ReadyPlanet.com
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletพระราชบัญญัติ
bulletความรู้กฎหมาย
bulletสำนัก,ทนาย,ทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletปรึกษากฎหมาย
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletข้อบังคับสภาทนายความ
bulletคำพิพากษาฎีกา
bulletเช่าซื้อขายฝากซื้อขาย
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletเกี่ยวกับ วิ.แพ่ง
bulletคดีเกี่ยวกับวิ.อาญา
bulletคำพิพากษารวม
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletการสิ้นสุดการสมรส
bulletการใช้กฎหมายอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
dot
Newsletter

dot




ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ

ทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน,อายุความ 

ในการฟ้องเรียกร้องสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 นั้นมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย แต่มีข้อยกเว้นว่า ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งกันทายาทที่ครอบครองทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าได้ล่วงพ้นสิบปีแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3486/2535

          ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้วแม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

    คดีนี้ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1323/2529 ของศาลชั้นต้น โดยเรียกนางณี โจทก์ในคดีดังกล่าวเป็นจำเลยที่ 3 และเรียกนางเชื้อ  จำเลยในคดีดังกล่าวเป็นโจทก์ แต่คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้

          โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยที่ 1 กับนายทัน  ฟ้องขอให้โจทก์แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 6702 เนื้อที่ 40 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา (ที่ถูก 9 ตารางวา) ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์ ของนางริด  เจ้ามรดก ในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนั้นแบ่งที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 และนายทัน คนละ 1 ใน 5 ส่วน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางริด หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นขอให้แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินของนางริดแปลงดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิรับมรดกของนางริด ส่วนจำเลยที่ 3 ก็ได้สละสิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกรายนี้แล้ว และสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ก็ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งเรื่องที่ถูกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องให้โจทก์ทราบด้วย แล้วจำเลยที่ 1ก็รีบจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการฉ้อฉลโจทก์ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีส่วนจะได้รับทรัพย์มรดกที่ดินแปลงนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการนอกเหนืออำนาจผู้จัดการมรดกและศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งเพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางริดเจ้ามรดกแล้ว ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดดังกล่าวต่อศาลเพื่อสั่งให้จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ไปจัดการเพิกถอนนิติกรรมและจดทะเบียนโอนมรดกให้โจทก์ต่อไป

          จำเลยที่ 1 ให้การว่า เดิมโจทก์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางริดร่วมกัน แต่ครั้นถึงวันนัดไต่สวนคำร้องโจทก์บิดพริ้ว ไม่ยอมเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ศาลจึงมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว เมื่อจำเลยที่ 1ถูกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้อง จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิรับมรดกรายนี้อยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การทำนองเดียวกัน นางริดเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1702 และมีทายาท 5 คน คือนายฉิม  นายหริ  นางณี จำเลยที่ 3 นางปี(ที่ถูกนางจำปี)  และโจทก์ซึ่งทายาททุกคนต่างก็ได้ครอบครองที่ดินแปลงนี้ร่วมกันตลอดมา และจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของนายฉิมซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับมรดกแทนที่นายฉิมและมีสิทธิรับมรดกของนางริด จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีสิทธิรับมรดกรายนี้คนละเป็นจำนวน 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ 60 ตารางวา แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางริดตามคำสั่งศาลไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลและจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยชอบด้วยกฎหมาย และตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยที่ 1 จึงใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงในโฉนดที่ดินแปลงนี้ได้ และเฉพาะจำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 3 ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกภายในกำหนดอายุความ10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงไม่ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์นำโฉนดที่ดินที่ 6702ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนรับทรัพย์มรดก 1 ใน 5 ส่วน คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1323/2519 ของศาลชั้นต้นให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 3 เป็นเงินปีละ 2,400 บาท นับแต่วันฟ้อง (25 กันยายน 2528) เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์และบริวารจะออกจากที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามฟ้องคำขอของจำเลยที่ 3 นอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์ทั้งสองสำนวน

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอจำเลยที่ 3 ที่ขอให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำสืบรับกับของโจทก์และจำเลยทั้งสาม กับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านฟังเป็นยุติว่านางริดหรือลิดหรือลิตเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 40 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา และมีทายาท 5 คน คือนายฉิม นางหริ นางณี จำเลยที่ 3 นางจำปีและนางเชื้อ โจทก์ ต่อมานายฉิม นายหริ และนางจำปี ถึงแก่กรรมและมีทายาทรับมรดกแทนที่ คือนายสนม จำเลยที่ 2 นายทันและนางสมศรีจำเลยที่ 1 ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางลิดจึงมีรวมทั้งสิ้น 5 คน ได้แก่ โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และนายทันก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 และนายทันได้ฟ้องโจทก์ขอแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงนี้ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงนี้แก่จำเลยที่ 1 และนายทันคนละ 1 ใน 5 ส่วน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางริดภายหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขอให้แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ใน 5 ส่วน ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ใน 5 ส่วน จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 5 ส่วนในโฉนดที่ดิน

          พิเคราะห์แล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกให้แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 615/2527 และคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 616/2527 ของศาลชั้นต้นนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สละมรดกและฟ้องเกิน 10 ปี คดีขาดอายุความแล้ว ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต นั้น เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือว่าขอสละมรดกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่ายอมสละมรดกจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดกและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าทรัพย์มรดกที่ดินรายพิพาท โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกรายพิพาทนี้ได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แต่ฎีกาของโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย คดีจึงขาดอายุความ ดังนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ดังนี้ เห็นว่าฎีกาของโจทก์เช่นว่านี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่า ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้งและไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นยุติว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกและที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกให้แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ใน 5 ส่วน ตามสิทธิที่จะได้ คดีไม่ขาดอายุความ กับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญายอมความแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามส่วนที่พึงจะได้รับนั้น จึงมีสิทธิที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและการกระทำเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องแจ้งแก่โจทก์ก่อน

          พิพากษายืน

 




เรื่องมรดก

บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
การจัดการทรัพย์มรดกซึ่งมีผู้เยาว์เป็นทายาทอยู่ด้วย
โฉนดที่ดินยังมีชื่อเจ้ามรดกทายาทมีอำนาจฟ้อง
เจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว
นำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
เป็นผู้จัดการมรดก 2 ปีไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความของผู้ค้ำประกัน
ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง?
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก
เพิกถอนการจดทะเบียนโอน
สิทธิเรียกร้องมรดกขาดอายุความแล้วหรือไม่?
สิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
บันทึกไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินและยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว
วัดก็สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
การมอบอำนาจบกพร่อง
บุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทเป็นปฏิปัษ์ต่อกัน,ทรัพย์มรดก
ถือเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก
ดุลพินิจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้สถานที่สักการะ
เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก
การสืบมรดกของทายาทผู้สละมรดก
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก
สัญญายอมความส่วนแบ่งมรดก
โอนมรดกในส่วนของทายาทอื่น
สิทธิของทายาทโดยธรรมต่างลำดับ
บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก
หน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อทายาทโดยธรรม
ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย article
ที่ดินผู้ตายสละการครอบครองไม่ใช่มรดก
ผู้ขายทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน
ทรัพย์สินผู้ตายในขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมมิได้ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ
ดอกผลธรรมดาของสุกรเป็นมรดก
ดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก
เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก
ทายาทถูกตัดไม่ให้รับมรดก
อายุความมรดกตามมาตรา 1754
บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมาย



แบบฟอร์ม
กำลังบันทึกข้อมูล...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลของท่าน
เราจะติดต่อกลับอย่างเร็วที่สุด
แบบฟอร์ม
กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ
โทรศัพท์
โทรหาเราที่เบอร์นี้
+66859604258
แชทผ่าน LINE
สแกน QR Code เพื่อแชทกับเรา