มาตรา 746
ลักษณะ 13 จำนำ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 747 ถึง มาตรา 757
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 ถึง มาตรา 763
หมวด 3 การบังคับจำนำ มาตรา 764 ถึง มาตรา 768
ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ มาตรา 769
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 770 ถึง มาตรา 774
ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 797 ถึง มาตรา 806
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ มาตรา 807 ถึง มาตรา 814
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน มาตรา 815 ถึง มาตรา 819
หมวด 4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 820 ถึง มาตรา 825
หมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน มาตรา 826 ถึง มาตรา 832
หมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง มาตรา 833 ถึง มาตรา 844
ลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845 ถึง มาตรา 849
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ มาตรา 850 ถึง มาตรา 852
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ มาตรา 853 ถึง มาตรา 855
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด มาตรา 856 ถึง มาตรา 860
ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 861 ถึง มาตรา 868
หมวด 2 ประกันวินาศภัย ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 869 ถึง มาตรา 882
ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน มาตรา 883 ถึง มาตรา 886