
หมวด 2 แบบพินัยกรรม มาตรา 1655 ถึง มาตรา 1672
หมวด 2 แบบพินัยกรรม
มาตรา 1655 พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ไว้ในขณะนั้น
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับ การทำพินัยกรรมตาม มาตรานี้
มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ ก็ได้กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความ ทั้งหมด วัน เดือนปี และลายมือชื่อของตน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำกับไว้ บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้
มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอ จะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำ นอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น
มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะ ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
มาตรา 1661 ถ้าบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้มี ความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารลับ ให้ผู้นั้นเขียนด้วย ตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้ากรมการอำเภอและพยาน ซึ่งข้อความ ว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดั่งที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1660 (3) และถ้าหากมีผู้เขียนก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของ ผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรม ได้ปฏิบัติตามข้อความในวรรคก่อนแล้วแทนการจดถ้อยคำของผู้ทำ พินัยกรรม
มาตรา 1662 พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือ เอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการ อำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้อง ส่งมอบให้ ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อ ประทับตรา ตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใด ไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่
มาตรา 1663 เมื่อพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัย กรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือ เวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า พยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อ ความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวันเดือน ปี สถานที่ ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้อง ลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้นจะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน
มาตรา 1664 ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตาม มาตรา ก่อน นั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา ผู้ทำพินัยกรรมกลับ มาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้
มาตรา 1665 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656,มาตรา 1658,มาตรา1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น
มาตรา 1666 บทบัญญัติ มาตรา 9 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656,มาตรา 1658,มาตรา 1660
มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ ของกรมการอำเภอตาม มาตรา 1658,มาตรา 1660,มาตรา 1661,มาตรา 1662,มาตรา 1663 ให้ตกแก่บุคคลดั่งต่อไปนี้ คือ
มาตรา 1668 ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัย กรรมนั้นให้พยานทราบ เว้นแต่กฎหมายจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1669 ในระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการ สงคราม บุคคลที่รับราชการทหารหรือทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหาร จะทำพินัยกรรมตามแบบที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1658,มาตรา 1660 หรือ มาตรา 1663 ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านั้น ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหาร ชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ บทบัญญัติวรรคก่อนให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลที่รับราชการทหารหรือ ทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารทำพินัยกรรม ในต่างประเทศ ในระหว่างที่ ปฏิบัติการเพื่อประเทศในภาวะการรบหรือการสงครามในต่างประเทศโดย อนุโลม และในกรณีเช่นว่านี้ ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญา บัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตามความในสองวรรคก่อนนั้นป่วยเจ็บหรือต้องบาดเจ็บ และอยู่ในโรงพยาบาล ให้แพทย์แห่งโรงพยาบาลนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอหรือพนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย แล้วแต่กรณีด้วย
มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
มาตรา 1671 เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความ แห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อ ท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ
มาตรา 1672 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหมและ ต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่เท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ที่จะออกกฎกระทรวง เพื่อให้การเป็นไปตามประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้งกำหนด อัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
|